20 ธ.ค. 2021 เวลา 11:53 • ประวัติศาสตร์
เทรนด์นิยม "เสื้อแหวกอก" กับสาเหตุการเปลือยอกของสตรีไทยในอดีตและ Sexual Harassment.
1
ในช่วงกลางเดือน พ.ย. ที่ผ่านมาได้มีกระแสแม่ค้าสาว ที่เธอได้ใส่เสื้อแฟชั่น แหวกอก แบบโนบรา ยืนขายขนมที่เชียงใหม่ จนขายดิบขายดีเป็น เทน้ำเทท่า สร้างความฮือฮาในโซเชียล จนกลายเป็นเทรนด์นิยม "เสื้อแหวกอก"
จริงๆ แล้วสตรีในสมัยก่อนไม่ใส่เสื้อ เหมือนกับเหล่าชายชาตรีนี่แหละ ซึ่งในอดีตสังคมไทยไม่ได้มีค่านิยมที่มองว่าเต้านมของผู้หญิงนั้น เป็นสิ่งยั่วกามารมณ์ มองเพียงแค่อวัยวะหนึ่งของร่างกาย การเปลือยอกในบริบทของช่วงเวลานั้นจึงไม่ใช่สิ่งที่ผิดแปลก จึงเห็นมีการเปลือยอก หรือ เปลือยท่อนบน ใช้ชีวิตทำมาหากิน ไปไหนมาไหน ในชิวิตประจำวันกันเป็นปกติ
สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้สตรีไทยในอดีตไม่สวมเสื้อผ้า หรือ เปลือยท่อนบน อาจด้วยลักษณะสภาพอากาศของประเทศไทยที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน การใส่เสื้อผ้าหลายชิ้นปกปิดร่างกายอาจทำให้รู้สึกร้อน อึดอัด หรือไม่สบายตัว ซึ่งผู้หญิงหลายประเทศในเขตร้อนก็ไม่ต่างกันนัก เช่น ผู้หญิงในสมัยก่อนที่อาศัยอยู่บนเกาะบาหลี อินโดนีเซีย ก็ไม่นิยมใส่เสื้อเช่นกัน
1
จนกระทั่งเมื่อถึงยุคการล่าอาณานิคมจากชาติตะวันตกที่เริ่มแผ่ขยายมาสู่ดินแดนสยามในช่วงรัชกาลที่ 4 หนึ่งในมหาอำนาจในเวลานั้นก็คือประเทศอังกฤษในสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ผู้ที่นำเทรนด์การแต่งกายแบบวิคตอเรียนให้ผู้หญิงแต่งกายแบบสวมเสื้อผ้ามิดชิด และต้องปกปิดเต้านมหรือเผยให้เห็นได้แค่เฉพาะบริเวณเนินอกเท่านั้น
ทำให้ค่านิยมการปกปิดเรือนร่างของสตรีเริ่มแผ่เข้าสู่อาณาจักสยาม จากเชื้อพระวงศ์ สู่ราชสำนัก ลงไปสู่ชาวบ้าน และกลายเป็นเทรนด์ใหม่ที่สตรีในสยามจะต้องนุ่งห่มเสื้อผ้าเพื่อปกปิดหน้าอกกัน จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงเรื่องการแต่งกายของคนไทยอย่างแท้จริง
ถัดมาในปีพ.ศ. 2485 สมัยจอมพลเเปลก พิบูลสงคราม หรือยุคแห่งการเปลี่ยนเเปลงให้เป็นเเบบตะวันตก (Westernization) ได้มีการออกประกาศ “รัฐนิยม” โดยมีการออกกฎหมายกำหนดเเละควบคุมรูปแบบการแต่งกายของทั้งหญิงชายให้มีความเป็นอารยชนหรือทัดเทียมชาติตะวันตก จึงเห็นได้ว่ารัฐเริ่มได้เข้ามาควบคุมเรือนร่างของประชาชนมากยิ่งขึ้น อันส่งผลถึงการก่อร่างสร้างตัวของวัฒนธรรมการเเต่งกายใหม่ ให้สมกับเป็นอารยชน
แต่บางกลุ่มมองถึง...
🛑ความเท่าเทียม กับปรากฏการณ์ "Free The Nipple" ผู้ชายทำได้ แล้วผู้หญิงล่ะ?
2
ในปีค.ศ. 2012 "ลีนา เอสโก" นักแสดง ผู้กำกับ และนักเคลื่อนไหวทางสังคมชาวอเมริกาก่อตั้งแคมเปญ Free The Nipple ขึ้น การเคลื่อนไหวในครั้งนี้เพื่อเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของสตรี และส่งเสริมให้ทุกเพศมีความเท่าเทียมกันในเรื่องการเปลือยหน้าอกในที่สาธารณะ หรือการไม่จำเป็นต้องสวมใส่ชุดชั้นใน โดยไม่ถูกสังคมมองว่าโป๊หรือเป็นสิ่งอนาจาร
มองว่าความแตกต่างระหว่างหน้าอกของผู้ชายกับผู้หญิงนั้นมีแค่ความสามารถในการผลิตน้ำนมสำหรับทารกเท่านั้น แต่ในหลายประเทศ การให้นมทารกในที่สาธารณะถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย เนื่องจากการเปิดเผยหน้าอกของผู้หญิงอาจไปกระตุ้นอารมณ์ทางเพศในผู้ชายได้
🛑วันที่ 27 สิงหาคม ถือเป็น "วันเปลือยอกสากล ; International Go Topless Day" ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยองค์กรสตรี "Go Topless" ได้เคลื่อนไหวจนมีการปลดล็อกกฎหมายอนุญาตให้ผู้หญิงเปลือยอกในที่สาธารณะได้รับการรับรองในปีค.ศ. 1992 และเป็นการเรียกร้องให้รัฐอื่นๆ เปลี่ยนเรื่องการให้นมบุตรของผู้หญิงในที่สาธารณะเป็นเรื่องถูกกฎหมาย
และอีกกลุ่มมองว่า...
🛑สิ่งเหล่านี้อาจจะก่อให้เกิด Sexual Harassment ที่มีเจตนาไม่ดีต่อเพศตรงข้าม หรือเพศเดียวกันเพื่อผลประโยชน์ในกําหนัดตน โดยไม่ได้รับการยินยอมจากอีกฝ่ายก็เป็นได้
โดยเริ่มต้นจาก กิริยาท่าทาง หรือการแทะโลมทางสายตา (Visual Conduct) ไปนำสู่ การแสดงออกทางวาจา (Verbal Conduct) และอื่นๆ จนเป็นตราบาปที่เหยื่อไม่ได้ก่อ
1
🛑ความผิดในด้านกฎหมาย การเปลือย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 388 “ผู้ใดกระทำการอันควรขายหน้าต่อธารกำนัล โดยเปลือยหรือเปิดเผยร่างกาย หรือกระทำการลามกอย่างอื่น ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
และหากนำภาพที่ตัวเองแก้ผ้าเปลือยหรือเปิดเผยร่ายกาย แล้วนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (4) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
cr: FB Stop Sexual Harassment
นั่นคือสาเหตุในอดีตโบราณนานมากว่า 100 ปีด้วยสาเหตุที่เมืองไทยอากาศร้อน และไม่ได้มีค่านิยมที่มองว่าเต้านมของผู้หญิงนั้น เป็นสิ่งยั่วกามารมณ์ มองเพียงแค่อวัยวะหนึ่งของร่างกาย
แต่ปัจจุบันในบริบททางกฎหมายสมัยใหม่ Sexual Harassment กับพฤติกรรมที่จะถูกทำให้เป็นเรื่องปกติในสังคมไทยนั่นเป็นไปได้ยากแล้ว ส่วนใหญ่เป็นแค่เพียงเทรนด์แฟชั่นที่ต้องการตอบสนองความต้องการอะไรบางอย่าง ที่เราคงคาดเดาได้ไม่ยาก ว่าการ วับๆแวมๆ นั่นเป็นเพียงศิลปะบนความพอดี ให้น่าค้นหาต่อไป

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา