18 ธ.ค. 2021 เวลา 09:32 • หุ้น & เศรษฐกิจ
หุ้นและกำไรจากหุ้นต้องจ่ายซะกาตไหม?
‏ส่วนที่1 วิธีการจ่ายซะกาตในหุ้นที่ซื้อขาย(จุดประสงค์คือคนที่ซื้อขายหุ้นเพื่อส่วนต่างราคา)
‏ใครที่ได้ทำการซื้อ-ขายหุ้น เขาก็ต้องประเมินราคาตลาดของหุ้นเมื่อครบรอบปี และออกซะกาตจากราคาหุ้นนั้น2.5%ต่อปี สิ่งนี้เป็นข้อกำหนดของสภาฟัตวาด้านนิติศาสตร์อิสลามประจำเมืองเจดดาห์ และองค์กรศาสนากองทุนจัดการซะกาตประเทศคูเวต และคณะกรรมการฟัตวาถาวรแห่งซาอุดิอารเบีย ชัยค์อิบนุบาสและชัยค์อิบนุอุซัยมีนก็เลือกทางนี้ เพราะแท้จริงหุกุ่มของมันก็พิจารณาคล้ายๆหุกุ่มการค้าขาย
‏ส่วนที่2 วิธีจ่ายซะกาตในหุ้นที่ลงทุนยาวๆ(จุดประสงค์คือรับปันผลและเติบโตไปกับกิจการนั้นๆ)
‏ใครที่ได้รับหุ้นมาด้วยจุดประสงค์เพื่อหวังกำไรของกิจการและการพัฒนาเติบโตของหุ้นนั้น ไม่ใช่เพื่อการซื้อขายเพื่อหวังส่วนต่างของราคา แท้จริงเขาต้องออกซะกาตเฉพาะส่วนที่เป็นกำไรเท่านั้น สิ่งดังกล่าวเป็นข้อกำหนดของคณะกรรมการฟัตวาถาวรแห่งซาอุดิอารเบีย และชัยค์อิบนุบาส ชัยค์อิบนุอุซัยมีน ชัยค์อัลกอรอฎอวีย์ก็เลือกแนวทางนี้ และข้อกำหนดของสภาฟัตวาด้านนิติบัญญัติอิสลาม ภายใต้องค์กรประชุมอิสลาม ทั้งนี้เนื่องจากการเป็นเจ้าของหุ้นเพื่อรับผลกำไรรายปีถูกเปรียบเทียบกับผู้รับผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์หรือสิ่งที่คล้ายกัน และยึดการจ่ายซะกาตตามสิ่งนั้น คือให้ประเมินจากมูลค่าของพอร์ตรวมตอนครบรอบปี
‏ส่วนที่3 การจ่ายซะกาตซ้ำซ้อน
‏ไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตสองครั้ง สำหรับบริษัทและผู้ถือหุ้น กล่าวคือถ้าบริษัทจ่ายซะกาตให้แล้ว (กรณีเป็นบริษัทในประเทศมุสลิม) ผู้ถือหุ้นก็ไม่ต้องจ่ายซะกาตอีก แต่ถ้าบริษัทยังไม่จ่ายซะกาต ให้ผู้ถือหุ้นจ่ายซะกาตด้วย กลุ่มนักวิชาการที่ให้มุมมองเช่นนี้ได้แก่ ชัยค์อิบนุอุซัยมีน ชัยค์อัลกอรอฎอวีย์ และข้อกำหนดของสภาฟัตวาด้านนิติบัญญัติอิสลาม ภายใต้องค์กรประชุมอิสลาม เพราะแท้จริงไม่สามารถบังคับให้จ่ายซะกาตสองอย่างครบถ้วน เพราะมันนำไปสู่ภาระที่ต้องจ่ายซะกาตถึงสองครั้งในหนึ่งรอบปี
الفرع الأوَّل: كيفية إخراج زكاة الأسهم المتاجر بها مَن كان يُتاجِرُ بالأسهُمِ بيعًا وشراءً، فإنَّه يقوِّمُ سِعرَها السوقيَّ عند تمامِ الحَوْلِ، ويُخرِجُ منها رُبُع العُشرِ (2.5 في المائة)، وبه صدر قرارُ المجمَعِ الفقهيِّ بجُدَّة ، والهيئة الشرعيَّة لبيت الزَّكاة الكويتيِّ ، واللَّجنة الدَّائمة ، وهو اختيارُ ابنِ باز ، وابنِ عُثيمين ؛ وذلك لأنَّ حُكمَها حُكمُ عُروضِ التِّجارة .
الفرع الثاني: كيفيَّةُ إخراجِ زكاةِ أسهُمِ الاستثمارِ مَن اقتنى أسهُمًا بقَصدِ الرِّبحِ والتَّنمية فقط (للاستثمارِ لا للمُتاجرةِ ببيعِها وشرائِها)؛ فإنَّه يزكِّي أرباحَها فقط، وبه صدَرَ قرارُ اللَّجنةِ الدَّائمة ، وهو اختيارُ ابنِ باز ، وابنِ عُثيمين ، والقَرَضاوي ، وبهذا صدر قرارُ المَجمَع الفقهيِّ التَّابِعِ لمنظمة المؤتمر الإسلامي ،؛ وذلك لأنَّ تملُّكَ السَّهمِ للاستفادةِ مِن رِيعه السنويِّ يُقاسُ على المستغَلَّات من العقاراتِ ونحوها؛ لشِبهِها به، فتأخُذُ حُكمَ زكاتِها .
الفرع الثالث: ازدواج إخراج الزَّكاة لا تجبُ الزَّكاةُ مرَّتينِ: على الشَّركةِ والمساهِمِ؛ فإنْ كانت الشركةُ تزكِّي موجوداتِها، فلا يُعيدُ المقتني لها للاستثمارِ تزَكِيَتَها؛ منعًا للثِّنَى، وازدواجِ إخراجِ الزَّكاةِ مرَّتينِ عن مالٍ واحدٍ، أمَّا إن كانت الشَّرِكةُ لا تزكِّي موجوداتِها فعليه تزكيَتُها؛ نصَّ على هذا ابنُ عُثيمين ، والقَرَضاوي ، وبهذا صدر قرارُ المجمَعِ الفِقهيِّ التَّابع لمنظمَّةِ المؤتَمَر الإسلاميِّ ؛ وذلك لأنَّه لا يُمكِنُ إيجابَ الزَّكاتينِ بكمالهما؛ لأنَّه يُفضِي إلى إيجابِ زكاتينِ في حولٍ واحد، بسببٍ واحدٍ .
โฆษณา