12 ธ.ค. 2021 เวลา 02:37 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Delta II (เดลตา ทู) จรวดส่งดาวเทียมของสหรัฐอเมริกา
จรวดตระกูลเดลตานั้นเป็นจรวดแบบใช้แล้วทิ้ง ประกอบด้วยจรวดเชื้อเพลิงเหลว 2-3 ท่อน และมีการติดจรวดเชื้อเพลิงแข็งหลายท่อนรอบๆ เริ่มต้นถูกสร้างขึ้นโดยบริษัทแมคดอนเนลล์ ดักลาส (McDonnell Douglas) แต่ปัจจุบันถูกสร้างและทำการส่งโดยบริษัทโบอิ้งและล็อกฮีดมาร์ติน ร่วมกับ United Launch Alliance
จรวด Delta II ใช้เชื้อเพลิงเหลวเป็น เคโรซีนและออกซิเจนเหลวผสมกัน ประกอบด้วยจรวดส่วนย่อยๆ 2 หรือ 3 ท่อน แล้วมีจรวดเชื้อเพลิงแข็งที่มีชื่อว่า Graphite-Epoxy Motor ติดเข้าไป 3 หรือ 4 หรือ 9 ลำโดยรอบ
หากนับตั้งแต่ ค.ศ.1906 จนถึงปี ค.ศ. 2018 จรวดเดลตาใช้ในการส่งดาวเทียมไปจนถึงภารกิจส่งยานไปยังดาวเคราะห์มากกว่า 350 ครั้ง
Delta II มีข้อมูลดังนี้
- เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร (ส่วนหัว) 2.4 เมตร (ลำตัว)
- สูง 38.3 เมตร
- น้ำหนักรวม 231,870 กิโลกรัม
- Payload กรณีส่งดาวเทียมถึงวงโคจร Low Earth Orbit
4,995 กิโลกรัม
- Payload กรณีส่งดาวเทียมถึงวงโคจร Geosynchronous
Transfer Orbit 1,800 กิโลกรัม
Delta II เป็นจรวด 2 ตอน ซึ่งอาจเลือกติดตั้งตอนที่สามได้
- ตอนที่ 1 เป็นจรวดเชื้อเพลิงเหลว ประกอบด้วยเครื่องยนต์จรวด RS-27 จำนวน 1 เครื่องยนต์ และเครื่องยนต์จรวดปรับละเอียด LR-101-NA-11 จำนวน 2 เครื่องยนต์ ทั้งสองแบบใช้ น้ำมันก๊าด เป็นเชื้อเพลิง และออกซิเจนเหลวเป็นตัวออกซิไดซ์ ให้แรงขับ 890,000 นิวตัน ระยะเวลาเผาไหม้ 260 วินาที ตอนที่ 1 ยังติดตั้งมอเตอร์จรวดเชื้อเพลิงแข็ง GEM (Graphite Epoxy Motor) เพื่อเสริมแรงขับ (Booster) อีกจำนวน 9 นัด แต่ละนัดมีแรงขับ 446,000 นิวตัน ระยะเวลาเผาไหม้ 63 วินาที
- ตอนที่ 2 เป็นจรวดเชื้อเพลิงเหลว ประกอบด้วยเครื่องยนต์จรวด AJ10-118K จำนวน 1 เครื่องยนต์ ใช้ Aerozine-50 (ไฮดราซีน ผสมกับ ไดเมทิลไฮดราซัน ไม่สมมาตร Unsymmetrical dimethyl hydrazine – UDMH) เป็นเชื้อเพลิง และไนโตรเจนเตตระออกไซด์เหลวเป็นตัวออกซิไดซ์ ให้แรงขับ 43,370 นิวตัน ระยะเวลาเผาไหม้ 432 วินาที (ดับเครื่องยนต์ แล้วติดเครื่องยนต์ใหม่ได้)
- ตอนที่ 3 เป็นจรวดเชื้อเพลิงแข็ง Star 48B ให้แรงขับ 66,400 นิวตัน ระยะเวลาเผาไหม้ 87 วินาที จรวดตอนที่สามนี้มีชื่อเรียกว่า Payload Assist Module-Delta (PAM-D) เศษเปลือกมอเตอร์จรวด PAM-D จากการส่งดาวเทียม NAVSTAR เคยตกลงมาใกล้กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2548 (The Space Debris Quarterly News, Vol 9 Issue 2 April 2005)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา