9 ธ.ค. 2021 เวลา 10:01 • ไลฟ์สไตล์
"เราทุกข์ไปเพื่ออะไร"
" …​ ทุกข์มาจากไหน ทุกข์มาจากอะไร
และทุกข์เกิดขึ้นได้ยังไง
หลายคนก็รู้สึกว่าตัวเองก็ไม่เห็นทุกข์อะไร
มันจึงน่าแปลกว่า เราทุกข์ไปเพื่ออะไร
คำตอบจึงออกมาคล้าย ๆ กันว่า ไม่ได้ทุกข์
ก็มันเป็นธรรมดาไม่ใช่หรอ ?
มันจึงเริ่มต้นจากตรงที่ว่า เราทุกข์แล้วไม่รู้นะเนี่ย
ในเมื่อเราทุกข์แล้วไม่รู้ ในจุดเริ่มต้น
แล้วเราจะออกจากทุกข์กันยังไง
ทำไมเราทุกข์แล้วถึงไม่รู้ หรือว่าเราชินไปกับมันแล้ว
ธรรมชาติของผู้คน เมื่ออยู่กับอะไรนาน ๆ
แรก ๆ ก็จะรู้สึกตัว หลัง ๆ ก็จะไม่รู้สึกตัว
เพราะชินไปกันมัน อันนี้คือความจริง
ถ้างั้นแปลว่า พวกเราอยู่กับทุกข์โดยไม่รู้จักทุกข์แล้ว
เป็นทุกข์แล้วก็ไม่รู้ตัวว่าทุกข์
ไม่รู้จักทุกข์ จะออกจากทุกข์ได้อย่างไร
มันมีการทดลองหนึ่งที่น่าสนใจ
ก็คือการเอาเขียดไปใส่เอาไว้ในบิ๊กเกอร์
แล้วเราก็เอาบิ๊กเกอร์ไปตั้งไฟ
ในอุณหภูมิห้อง ๒๕ องศา
แล้วก็ค่อย ๆ ฮีทขึ้นไปทีะน้อย ๆๆ
เขียดก็ยังสามารถว่ายน้ำได้
อุณหภูมิขึ้นไป ๓๐ ๔๐ ไปจนถึง ๕๐
๕๐ องศาเซลเซียส เขียดไม่ตาย
หลังจากนั้นเอาบิ๊กเกอร์ไปตั้งไฟใหม่
แล้วก็ให้อุณหภูมิถึง ๕๐ จับเขียดใส่ลงไป
เขียดชักแหง็ก ๆ แล้วตายเลย
ทำไมเขียดที่ค่อย ๆ ฮีทขึ้นไปเรื่อย ๆ กลับไม่ตาย
แต่เขียดที่อยู่ ๆ ไปใส่ที่อุณหภูมิ ๕๐ ตายเลย
เราย้อนกลับมาที่ชีวิตของเรากันหน่อย
ถ้าเราอยู่กับทุกข์ ตั้งแต่เกิดมาเรื่อย ๆ ทีละน้อย ๆๆ
จนเราไม่รู้สึกตัวอีกเลย ว่ามันทุกข์
ธรรมะจากน้ำร้อน น้ำเย็น แสดงความคุ้นชินกับความทุกข์
ถ้าผมเชิญใครสักคนหนึ่ง นั่งข้าง ๆ ผม
ผมเอาน้ำร้อนมา ๑ แก้ว หรือ ๑ กะละมังก็แล้วกัน
แล้วก็น้ำธรรมดา ๑ กะละมัง
ให้คน ๆ นั้นจุ่มไปในน้ำธรรมดาก่อน
เมื่อเขาจุ่มลงในน้ำธรรมดา
ผมถามว่า รู้สึกยังไง เขาก็จะบอกว่าเฉย ๆ
อันนี้เป็นธรรมดา
จากนั้นให้จุ่มลงไปในน้ำร้อน
แต่ก็ไม่ได้ร้อนขนาดเดือด
พอจุ่มไปปุ๊บ อุ๊ย ร้อน
ใช่ร้อน จุ่มลงไปเลย
อุ๊ยร้อน แล้วเขาก็จุ่มลงไป ๆ
ถามว่ารู้สึกยังไง ร้อน
ถ้าชวนคุยไปสัก ๑๕ นาที
แล้วผมหันไปถามกลับไปอีกครั้งหนึ่งว่า
ตอนนี้รู้สึกยังไง เขาจะบอกว่าเฉย ๆ
เฉย ๆ เหรอ … เฉย ๆ
ผมเชิญอีกคนหนึ่งขึ้นมาแล้วก็บอกว่า
จุ่มลงไปในน้ำที่เขาบอกว่าเฉย ๆ
พอจุ่มปุ๊บชักมือออกเลย อู้หู ร้อนจี๋เลย
อ้าว ทำไมคุณบอกเฉย ๆ ล่ะ
ทำไมอีกคนบอกว่าร้อน
1
ตกลงมันจึงเกิดน่าสังเกต คือว่าตกลงน้ำนี้ร้อนไหม
ร้อน เราก็รู้
แล้วทำไมคนที่จุ่มมาทีแรกบอกเฉย ๆ
ทำไมคนที่ ๒ มาบอกว่าร้อน
ตกลงร้อน ไม่ร้อน ขึ้นกับอะไร
ใช่ ความจริงมีอยู่ว่ามันร้อน
แต่ทำไมคนที่จุ่มอยู่นาน ๆ มันบอกเฉย ๆ
หรือว่าเขาบอกว่าเฉย ๆ
ทำยังไงเขาถึงจะรู้ว่าน้ำนี้ร้อน
ให้เขาออกมา
แล้วจุ่มในน้ำธรรมดาใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ตอนแรกที่จุ่มในน้ำธรรมดานี่
ความจริงผมเคยทดลองมาแล้ว
เขาชักมือออก เขาบอก โอโห เย็นเจี๊ยบเลย
จุ่ม ๆ ไปเถอะ เขาจะเย็นอยู่พักหนึ่งจนกระทั่งชินใหม่
เขาจะเริ่มรู้สึกเฉย ๆ
ทีนี้กลับไปจุ่มน้ำที่คุณบอกว่าเฉย ๆ เมื่อกี้นี้อีกที
อุ๊ย ร้อนจี๋เลย อ้าวไหนบอกเมื่อกี้ว่าเฉย ๆ ไง
เราจะเห็นแล้วว่าคำสอนของพระพุทธเจ้า
ถ้าเราอยู่ในน้ำร้อนตลอด เราจะไม่รู้ว่ามันร้อน
ดังนั้นทำไมเราต้องมาฝึกภาวนา มีศีล
แล้วก็เดินจงกลม นั่งสมาธิ
เพื่อเปลี่ยนจากสิ่งที่เราเคยคุ้น
มาสร้างความเคยคุ้นใหม่ที่เป็นปกติ
คำว่าปกติ คือไม่ทำผิด ไม่ทำบาป ไม่ทำชั่ว
จิตใจไม่กระเพื่อมสั่นไหวอีก
หลังจากนั้นเมื่อเขามาเคยคุ้นกับสภาพใหม่แล้วกลับไป
สมมติว่ามีความโกรธ มีอะไรกระทบแล้วโกรธปั๊บ
ทีนี้เขาจะรู้แล้วว่า อ้อ นี่ทุกข์นะ
แต่ก่อนหน้านี้ รถตัดหน้า ติดไฟแดง ไม่รู้สึกทุกข์เลย
รู้สึกว่ามันเป็นธรรมดา
รู้สึกการโกรธอย่างนี้เป็นธรรมดา
นี่แหละครับคือสิ่งที่จำเป็นแล้วก็สำคัญ
ว่าทำไมเราถึงต้องเข้าสู่การปฏิบัติ
หรือว่าต้องมาเดินตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพื่อวันนี้ปรับตัวเองใหม่ก่อน
ให้เข้าสู่ความเป็นธรรมดาให้ได้ก่อน
แล้ววันข้างหน้าเมื่อมีความทุกข์เกิด
ความโกรธเกิดขึ้น ความโลภเกิดขึ้น ความหลงเกิดขึ้น
เราจะมีสติโดยธรรมชาติที่จะคอยเตือนเรา
อันนี้ละที่จะช่วยให้เราพ้นทุกข์ในเบื้องต้นได้
ทีนี้ความทุกข์ที่เกิดขึ้นในแต่ละคน
ในแบบที่เราพูดถึงเมื่อสักครู่นี้ เราทุกข์แต่เราไม่รู้
แต่ตอนนี้เราทุกข์ เรารู้ เราเป็นทุกข์
เราลองมาดูกันว่า ทุกข์แบบนั้นมันเกิดขึ้นมาได้ยังไง
สมมติว่ามีใครสักคนหนึ่งสูญเสียคนที่รักไป
เสียชีวิต เขาทำใจไม่ได้ เพราะว่ามันยังเร็วเกินไป
สมมติถ้าเป็นสามีก็เพิ่งจะอยู่กันมาได้ไม่นาน
ถ้าเป็นลูกก็ยังลูกน้อยน่ารักอยู่เลย
ทำไมต้องรีบจากไปด้วย
จะเกิดการโศกเศร้า รำพึงรำพัน กับเรื่องนั้นมาตลอด
ทำไมเขาถึงทุกข์ แล้วบอกว่าทำใจไม่ได้
แต่หลังจากนั้น สมมติว่าเวลาผ่านไป ๑ เดือน
๒ เดือน ๓ เดือน ๖ เดือน ๑ ปี
เราจะเห็นว่าความทุกข์เขาค่อย ๆ ลดลง
จนกระทั่งวันหนึ่ง สมมติเรากลับไปเจอเขาอีกครั้งหนึ่ง
ถามว่าเป็นยังไงล่ะ ดีขึ้นไหม
เขาบอกว่า ดีขึ้นแล้ว ทำใจได้แล้ว
เอาล่ะ เราหยุดแค่นี้
เรามาดูกันว่า วันแรกที่เขาสูญเสีย เขามีความทุกข์มาก
จนกระทั่งผ่านมา ๑ ปี เขาบอกว่าเขาทำใจได้แล้ว
คำว่า ทำใจได้แล้ว คืออะไร ?
แสดงว่าตลอดเวลาตั้งแต่วันแรกที่ได้ยินข่าวการตายจนถึงวันนี้
เขายอมรับความจริงไม่ได้
ถ้าเมื่อไหร่เขายอมรับความจริงได้
เมื่อนั้นเขาจะหายทุกข์
แสดงว่าแต่ละคนก็คงมีเวลาในการ
ยอมรับความจริงได้ ที่แตกต่างกัน
บางคนอาศัยเวลา ๑ เดือน บางคน ๒ เดือน บางคน ๓ เดือน
บางคน ๑ ปี หรือบางคนอาจจะเร็วกว่านั้นก็ได้
๑ อาทิตย์ ๑ วัน ๑ ชั่วโมง หรือ ๑ วินาที
นั่นแปลว่าทำไมความทุกข์ของแต่ละคน
จึงสั้นยาวไม่เท่ากัน
แสดงว่าอยู่ในระดับที่ การยอมรับความจริง
ถ้ามีคนที่ยอมรับความจริงได้เร็ว
เข้าใจโลกนี้ตามความเป็นจริง
เขาจะไม่ทุกข์กับมันนาน
เอาล่ะ เราเริ่มเห็นแล้วว่า
ความทุกข์มาจากการยอมรับความจริง
แสดงว่าความทุกข์ในระดับนี้ ที่บอกว่ายอมรับความจริงได้เนี่ย
เป็นความทุกข์ที่ใคร ๆ ก็พอจะทำได้
นี่คือมนุษย์ในโลก ๗ พันล้านคน
มีคุณสมบัตินี้เหมือนกันหมด
คือสามารถยอมรับความจริงได้ ในระยะเวลาหนึ่ง
อาจจะแตกต่างกันบ้าง
แปลว่าไม่ใช่เฉพาะคนในศาสนาพุทธ
ศาสนาไหน ๆ หรือแม้แต่คนที่ประกาศตัวว่าไม่มีศาสนาก็ตาม
เขาก็สามารถออกจากทุกข์นี้ได้เหมือนกัน
เมื่อเขายอมรับความจริง
แต่มันมีความทุกข์อีกระดับหนึ่งที่สูงขึ้นไปกว่านี้
เป็นความทุกข์ที่มาจากความหลงผิด หลงเกิดทิฏฐิที่ผิด
ในทางธรรมะอาจจะเรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ
แต่ในความเป็นจริงก็คือว่า
ถ้าเราอธิบายให้เราฟัง แล้วก็เข้าใจง่าย ๆ ก็คือว่า
เราเองไปเข้าใจผิดว่า กายนี้ ใจนี้เป็นของเรา
ฟังตรงนี้อาจจะยากสักนิดหนึ่ง
แต่มันคือความจริงในระดับที่
จะทำให้บุคคลทั้งหลายพ้นทุกข์อย่างถาวรจริง ๆ
ตามคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คนที่ไม่ทุกข์ ต้องถามคนทั่วไปว่า เราทุกข์ไหม
เขาอาจจะทุกข์แต่เขาไม่รู้
แต่เขาก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันจะเป็นปัญหากับชีวิตมาก
ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร
เพราะหลายคนเขาบอกว่า เราเองก็ไม่ได้ทุกข์อะไร
ไม่เห็นจะต้องมาปฏิบัติธรรม ปฏิบัติทำไม
เราก็ไม่ได้ทุกข์อะไรนี่ เราก็มีชีวิตปกตินี่
ไม่มีปัญหา
แต่ว่าปัญหามันอยู่ตรงที่
ถ้าเราเข้าไปรู้ความจริงของการเวียนว่ายตายเกิด
เราจะเห็นเลยว่าการกระทำของเราในแต่ละขณะ ๆ
ที่เราบอกว่าเราไม่ได้ทุกข์ไม่ได้ร้อน
มันไปสร้างเหตุเกิดต่อไปเรื่อย ๆ
ซึ่งตรงนี้มันชั้นลึกนะ
แล้วในแต่ละวันที่เราบอกว่าเราไม่ทุกข์นี่
จริง ๆ แล้วเราแค่ไม่รู้สึกว่ามันทุกข์เท่านั้นเอง
ทุกครั้งที่เรากำลังหงุดหงิด อึดอัด รำคาญ
ในการแค่รอใครสักคนหนึ่ง นั่นเราก็ทุกข์แล้ว
ถ้าเราจะต้องอยู่ในที่ที่เขาบอกให้เรารอ
๑ ชั่วโมง ๒ ชั่วโมง ๓ ชั่วโมง
โอ๊ย เมื่อไหร่จะมาสักที เมื่อไหร่จะถึงสักที
หรือว่าถ้าเราเคยนั่งสมาธิ
ไม่ต้องมากแค่ครึ่งชั่วโมง
โอ๊ย ปวดขาจะตายแล้ว เมื่อไหร่จะครึ่งชั่วโมงสักที
จะเห็นว่าเราทุกข์ตลอดเวลา
แล้วที่แน่ ๆ ใครก็ตามที่บอกว่าตัวเองไม่ทุกข์นี่
มันจะมีวันนึง อย่างเช่น ถ้าหมอบอกว่าคุณเป็นมะเร็ง
ยังไงคุณก็เลี่ยงไม่ได้ ที่คุณยังไงก็ต้องทุกข์
แล้วมันเป็นเรื่องที่เราก็คาดหวังไม่ได้เช่นกัน
ว่ามันจะเกิดหรือไม่เกิด
เราจึงมีลักษณะเหมือนกับคน นักไต่ลวด
ที่เราเคยเห็นเขาไต่ลวดแล้วก็มีไม้ยาว ๆ
แล้วคอยประคองตัวเองไว้เรื่อย ๆ มันจะทรงตัวไปทรงตัวมา
มันจะกลายเป็นขึ้นกับเหตุปัจจัย
ลมมาก็ ปุ้บ ๆๆๆ ต้องขยับไม้ไปตลอด
หรือว่าเรากำลังอยู่ในสภาพเดียวกันกับนักไต่ลวด
ที่รอเหตุปัจจัยที่มากระทบในแต่ละวัน
ถ้ามันเป็นไปดั่งใจพอรับได้ ก็รู้สึกว่าโอเค
แต่ถ้าวันไหนเหตุปัจจัยมันไม่เป็นไปดั่งใจ
ซึ่งไม่มีใครได้อะไรดั่งใจทุกวัน
แล้วนั่นไม่เรียกว่าทุกข์เหรอ
เพียงแต่เราแค่ยังพอรับมันได้
แต่ระดับความทุกข์ก็ยังมีแตกต่างกันไปเรื่อย ๆ
ยิ่งถ้ามีความยึดติดสูง อย่างเช่น ลูก เมีย สามี ภรรยา
พ่อ แม่ ซึ่งเราผูกพันกันมาก
เมื่อเกิดการพลัดพราก ตรงนี้จะทุกข์มาก
แต่ถ้าอย่างแค่เล็ก ๆ น้อย ๆ ถ้าเราไม่ได้รักหมาอะไร
หมาตายเราก็ไม่ได้รู้สึกอะไร
แต่สำหรับคนที่โอ้โห รักสุนัขมาก ๆ
เป็นน้องหมานอนอยู่ด้วยกัน
ก็ไม่ต่างกับการสูญเสียคนรักคนหนึ่งเลย
มันจึงกลายเป็นว่า ไม่ได้เกี่ยวกับว่าของนั้นคืออะไร
เกี่ยวที่ว่าเรามีความผูกพันกับสิ่งนั้นมากน้อยแค่ไหน
ยิ่งผูกพันมาก เมื่อจากกันไปหรือต้องพรากกันไป
ไม่ว่าจากเป็นหรือจากตาย มันนำมาซึ่งทุกข์ทั้งสิ้น
ทุกข์แล้วจะเห็นธรม จริงหรือไม่ ?
ยิ่งทุกข์มาก ยิ่งเห็นธรรมมาก
ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับคำนี้มากนักนะ
เพราะผมก็แน่นอนละ เป็นคนที่เคยมีความทุกข์มาก
จากการสูญเสียธุรกิจ
นี่ก็คือจุดเปลี่ยนที่ทำให้ผมเข้ามาอยู่ตรงนี้
แล้วกลายเป็นชีวิตผกผัน จากเส้นทางของธุรกิจ
กลายมาเป็นอยู่เส้นทางธรรมไปโดยที่จะบอกไม่รู้ตัวเลย
มันมากันแบบ ปึ้บๆๆๆ มาทางนี้เลย ก็อาจจะเป็นไปได้
แต่ว่าถ้าคนที่ทุกข์มากอย่างเดียวกันในยุคไอเอ็มเอฟ
ก็มีไม่ใช่น้อย ที่วันนี้ไม่ได้เข้ามาเห็นธรรม
หรือไม่ได้เข้ามาทางธรรมเลย
ผมว่าอาจจะมีอยู่สักในพันคน อาจจะมีอยู่สัก ๑๐ คน ๒๐ คนหรือเปล่า
นอกนั้นเขาก็พอทนได้ สีทนได้กันไปเรื่อย ๆ
จนกระทั่งเมื่อทุกอย่างดีขึ้น ก็กลายเป็นฟื้น
ฟื้นแล้วก็เหมือนเดิม
ดันนั้นทุกข์มากจะเห็นธรรม ก็ไม่แน่
แต่ธรรมะจริง ๆ มันต้องเห็นจากการเห็นทุกข์ในอริยสัจ
พูดไปก็จะดูเป็นศัพท์วิชาการนิดหนึ่ง
แต่ว่า เอาล่ะ ผมจะทำให้เราเข้าใจได้ง่าย ๆ
คำว่าทุกข์ในอริยสัจ หมายความว่ายังไง
หมายความว่าต่อให้เรามีความสุขจากการได้โทรศัพท์ดี ๆ
ที่เราปรารถนาสักเครื่องหนึ่ง
จะเป็นรุ่นใหม่ในปัจจุบันนี้ สมาร์ทโฟนอย่างชั้นดี
วันที่เราได้มันมา เก็บหอมรอมริบได้มันมา
เรามีความสุขกับมัน โห ดีใจจังเลยได้มันมา
อีก ๓ นาทีต่อมา ขณะที่กำลังมีความสุขกับโทรศัพท์เครื่องนี้
มีโทรศัพท์เข้ามา โอ เสียงเพราะจริง ๆ
หลังจากคุยเสร็จมีการแจ้งข่าวร้ายมา
จิตใจเศร้าหมองเป็นทุกข์ แทบจะร้องไห้
เอาล่ะ เราต้องการภาพแค่นี้
วินาทีหนึ่งเรามีความสุขกับสิ่งที่เราบอกว่า
นี่คือสิ่งที่ทำให้เรามีความสุข
แต่อีกวินาทีหนึ่งมันกลายเป็นสิ่งที่เรามีความทุกข์แสนสาหัส
ตกลงความสุขความทุกข์มาจากสิ่งนี้หรือ
ไม่ใช่ กลายเป็นมาจากที่นี่ (ใจ)
การปรากฏขึ้นแห่งขันธ์ คือการปรากฏขึ้นแห่งทุกข์
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน
รูปนี่ไม่น่าเข้าใจยาก กายหรืออะไรก็แล้วแต่
ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน เป็นนามธรรม
เราจะรวบ ๔ คำนี้ เหลือคำว่า ใจ ก็แล้วกัน
เพราะฉะนั้น ประกอบด้วยกายกับใจ
เอาล่ะ เราเหลือแค่ ๒ คำนี้ ทีนี้เข้าใจได้ละ
เหลือแต่กายกับใจ เพราะถ้าเอาใจออก
เหลือแต่กายเราเรียกว่า ศพ
ใจอย่างเดียวก็ไม่ไหว ต้องมีที่อยู่ด้วยกันเรียกว่า รูปนาม
ดังนั้นก็ต้องอยู่ด้วยกันเป็นคู่ อย่างน้อยเป็นคู่
2
ทีนี้พระพุทธเจ้าตรัสว่า
การปรากฏขึ้นแห่งขันธ์ คือการปรากฏขึ้นแห่งทุกข์
แสดงว่าเมื่อมีสัตว์โลกเกิดขึ้น ในรูปนาม
มันจะต้องมีทุกข์จากการหิวโหย จากการแสวงหาอาหาร
จากการทำทุกอย่าง ดิ้นรน เพื่อจะรักษาสภาพ
รักษาเผ่าพันธุ์ รักษาความเป็นตนของมันเอาไว้
1
สภาพนี้เนี่ยทำให้รูปนามหรือว่าสัตว์โลกทั้งหลาย
จะต้องดิ้นรนเพื่อจะแสวงหาอาหารเพื่อจะอยู่ให้ได้
รักษาแล้วก็ต้องปกป้องตัวเอง นี่เป็นสภาพทุกข์ล้วน ๆ
เพราะฉะนั้น สัตว์โลกทั้งหมดที่มีรูปนาม กาย ใจ
ล้วนทุกข์ทั้งสิ้น เราเองก็เหมือนกัน … "
.
จากกการบรรยาย
ตอน เราทุกข์ไปเพื่ออะไร
โดย อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ในรายการสุขทุกวัน 7 วัน 7 กูรู
ออกอากาศทางช่องอัมรินทร์ทีวี
เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2560
Photo by : Unsplash

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา