23 ธ.ค. 2021 เวลา 11:29 • ประวัติศาสตร์
นักวิทย์ พบตัวอ่อนไดโนเสาร์สภาพสมบูรณ์ที่สุดในประวัติศาสตร์ คาดมีอายุถึง 66 ล้านปี
2
cr:https://news.tvs-24.com/world/139772.html
🔽ฟอสซิลอันน่าทึ่งนี้ถูกค้นพบครั้งแรกที่สวนอุตสาหกรรม Shahe ในเมือง Ganzhou มณฑลเจียงซี
🔽มันอยู่ในสกุลของไดโนเสาร์เทอโรพอดไม่มีฟัน มีจงอยปาก หรือ "Oviraptorosaurs" ตามที่ผู้เชี่ยวชาญเรียกพวกมัน
2
🔽"Yingliang" เป็นเอ็มบริโอไดโนเสาร์ที่สมบูรณ์ที่สุดตัวหนึ่งที่เคยพบมา มีความยาวประมาณ 27 เซนติเมตร
🔽สัตว์จำพวกนกในยุคปัจจุบันอาจมีบรรพบุรุษเชื่อมโยงกับไดโนเสาร์กลุ่มนี้ หรือในอีกกรณีหนึ่ง ตัวอ่อนดังกล่าวอาจเป็นไดโนเสาร์ที่เป็นบรรพบุรุษของจระเข้ เนื่องจากมีลักษณะการขดตัวในไข่คล้ายกัน
วันที่ 22 ธ.ค. 2564 ที่ผ่านมา สำนักข่าว nbcnews รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมของอังกฤษ เผยแพร่งานวิจัยพร้อมภาพประกอบของตัวอ่อนไดโนเสาร์ที่ขดตัวอยู่ในไข่พร้อมฟักตัว โดยเห็นลักษณะของหัว ขาและหางชัดเจน
อ็มบริโอซึ่งมีชื่อว่า 'Baby Yingliang' ถูกพบในโขดหินของ 'Hekou Formation' ที่ Shahe Industrial Park ในเมือง Ganzhou มณฑลเจียงซี cr: https://usmail24.com/
นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า นี่เป็นสภาพตัวอ่อนของไดโนเสาร์ที่มีความสมบูรณ์มากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมันมีความยาวลำตัวจากหัวถึงหางประมาณ 27 เซนติเมตร อยู่ในไข่ความยาว 17 เซนติเมตร พร้อมตั้งชื่อว่า "Baby Yingliang" ตามถิ่นที่พบ คือใน มณฑลเจียงซี ทางตอนใต้ของจีน
1
ภาพถ่ายของ 'Baby Yingliang' เป็นหนึ่งในตัวอ่อนไดโนเสาร์ที่เก็บรักษาไว้อย่างดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ทางด้านทีมวิจัยสันนิษฐานว่า ตัวอ่อนไดโนเสาร์ที่พบน่าจะเป็นไดโนเสาร์กลุ่ม 'Oviraptorosaurs' ซึ่งเมื่อเติบโตขึ้นจะคล้ายนกยักษ์ที่มีขนาด 2-3 เมตรเมื่อโตเต็มที่ มีชีวิตช่วงปลายยุคครีเทเชียส ในพื้นที่ที่เป็นทวีปเอเชียและอเมริกาเหนือในปัจจุบัน ซึ่งสำหรับตัวอ่อนไดโนเสาร์นี้ น่าจะมีอายุอยู่ที่ราว 66 ล้านปี
ภาพกราฟฟิคจำลอง ตัวอ่อนไดโนเสาร์
1
การค้นพบตัวอ่อนไดโนเสาร์ในครั้งนี้ ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์มั่นใจมากขึ้นว่า สัตว์จำพวกนกในยุคปัจจุบันอาจมีบรรพบุรุษเชื่อมโยงกับไดโนเสาร์กลุ่มนี้ หรือในอีกกรณีหนึ่ง ตัวอ่อนดังกล่าวอาจเป็นไดโนเสาร์ที่เป็นบรรพบุรุษของจระเข้ เนื่องจากมีลักษณะการขดตัวภายในไข่คล้ายกัน
1
cr:https://usmail24.com/fossils-beautifully-preserved-dinosaur-embryo-discovered-in-a-72-million-year-old-egg-in-china/
กรณีสภาพของตัวอ่อนที่สมบูรณ์ได้ขนาดนี้ เป็นเพราะไข่ของมันถูกฝังอยู่ใต้โคลน ซึ่งช่วยให้มันไม่ถูกไดโนเสาร์กินซากตัวอื่นกินไป โดยนักวิทยาศาสตร์จะนำตัวอ่อนดังกล่าวไปศึกษาด้วยเทคโนโลยีสแกนเพื่อให้ได้รูปร่างจากกระโหลก และกระดูกส่วนอื่นๆ ต่อไป

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา