Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Blockพูดได้byข้าวน้อยฯ
•
ติดตาม
18 ธ.ค. 2021 เวลา 01:18 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ว่าด้วยคำว่า "มึง กู"
ตกลงแล้ว กู มึง เป็นคำหยาบใช่หรือไม่❓
1
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีความหลากหลายของคำศัพท์สูงอันดับต้น ๆ ของโลก เราสามารถเรียกสิ่ง ๆ หนึ่งได้ด้วยคำหลายคำ โดยที่ยังคงให้ความหมายเดียวกัน
1
อย่างคำสรรพนามแทนตัวเอง เรามีตั้งแต่ คำว่า เรา ผม กระผม ฉัน ข้า ไปจนถึงคำว่า กู
ส่วนสรรพนามแทนบุคคลที่สอง เราก็มีตั้งแต่ เธอ คุณ แก เอ็ง ไปจนถึง มึง
แต่หากจะพูดถึงเฉพาะสรรพนามที่เรามักจะใช้กันในหมู่คนสนิทที่มีรุ่นราวคราวเดียวกัน โดยเฉพาะเพื่อน คำว่า มึง กู ดูจะถูกใช้กันมากที่สุด
มีหลายคนที่มักจะถูกผู้ใหญ่ที่เข้มงวดในการใช้คำสุภาพตำหนิเอาว่า อย่าใช้คำว่ามึง กู มันไม่สุภาพ มันเป็นคำหยาบ
1
ตกลงแล้ว คำว่า มึง กู เป็นคำหยาบ ใช่หรือไม่?
แล้วคำว่า มึง กู มีต้นกำเนิดมาจากไหน?
เรามาเริ่มต้นกันที่คำถามหลังก่อน
ดีกว่า ว่าต้นกำเนิดของคำว่า มึง กู มาจากไหน?
1
แน่นอน เมื่อพูดถึง มึง กู เราต้องนึกถึงศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงที่บันทึกลายสือไทเอาไว้เป็นต้นตำรับทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนว่า คำว่ามึง กู ถูกใช้มานานแล้ว
คำว่า มึง กู เป็นคำที่มีต้นทางมาจากภาษาของชาวจ้วง
ชาวจ้วงคือชาวจีนที่อาศัยอยู่แถบ มณฑลกวางสี โดยภาษาที่ใช้จะถูกเรียกว่า ภาษาไต -ไท ซึ่งถือว่าเป็นภาษาที่มีอิทธิพลต่อการกำเนิดภาษาไทยในยุคแรก ๆ
ชาวจ้วงเป็นคนที่มีความสามารถในการค้าขาย จึงแผ่ขยายการทำมาหากินไปทั่วถิ่นฐานย่านแหลมทองไปไกลจนถึงชวา
ชาวจ้วงจะเรียกตนเองว่า กู๋ เก๋าและเกิ๋ว ซึ่งก็น่าจะเป็นรากศัพท์เดิมของคำว่า กู ที่ถูกใช้กันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
2
ส่วนคำเรียกแทนบุคคลที่สอง ชาวจ้วงจะใช้คำว่า เหมิง ซึ่งก็พ้องกับคำว่า มึง ในภาษาไทยสมัยสุโขทัยเช่นกัน
สิ่งที่ยืนยันได้อีกอย่างว่า คำว่า มึง กู น่าจะมีที่มามากจากภาษาของชาวจ้วงก็คือ การนับเลข
เพราะการนับเลข 1 - 10 ของชาวจ้วง เขาจะนับแบบนี้ครับ
1 นึ่ง
2 ซ่อง
3 ซ่าม
4 ซี่
5 หา
6 ห๊ก
7 เจ๊ด
8 แป๊ด
9 เก๊า
10 ซิบ
9
8
เห็นไหมครับ การออกเสียงใกล้เคียงกับการนับเลขแบบไทยเราปัจจุบันเลย หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
คราวนี้ มาพูดถึงคำถามที่ว่า คำว่า กู มึง เป็นคำหยาบหรือไม่?
ตอบได้เลยว่า สองคำนี้ ไม่ใช่คำหยาบ ถือเป็นคำปกติ
เพียงแต่การใช้คำปกติเหล่านี้ ถูกกำกับด้วยคำว่ากาลเทศะเท่านั้น มึง กู ไม่ใช่คำด่า ไม่ใช่คำเหยียด เป็นคำที่ใช้แทนตัวเองและผู้อื่นในลักษณะที่แสดงความสนิทสนมกันมาก
1
เพราะฉะนั้น การใช้ มึง กู กับเพื่อนที่เราให้ค่าว่าสนิทกันเพียงพอ ถือว่าเป็นเรื่องปกติตามสมควรแก่ฐานะครับ
ผมว่าบางครั้งเราไม่จำเป็นต้องเลี่ยงไปเขียนคำแทน เช่น คำว่าเมิงหรือตูหรอกครับ
ภาษาไทย จะดีหรือไม่ดี มันอยู่ที่เจตนาในการใช้
1
คำดี ๆ ไพเราะ ๆ แต่แฝงไว้ด้วยเจตนาร้าย ผมว่ามันอันตรายกว่าการเรียก มึง กู ที่ดูว่าไม่เพราะอีกนะครับ
2
4
References;
https://www.matichon.co.th/entertainment/arts-culture/news_31237
รายการกบนอกกะลา
ติดตามอ่านบทความได้ที่
https://www.blockdit.com/n.sp
ภาษาไทย
ประวัติศาสตร์ไทย
สรรพนาม
19 บันทึก
68
67
32
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ชื่อนี้มีที่มา
19
68
67
32
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย