27 พ.ย. 2021 เวลา 04:46 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน (ตอนที่ 59) ✴️
🌸 อรชุนปฏิเสธการต่อสู้ 🌸
⚜️ โศลก 4️⃣0️⃣➖4️⃣1️⃣ ⚜️
หน้า 168 – 172
โศลก 4️⃣0️⃣➖4️⃣1️⃣
〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
(40) ด้วยการทำลายวงศ์ตระกูล ธรรมเนียมโคตรวงศ์ที่มีมาแต่โบราณจะปลาสนาการไป เมื่อธรรมที่ยึดถือถูกล้มล้าง บาปย่อมครอบงำวงศ์ตระกูล
(41) ข้าแต่ กฤษณะ เมื่อขาดธรรมะเสียแล้ว สตรีในวงศ์ญาติก็จะเสื่อมทราม โอ้วารษเณยะ (กฤษณะ)★ เมื่อสตรีมีมลทิน การเสพสังวาสข้ามวรรณะก็จะเกิดขึ้น
〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
★ แปลตามตัว “หน่อเนื้อเชื้อไขของวฤษณี” คำ วฤษณี แปลว่า “แข็งแกร่งอย่างเชี่ยวชาญ, มีอำนาจ”
(40) “การทำลายญาติจริตฝ่ายอินทรีย์สัมผัส ธรรมเนียมโคตรวงศ์ (ธรรมะ) ที่มีแต่โบราณของจิตก็จะปลาสนาการไป — เพราะเมื่ออินทรีย์หมดอำนาจที่จะสร้างความสุขทางผัสสะ พวกมันก็จะไม่ทำหน้าที่ที่ต้องทำ เมื่อธรรมเนียมเหล่านี้ (ซึ่งผดุงการดำรงของจิต) หมดสิ้นไป ‘บาป’ (ความเศร้าและความฉ้อฉล) จะครอบงำจิตของปวงญาติ”
(41) “ถ้าเรา กองทัพพุทธิปัญญา หลงเพลินอยู่ในความสุขของอินทรีย์ เมื่อนั้น ‘อธรรม’ (การไม่ทำพิธีกรรมตามอินทรีย์) การรับรู้ทางอินทรีย์ (กองทัพสตรี หรือ ‘ความรู้สึก’ ต่อวัตถุ) ก็จะฉ้อฉล เมื่อปล่อยปละละเลยและไม่ได้ใช้ สิ่งเหล่านี้ก็จะถูกลืม หลงทางไปจากหน้าที่หรือวรรณะของตน ไปคลุกคลีอยู่กับความไม่ใส่ใจไยดี ความเกียจคร้าน และความสับสน เผ่าพันธุ์ของอินทรีย์และปวงญาติของจิต ซึ่งเดินตามอำนาจความรู้สึกในการล่วงประเวณีของสตรี ก็จะเสีย ‘วรรณะ’ (อำนาจและหน้าที่เฉพาะตน)”
. . .
◾ องค์ประกอบ “วงศ์ญาติ” ของจิต : หน้าที่เฉพาะตนที่ทำให้วิญญาณมีปฏิสัมพันธ์กับโลก ◾
“วงศ์ญาติ” หมายถึงกองทัพการจำได้หมายรู้และการแสดงออกทั้งภายในภายนอก ซึ่งอาตมัน (หรือวิญญาณในมนุษย์ผู้รู้แจ้ง) มีไว้เพื่อมีประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม สมาชิกของวงศ์ญาตินี้ประกอบด้วย 1️⃣จักขุนทรีย์ 2️⃣โสตินทรีย์ 3️⃣ฆานินทรีย์ 4️⃣ชิวหินทรีย์ 5️⃣และกายินทรีย์ 6️⃣หัตถินทรีย์ 7️⃣จรหินทรีย์ 8️⃣วาณีนทรีย์ 9️⃣คุยหินทรีย์ 🔟และวายุคูถินทรีย์— จิต (มนัส) คือ สายบังเหียนรถศึกที่บังคับม้าแห่งอินทรีย์ (ทั้ง 𝟭𝟬); พลังชีวิตทั้ง 𝟱 (หน้าที่ในการสันดาป การไหลเวียน การดูดซึม การขจัด และการทำให้รวมตัวของหนึ่งชีวิตในกายมนุษย์); และหัวหน้าวงศ์ตระกูลคือพุทธิปัญญา ทั้งหมดนี้คือการสำแดงของจิตจักรวาล แห่งบรมวิญญาณผ่านทางชีวาตมัน หรือ วิญญาณ
สมาชิกแต่ละคนในวงศ์ญาติแห่งจิต พร้อมกับธรรมชาติทั้งภายนอกภายในของตน สำแดงลักษณะพฤติกรรมหรือ “ประกอบพิธีกรรม” ตามหน้าที่เฉพาะของตน ตัวอย่างเช่น หน้าที่ของจักขุนทรีย์คือการเห็น หน้าที่ของจิตคือทำให้อินทรีย์ทั้ง หลายทำงานสัมพันธ์กัน และหน้าที่ของพลังชีวิตคือรักษาอินทรีย์ กาย และจิตไว้ด้วยกันเป็นกายจิตหนึ่งเดียว หน้าที่ของญาณปัญญาคือทำให้พลังภายนอกภายในกลมกลืนกัน ส่งเสริมให้พลังเหล่านี้มีชีวิตสอดคล้องกับแผนการแห่งพระปัญญาญาณซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้เดินตามพระประสงค์แห่งพระผู้เป็นเจ้า
ธรรมะที่อ้างถึงในโศลกทั้งสองบทนี้ มักจะแปลกันว่า “ศาสนา” หรือ “หน้าที่” เป็นคำที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงกฎธรรมชาติที่ปกครองจักรวาลและมนุษย์ กำหนดหน้าที่ให้มนุษย์ต้องปฏิบัติตามสภาพแวดล้อมนั้น ๆ พูดอย่างกว้าง ๆ ได้ว่า ธรรมะของมนุษย์คือยึดมั่นกับความถูกต้องตามธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยให้เขาพ้นทุกข์ และนำเขาสู่การหลุดพ้นนิรันดร์
ธรรมะหรือกฎธรรมชาติของเมล็ดพันธุ์คือต้องเติบโตเป็นต้นไม้ ธรรมะหรือระเบียบตามธรรมชาติของอินทรีย์ผัสสะคือหาวิธีสื่อถ่ายกันระหว่างอาตมันหรือวิญญาณผู้รู้กับอารมณ์ที่ถูกรู้ (อายตนะภายในกับอายตนะภายนอก) ผู้ภักดีที่อยู่ในภาวะสงสัยอันเป็นลบก็จะให้เหตุผลที่จะทำให้เข้าใจผิดต่อไปด้วยว่า นี่เป็นการพยายามทำลาย “หน้าที่” ตามธรรมชาติของอินทรีย์ผัสสะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมะ หรือระเบียบธรรมชาติของวงศ์ญาติแห่งจิต
. . .
◾ ที่ถูกทำลายนั้นไม่ใช่ตัวอินทรีย์ แต่เป็นความใคร่ที่จะได้ผัสสารมณ์ ◾
สมาชิกของวงศ์ตระกูลที่จะถูกผู้ภักดีทำลายนั้นไม่ใช่ตัวอินทรีย์ผัสสะ แต่เป็นทายาทหรือจริตของอินทรีย์ นั่นคือความใคร่ที่จะได้ผัสสารมณ์นั้น ๆ ผัสสารมณ์มีสองประเภท 1️⃣ ประเภทแรกเป็นอารมณ์ที่เกี่ยวเนื่องด้วยวัตถุจากภายนอก 2️⃣ ประเภทที่สองเป็นอารมณ์ละเอียดประณีตในโลกทิพย์ ซึ่งจะรับรู้ได้ด้วยจิตที่มุ่งสู่พระเจ้า — ผัสสารมณ์ภายนอกทำให้เกิดการติดยึดวัตถุ ส่วนผัสสารมณ์ภายในทำลายความติดยึดภายนอกนี้ — อย่างไรก็ตาม การสัมพันธ์อย่างยาวนานกับผัสสารมณ์ภายในก็อาจหันเหจิตของผู้ภักดีไปจากการรับรู้วิญญาณประเสริฐและการหยั่งรู้พระเจ้า นี่คือ 💢คำเตือน💢 สำหรับผู้ภักดีที่หมกมุ่นอยู่กับปรากฏการณ์และอิทธิฤทธิ์
ผัสสารมณ์ทางวัตถุภายนอก และ ผัสสารมณ์อันเป็นทิพย์ ถูกรับรู้และขับเคลื่อนโดยอินทรีย์ผัสสะทั้ง 𝟭𝟬 พลังชีวิตทั้ง 𝟱 ตลอดทั้งโดยจิตและพุทธิ กิริยาและปฏิกิริยาของพลังการรับรู้ ทั้งภายนอกและภายในทั้ง 𝟭𝟳 และปฏิกิริยาต่ออารมณ์ที่รับรู้ ที่มีอาตมันหรือวิญญาณนำ จะทำให้ผู้ภักดีเกิดความโน้มเอียงไปทางร้าย หรือ ทางดีก็ได้ นั่นคือ เขาอาจจะเป็นคนเสพติดกามคุณ หรือ ควบคุมตนเอง — เป็นคนติดยึด หรือ ปล่อยวาง อย่างนี้เป็นต้น
💥 ผู้ภักดีที่ปฏิบัติสมาธิจะเห็นได้ว่า เมื่อเข้าถึงภาวะที่เขารู้สึกว่า ในการศึกเพื่อการหยั่งรู้ตน ที่การรับรู้อาตมันภายในเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จริตทั้งภายนอกภายในซึ่งเป็นญาติของจิตจะถูกขจัดไปจนหมดสิ้น และเมื่อขาดจริตเหล่านี้ หมดความอยากทั้งอารมณ์ภายนอกภายใน หน้าที่เฉพาะตนของอินทรีย์ ของจิต ของพลังชีวิต และ ปัญญาก็จะหมดไปด้วย
🛑 ผู้แสวงหามือใหม่ซึ่งยังจะต้องมีประสบการณ์กับภาวะสมาธิลึก หรือแม้แต่โยคีที่ก้าวหน้าที่เข้าถึงฌานขั้นแรก ๆ (ดังที่ปตัญชลีพรรณนาและอธิบายไว้ในบทที่ 1:15–18) จะรู้สึกกลัวภาวะจิตใหม่ ๆ ที่ท่านเข้าไปสู่ ความติดยึดญาติทั้งภายนอกและภายในที่คุ้นเคยมาแต่โบร่ำโบราณจะไม่ยอมรับภาวะจิตอันเกษมนี้ที่ก้าวไกลไปกว่าอำนาจของพวกมันได้อย่างง่าย ๆ
. . .
◾ การสัมพันธ์กับพระเจ้าทำลายการติดยึดอินทรีย์ที่เป็นอันตราย แต่จะเพิ่มพลังชีวิตให้แก่ตัวอินทรีย์ ◾
💢 ในการสัมผัสสัมพันธ์อันเกษมสุขกับพระเจ้า แม้ว่าจิตวิญญาณตื่นอย่างเต็มที่ อินทรีย์ จิต พลังชีวิต และพุทธิปัญญาก็ยัง ‘เฉย’ อยู่ ผู้ภักดีสงสัยไปว่าหน้าที่ทั้งภายนอกและภายในเหล่านี้ ที่เฉยมานานสุดท้ายแล้วจะถูกขจัดไปหรือไม่ หรือหมดสมรรถภาพไปแล้ว หรือมันงุนงงสับสนกันแน่ อินทรีย์กับความโน้มเอียงตามธรรมชาติจะถูกทำลายด้วยหรือไม่ มันจะหมดอำนาจที่จะหาความสุขจากความงามของธรรมชาติ และจากวัตถุทิพย์อันเลิศที่รับรู้ในฌาน หรือทุกสิ่งเหล่านี้จะถูกกดข่มไว้ — กลายเป็นความสับสน ถูกจินตนาการฝันเฟื่องหรือภาพหลอนนำไปผิดทิศผิดทาง จิตจะสูญเสียอำนาจการประสานงานและพุทธิปัญญาจะสูญเสียอำนาจการตัดสินใจและการแยกแยะดีชั่วอย่างนั้นหรือ
💥 ความวิตกกังวลเช่นนี้เกิดจากการสรุปผิด ๆ เป็นความกลัวอย่างโง่ ๆ เมื่อจิตสัมผัสกับพระเจ้าแล้ว ญาติของจิตไม่ว่าภายนอกภายในแม้จะเฉยอยู่ แต่พวกมันไม่ได้หมดอำนาจหรือบิดเบือนไป ตรงกันข้ามกลับจะได้รับการเสริมอำนาจการรับรู้เป็นทวีคูณจากแบตเตอรีจักรวาล – แหล่งกำเนิดของสรรพชีวิต อินทรีย์จะได้พลังหนุ่มสาว ได้พลังละเอียดที่จะแสดงลักษณะเฉพาะของตน ด้วยการรับรู้ที่หยั่งรากและเพิ่มพูนอยู่ในความสุขไม่สิ้นสุดแห่งพระเจ้า โยคีที่ก้าวหน้าสามารถมีความสุขในโลกแห่งผัสสะ — กับผู้คน กับดอกไม้ กับท้องฟ้า ได้มากกว่าชาวโลกทั่วไป
🛑 แม้ขณะหลับเมื่อการทำหน้าที่ทั้งหลายช้าลง และอินทรีย์สัมผัสหันกลับเข้าไปภายใน อำนาจภายนอกและภายในก็ยังค่อนข้างเฉยอยู่ แต่มันไม่ได้ตาย หากแต่ได้รับการเสริมพลังจากกระแสจักรวาลที่สะสมอยู่ในสมอง ในความสุขแห่งสมาธิ พลังจิตที่เนิบช้าทั้งภายนอกและภายในจะหยุดการท่องโลกแห่งสสารที่อันตรายและทำให้เสียพลัง กลับไปสู่พระเจ้าผู้ทรงความหนุ่มสาวนิรันดร์
🛑 เมื่อพลังเหล่านี้เคลื่อนไปในความลึกซึ้งแห่งวิญญาณและกลายเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าอย่างบริบูรณ์แล้ว พลังเหล่านี้จะไม่อาจเห็นและรับรู้ได้ในกาย — ในวิวรณ์ 1:17 นักบุญยอห์นได้อธิบายภาวะนี้ว่า “เมื่อข้าพเจ้าเห็นพระองค์ ข้าพเจ้าก็ล้มลงแทบพระบาทของพระองค์เหมือนอย่างคนตาย” เมื่อยอห์นเห็นบรมวิญญาณ ท่านไม่ได้หมดสติ แต่จิตวิญญาณอันไพศาลของท่านยังสั่นสะเทือนในกายทิพย์เหนือกายเนื้อ และวนเวียนอยู่เหนือกายเนื้อเหมือนอยู่ในภาวะเข้าทรง ท่านจึงพูดว่า ท่านเห็นกายเนื้อตาย หรือเหมือนกับว่ามันตาย หรือมันพัก หรือลึกอยู่ในภาวะเข้าทรงแต่มันไม่ได้ “ตาย” อย่างที่มนุษย์เข้าใจกัน บุคคลสามารถเรียกจิตกลับจากภาวะเข้าทรงได้ แต่ไม่อาจเรียกคืนจากมือมัจจุราช
✨ ความเกษมสุข (เมื่อผ่านจากการหลับอย่างไร้ฝันไปสู่อภิจิต จนถึงจิตจักรวาลอันบรมสุข) ไม่ใช่แค่การพัก แต่เป็นการเสริมพลังให้แก่พลังภายในด้วยความสามารถ ความมีชีวิตชีวา และทิพยปัญญาอันไม่สิ้นสุด
🛑 “มนุษย์ผู้หยั่งรู้ตน” พัฒนาอำนาจวิเศษในการได้ยินและการเห็น จิตของเขาเข้าใจทุกสิ่งด้วยสหัชญาณ ปัญญาของเขาไม่ถูกนำโดยเหตุผลของมนุษย์ซึ่งอาจผิดพลาดได้ แต่ถูกนำโดยทิพยญาณซึ่งไม่มีวันพลั้งพลาด เป็นเรื่องเหลวไหลที่บุคคลกลัวกันว่าถ้าเข้าถึงภาวะเกษมสุข เมื่อรวมเป็นหนึ่งกับพระเจ้าแล้ว อำนาจอื่น ๆ ของเขาจะถูกทำลาย การกลัวเช่นนี้ก็เหมือนกับกลัวว่า ขณะหลับยามค่ำคืน เมื่อพลังทั้งหลายหยุดตื่นตัวแล้วอำนาจทั้งหลายของเขาจะหมดไปด้วย
(มีต่อ)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา