22 ธ.ค. 2021 เวลา 04:43 • ปรัชญา
เรื่องของการทำสมาธิ การปฏิบัติธรรม ก็มีกิริยา ให้สี่กิริยา เดิน ยืน นั่ง นอน(ไสยาสน์ ) สมาธิ ปกติคนเรานั้น นำกายเคลื่อนไป วิญญาณทั้งหกก็เคลื่อนไปด้วย ให้ใช้กายวาจาใจ ไปตามอารมณ์ที่ปรุงแต่งเกิดขึ้น ภายในตัวตนของเรา การที่วิญญาณทั้งหกไปกระทบ ไปสัมผัสเรื่องราวต่างๆล้วนเป็นอารมณ์ รับส่งอารมณ์ ส่งไปให้จิต บันทึกหรือเก็บสะสมไว้กับแม่ทั้งสี่ที่ประกอบเป็นตัวตนของเรา
เมื่อเรานำกายที่เคลื่อนไหว มานั่งนิ่ง ภาวนาขึ้น (ไม่ใช่ท่องคาถาอาคม เพราะสิ่งเหล่านั้นจะซ้ำเติมให้มีกรรมเพิ่มขึ้น ให้มันหนักขึ้น ซึ่งเราก็ไปสังเกตเอาเอง ว่าชีวิตของคนที่ยึดเรื่องราวเหล่านี้ มีความสุขมั้ย อารมณ์เค้าร้อนแรงมั้ย เราสังเกตเอาเองได้ แม้แต่คนสะสมเรื่องกุมารตุ๊กตา คนเหล่านี้ รับฟังใครพูดบ้าง มีแต่ความทิฐิมากขึ้น สังเกตกันเอง เพื่อการศึกษาของตัวเราเองได้ แล้วเราก็สามารถที่จะรู้อะไรดีไม่ดีได้ ที่เค้าเอามายึดมาถือกัน ซึ่งเราก็สามารถค่อยสังเกต เพราะมันมีกันเกลื่อน แล้วชีวิตมันจะเป็นสุขไปได้อย่างไร ของพวกนี้มีแต่ส่งเสริมความทะเยอทะยาน ส่งเสริมให้มีอารมณ์รุนแรงเพิ่มขึ้น มันแปลกอย่างคนที่ท่องคาถา ท่องคาถาได้ แต่กำหนดจิตภาวนาอยู่กับคำว่าพุทโธ แค่สองคำกลับทำไม่ได้หรอก???)
เมื่อเราภาวนา พุทโธเกิดขึ้น สิ่งต่างๆที่อยู่ภายในจิตก็ไหลออกมา (เค้าเรียกว่าสิ่งสกปรกเลอะเทอะ) เป็นอารมณ์ฟุ้งซ่าน หงุดหงิด หน้าที่ของเราเพียวภาวนาให้จิตมีที่ยึด ยึดในคำว่าพุทโธ ไม่ต้องไปตามอารมณ์ฟุ้งซ่าน ให้จิตทำหน้าที่แค่นั้น แต่ถ้าหากฟุ้งซ่านก็ลองพยายาม ใช้สติใช้จิตระลึกรู้ที่จมูกมีลมเข้าออก จับความรู้สึกลมเข้าออกได้หรือไม่ หากจับความรู้สึกได้ ก็ให้สังเกตลมหายใจเข้าออกมาลักษณะอย่างไร มันหนักมันเบาอย่างไร ขณะเดียวกันก็สังเกตทสำรวจดูกายตั้งตรงหรือไม่
ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของอารมณ์(กิเลส คือ อารมณ์ที่สะสมภายในกาย)ทั้งสิ้น การปฏิบัติธรรมเพื่อชำระสะสาง เรื่องราวภายในจิตที่เก็บสะสมอะไรต่างๆในชีวิตที่เราต้องใช้อารมณ์โลภโกรธหลงเหมือนเป็นปกติของคนมีกรรม เมื่อทำสมาธิ อารมณ์ที่สะสม ค้างคาก็ ไหลออก เป็นความฟุ้งซ่านหงุดหงิด อะไรมากมาย มันไหลออก เราต้องอาศัยขันติ ความเพียร รักษากายให้อยู่นิ่ง จิตอยู่กับคำภาวนา ควรทำให้มีสัจจะกับตัวเอง กำหนดเวลาขึ้น ไม่ครบกำหนดเวลาไม่เคลื่อนกายไปไหน เราทำได้อย่างนี่ ต่อๆไปจิตเราก็จะได้เข้มแข็งขึ้น รู้จัก มีสติ ที่จะรู้เท่าทันอารมณ์ภายในกายนี้ รู้จักที่จะยับยั้งอารมณ์ ควบคุมกายวาจาใจของเราดีขึ้น
โฆษณา