Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คีตาแห่งสยาม
•
ติดตาม
28 พ.ย. 2021 เวลา 03:43 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน (ตอนที่ 60) ✴️
🌸 อรชุนปฏิเสธการต่อสู้ 🌸
⚜️ โศลก 4️⃣2️⃣➖4️⃣3️⃣ ⚜️
หน้า 172 – 175
โศลกที่ 4️⃣2️⃣➖4️⃣3️⃣
〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
(42) สายเลือดวงศ์ญาติที่สมสู่ข้ามวรรณะ ย่อมนำไปนรก ทำลายเผ่าพันธุ์และวงศ์ตระกูล บรรพบุรุษอับอาย เพราะไม่มีผู้อุทิศข้าวน้ำไปให้
(43) การทำผิด ทำลายโคตรตระกูลเช่นนี้ ทำให้วรรณะปะปนกัน ธรรมะแห่งวรรณะและเผ่าพันธุ์ก็ถึงกาลพินาศ
〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
(42) “การที่กองทัพพุทธิปัญญาปฏิเสธตนเองก็เท่ากับทำลายราคจริตญาติฝ่ายบุรุษ เมื่อนั้นแล้วการรับรู้อินทรีย์ฝ่ายสตรีก็จะอยู่ในวรรณะที่ปะปน – ยิ่งเมื่อถูกหนุนด้วยลักษณะแห่งวรรณะ ที่อำนาจหน้าที่คละกันไป ทั้งราคะและพุทธิ ทั้งกองทัพภายนอกและภายใน กองทัพพุทธิปัญญาที่เผ่าพันธุ์กำลังถูกทำลายรวมทั้งญาติอื่น ๆ ในครอบครัวแห่งจิต ก็จะพบว่าพวกตนตกอยู่ในนรกเงียบเหงาไร้ความหมายอยู่ภายใน เมื่อขาดผัสสอินทรีย์มากระตุ้น พุทธิปัญญาก็จะอ่อนแอ เพราะไม่ได้ใช้งาน จึงไม่อาจทำการอุทิศเซ่นไหว้ให้ถูกธรรมเนียม เพื่อขอให้บรรพบุรุษ (อหังการ, วิญญาณ, สหัชญาณ) ให้พรแก่ลูกหลาน (วงศ์ญาติแห่งจิต)
(43) “การที่กิจกรรมตามธรรมชาติของจิตขาดความต่อเนื่องเช่นนี้ และเมื่อหยุดยั้งการทำสมาธิภาวนา แน่นอน พิธีกรรมทั้งหลายของครอบครัวจิตก็ย่อมถึงกาลพินาศ”
. . .
◾ ผู้ภักดีกลัวว่าเมื่อนำพุทธิปัญญามาแทนที่อินทรีย์จะทำให้จิตเกิดปัญหา ◾
ผู้ภักดีพยายามโต้แย้งต่อไปเรื่อย ๆ ด้วยการให้เหตุผลไปในทำนองเดียวกัน เมื่อเขาตัดสินใจจะต่อสู้เพื่อสังหารผัสสารมณ์ฝ่ายวัตถุ ด้วยการถอนพุทธิปัญญาและปราณที่ทำให้อินทรีย์มีชีวิตออกไปเสีย ด้วยอำนาจของสมาธิ — ตอนนี้เขาเกิดความกลัวว่าพุทธิปัญญาของเขาจะแหลกสลายเพราะขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับอินทรีย์ ถ้าปัญญาไม่ได้ถูกใช้เพื่อหาความสุขจากผัสสอินทรีย์ตามปกติ แต่จะต้องไปอยู่ในวิหารแห่งวิญญาณ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว พุทธิปัญญากับอินทรีย์จะไม่ตกอยู่ในนรกความเปลี่ยวเหงาและไร้ความหมายละหรือ
ยิ่งกว่านั้นเขายังแย้งต่อไปด้วยว่า ความปีติที่ได้จากธรรมะแห่งวงศ์ตระกูล — หน้าที่ที่ทั้งอินทรีย์และพุทธิปัญญามีความคุ้นเคย — จะเสื่อมสลายถ้าหน้าที่เหล่านี้เสีย “วรรณะ” หรือลักษณะเด่นของตนเมื่อเกิดการปะปนสายเลือด (เมื่อมนินทรีย์กับจริตชั่วปะปนกับจริตฝ่ายปัญญา) การอุตริสรุปเช่นนี้ – ที่ว่าวงศ์ตระกูลของจิตจะสูญสิ้นความปีติ – ได้พูดถึงมาแล้วในอรรถกถาอธิบายสองโศลกก่อนหน้านี้
แต่ความจริงนั้นตรงกันข้ามเลยทีเดียว เมื่อความสุขทางผัสสะพลังลบฝ่ายหญิง (ความรู้สึกหรือประสบการณ์ผัสสะ) ถูกนำโดยอินทรีย์พลังบวกฝ่ายชาย ถ้าบุรุษอินทรีย์ — ความอยาก ความสำเร็จทางวัตถุ ความสามารถในการสร้างสรรค์ การก่อสุขฝ่ายวัตถุ — ถูกทำลายในการรบกับฝ่ายพุทธิปัญญา เมื่อนั้นแล้วอินทรีย์หรือ “ความรู้สึก” ฝ่ายหญิง — ความสุขทางวัตถุ การติดยึด มายาคติ การเป็นทาสของอินทรีย์ — จะเสีย “วรรณะ” เมื่อฝ่ายวัตถุ ยอมตนให้แก่อำนาจฝ่ายพุทธิปัญญา นั่นคือ เมื่อกิจกรรมทางผัสสะ ความใคร่ในอินทรีย์ถูกทำลาย อำนาจของพุทธิปัญญาจะทำให้การรับรู้ฝ่ายหญิงไม่ตกอยู่ใต้การนำของฝ่ายวัตถุอีกต่อไป เผ่าพันธุ์อินทรีย์ก็จะไม่สิ้นสูญ หากแต่จะเกิดการประจักษ์แจ้ง ด้วยอำนาจของพุทธิปัญญาที่ครองอยู่
แต่ผู้ภักดีที่กำลังอยู่ในภาวะสับสนเช่นนี้จะให้เหตุผลอย่างผิด ๆ (ดังที่ได้อธิบายในอรรถกถาของสองโศลกก่อน) ว่าเมื่อพุทธิปัญญาทำลายบุรุษอินทรีย์เสียแล้ว สตรีอินทรีย์จะเสพสมกับความไม่เอาใจใส่ ความเกียจคร้าน และความสับสน และนำครอบครัวไปสู่การคลุกคลีจนเสียวรรณะ “การที่ผู้ภักดีคิดอย่างไร้เหตุผลเช่นนี้” เพราะกลัวว่าไม่เพียงแต่จิตจะเสียธรรมะ การทำหน้าที่แสวงหาสุขผัสสะเท่านั้น แต่การพิชิตนี้จะทำให้พุทธิปัญญาสูญเสียหน้าที่ภายนอกไปเพราะขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับอินทรีย์ และเมื่อนั้นแล้วทั้งวงศ์ญาติฝ่ายราคะ และ วงศ์ญาติฝ่ายพุทธิ ก็จะตกอยู่ในนรกของการมีชีวิตอยู่อย่างไร้ความหมาย
🛑 การให้เหตุผลผิดพลาดเช่นนี้ เกิดจากจิตของผู้ภักดียึดมั่นอยู่กับความเพลิดเพลินในโลกของผัสสอินทรีย์ เมื่อเขาถอนพุทธิปัญญาไปจากการเป็นทาสของความเพลิดเพลินทางผัสสะ แรกสุดเขาจะรู้สึกอ้างว้างว่างเปล่า แต่เมื่อเขาทำสมาธิลึกขึ้น ๆ พุทธิปัญญาของเขาจะเสวยความสุขใหม่ ๆ ในโลกอภิจิต ซึ่งจะพบได้ก็ต่อเมื่อวิญญาณได้เชื่อมกันกับอนันตภาวะแล้วเท่านั้น
. . .
◾ โยคีที่จิต “อุทิศให้แก่บรรพบุรุษ” อย่างถูกต้องจะเชิดชูโคตรวงศ์ของจิตให้สูงขึ้น ◾
“บรรพบุรุษ” ของโคตรวงศ์แห่งจิตมนุษย์ คือวิญญาณกับหน้าที่ของอาตมันการเห็นภายใน★ เช่น สหัชญาณ เป็นต้น บรรพบุรุษเหล่านี้จะเสื่อมเสีย กลายเป็นมนินทรีย์ธรรมดา ๆ หากไม่ได้กระแสดลดาลใจจากพุทธิปัญญา ซึ่งก็คือการอุทิศด้วยน้ำ (ปราณ) กับก้อนข้าว (ศรัทธาฝ่ายวิญญาณ) เมื่อสมาธิและพุทธิปัญญาพัฒนาคล่องแคล่วขึ้น มันจะให้อำนาจแก่วิญญาณและสหัชญาณ และวิญญาณที่มีอำนาจก็จะยิ่งเสริมพลังการหยั่งเห็นให้แก่พุทธิปัญญาและสหัชญาณ
★ ดูบทที่ 1:8 หน้า 91
แต่ผู้ภักดีก็ยังยืนกรานที่จะให้เหตุผลอย่างผิด ๆ ต่อไป “ถ้าฉันทำลายผัสสนิสัย พุทธิปัญญาก็จะแห้งแล้งเฉาตาย เพราะมันไม่ได้ทำหน้าที่ พุทธิปัญญาที่ซูบผอมย่อมไม่อาจให้อำนาจแก่วิญญาณ วิญญาณที่ไร้อำนาจจึงไม่อาจให้ปัญญาอันเรืองรองแก่มนุษย์ พุทธิปัญญาของมนุษย์จึงถึงกาลเสื่อมทราม”
การที่จิตของผู้ภักดีเกิดความกลัวอย่างไม่มีมูลเช่นนี้ ก็เพราะกิเลสราชา ใช้กำลังทัพของมันซึ่งเชี่ยวชาญในการโต้แย้ง พอๆกับที่ตีสองหน้าได้เก่งเข้ามาชักนำจิตของผู้ภักดีให้คิดเช่นนี้
🛑 โยคีผู้ก้าวหน้า มีสมาธิควบคุมตนได้อย่างมั่นคง จะทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษอย่างถูกต้อง เขาจะตัดพลังปราณไม่ให้เชื่อมกับประสาทสัมผัส พลังนี้ก็จะไหลกลับไปภายใน ไปรวมกันที่จุดระหว่างคิ้ว เกิดเป็นแสงรุ้ง พลังทิพย์นี้กับแสงภายในคือการที่มนุษย์ถวายพุทธิปัญญาให้แก่บรรพบุรุษแห่งวิญญาณ★ ให้แก่ทิพยอหังการ และสหัชญาณ มนุษย์ต้องถวายพุทธิปัญญานี้แก่วิญญาณ ถ้าขาดการเซ่นสรวงด้วยพลังปราณที่ไหลกลับเข้าไปภายใน และขาดการรับรู้ทางวิญญาณ ขาดแสงแห่งวิญญาณจักษุแล้วไซร้ วิญญาณก็จะหลับใหลอย่างน่าอาย ไร้การพัฒนา
★ พลังปราณที่ไหลกลับเข้าไปภายใน คือ “การอุทิศด้วยน้ำ” อุทก แปลตามตัว “ที่ไหล หรือ ออกไป” แสงทิพย์ที่ปรากฏบนหน้าผาก ที่เกิดจากการที่พลังชีวิตไปรวมอยู่ที่นั่น คือ สัญลักษณ์การอุทิศ “ก้อนข้าว” บิณฑ์ จากรากศัพท์สันสกฤต บินฑ “รวมกัน ทำให้เป็น ก้อน หรือ ลูกกลม ๆ” — แสงจากวิญญาณจักษุ
💥 แทนที่จะสงสัยหรือท้อแท้ใจ ผู้แสวงหาพระเจ้าควรดีใจที่ได้ส่งความสุขทางผัสสะไปสู่นรก เพื่อแลกกับโภคทรัพย์แห่งวิญญาณ ด้วยศรัทธาอันบริสุทธิ์และความเชี่ยวชาญด้าน ‘ปราณายามะ’ เขาควรประกอบพิธีอุทิศแก่บรรพบุรุษหรือวิญญาณแห่งการรู้แจ้ง ให้ได้อย่างถูกต้อง
(มีต่อ)
หนังสือ
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ภควัทคีตา เล่ม 1 บทที่ 1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย