31 ธ.ค. 2021 เวลา 08:00 • ประวัติศาสตร์
เรื่อง : ทำไมยุโรปถึงไม่ค่อยมีตึกระฟ้าเหมือนสหรัฐอเมริกาหรือเอเชีย?
10
ระยะเวลาที่ใช้ในการอ่านโดยประมาณ :10นาที
1
ตึกสูงระฟ้าส่วนมากของยุโรปมักจะรวมตัวอยู่ใน 5เมืองหลัก ได้แก่ London, Frankfurt, Paros, Moscow และ Istanbul แต่จำนวนของตึกสูงเหล่านั้นรวมกันแล้วยังน้อยกว่า New York เพียงเมืองเดียวเสียอีก, สำหรับอาคารที่จะถือว่าเป็นตึกระฟ้าสมัยใหม่นั้นจะต้องมีความสูงมากกว่า 150เมตร ซึ่งหมายความว่าควรจะมีประมาณ 40-50ชั้น
10
ในสหรัฐอเมริกาก่อนปี 1870 เราจะได้พบกับตึกระฟ้าเพียงแห่งเดียว มันคืออาคาร The Home Insurance Building ใน Chicago ซึงมันเป็นอาคารสูงแห่งแรกของโลกที่มี 10ชั้น และในปัจจุบันทวีปอเมริกาเหนือมีการสร้างตึกสูงระฟ้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีประชากรเพิ่มขึ้นและที่ดินก็มีราคาสูงลิ่ว
7
The Home Insurance Building
ในยุโรปตึกระฟ้าแห่งแรกสร้างขึ้นใน Moscow โดยมีชื่อว่า Seven Sister โดยมันถูกสร้างขึ้นในกลางทศวรรตที่ 1900เท่านั้น ส่วนใน Paris คุณจะสามารถพบตึกสูงได้แค่ในย่าน La Défense เท่านั้น ซึ่งทำให้ทิวทัศน์อันแสนโรแมนติกของเมืองนี้ไม่ถูกรบกวน และด้วยการจัดการที่ชาญฉลาดนี้ทำให้เมืองใหญ่ๆในยุโรปหลายแห่งได้เอา Paris เป็นแบบอย่าง โดยพวกเขาจะมีการแบ่งแยกเขตสำหรับตึกระฟ้าโดยเฉพาะ
3
Seven Sister
ย่าน La Défense ใน Paris
ใน London เป็นอะไรที่ต่างออกไปนิดหน่อย ตึกระฟ้าหลายแห่งมีการก่อสร้างในรูปทรงที่แปลกตา หนึ่งในนั้นคือตึก Gherkin ซึ่งมีรูปร่างเหมือนแตงกว่า และอีกตึกหนึ่งมีชื่อว่าตึกThe Shard ซึ่งเหตุผลที่ตุกเหล่านั้นต้องมีรูปทรงแปลกประหลาดก็เป็นเพราะว่าไม่ต้องการให้พวกมันบดบังวิหาร St. Paul's นอกจากนี้ยังมีสถานที่ชื่อดังอื่นๆ เช่นBig Ben และ Tower Bridge ที่ล้วนมีจุดชมวิวเป็นของตัวเอง ดังนั้นตึกสูงระฟ้าจึงไม่ได้รับอนุญาตให้สร้างขึ้นมาบดบังสถานที่สำคัญเหล่านี้
2
Gherkin
The Shard
บ้านเมืองในยุโรปส่วนมากถูกสร้างขึ้นมาเป็นเวลานานกว่าหลายร้อยปีแล้ว ในขณะที่สหรัฐอเมริกาสร้างตึกสูงเป็นว่าเล่น พวกเขากลับไม่มีที่เหลือมากพอที่จะสร้างอาคารใหญ่ๆได้อีก อีกทั้งเมืองในยุโรปหลายๆแห่ง ไม่ต้องการให้มีตึกระฟ้ามาทำลายมรดกทางวัฒนธรรมของพวกเขา ตัวอย่างเช่นในเยอรมัน ตึกระฟ้าส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นใน Frankfurt ส่วนในเมืองอื่นๆพวกเขาต้องการปกป้องตัวอาคารเดิมที่มีอยู่แล้ว และสมมติว่าหากกรุง Berlin ต้องการที่มีตึกสูงระฟ้าขึ้นมาจริงๆ มันก็คงจะเป็นไปได้ยากอยู่ดี เนื่องจากสภาพของพื้นดินที่ไม่อำนวย หากสร้างตึกขนาดใหญ่ไว้ที่นั้นมันจะจมลงอย่างรวดเร็ว โดยหากต้องการสร้างจริงๆคงต้องลงทุนไปกับการสร้างฐานรากจำนวนมหาศาล ซึ่งก็คงจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุนอยู่ดี
9
Burj Khalifa คือตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในโลก ซึ่งมีความสูงกว่า 823 เมตร โดยคุณจะสามารถมองเห็นมันได้จากระยะไกล 96กิโลเมตรในวันที่อากาศดี โดยเมื่อเปรียบเทียบกับตึกที่สูงที่สุดในยุโรปอย่างตึก Lakhta Center ในเมือง Saint Petersburg นั้น ตึกที่สูงสุดในยุโรปแห่งนี้ยังสูงเพียงแค่ครึ่งเดียวของมันเท่านั้น (460เมตร)
7
Burj Khalifa
Lakhta Center
พูดถึงตึก Burj Khalifa จริงๆแล้วพื้นดินแถวนั้นก็ไม่ได้เหมาะที่จะสร้างตึกขนาดใหญ่เลย ดังนั้นภายใต้อาคารนี้ พวกเขาจึงต้องสร้างฐานคอนกรีตขนาด 110,000ตัน จำนวน 192 ฐานที่ปักลึกลงไปในดินกว่า 50เมตร โดยมันอาศัยแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างเสาคอนกรีตเหล่านี้กับดิน ทำให้ตึกที่สูงที่สุดในโลกแห่งนี้สามารถตั้งมั่นอยู่ได้ แม้ว่าสภาพพื้นดินจะไม่อำนวยก็ตาม
8
สิ่งที่ท้าทายนักออกแบบมากที่สุดในการออกแบบตึกระฟ้าก็คือเรื่องของกระแสลม โดยยิ่งตึกมีความสูงมากเท่าไร กระแสลมก็ยิ่งส่งผลต่อตัวอาคารมากเท่านั้น และหากออกแบบได้ไม่ดีพอ ตึกอาจเกิดอาการโคลงได้เมื่อเจอกับกระแสลมแรง ตึกระฟ้าส่วนใหญ่จึงต้องมีโครงสร้างที่คล้ายกับลูกตุ้มอยู่ภายใน โดยมันจะช่วยดูดซับแรงลมบางส่วน โดยชิ้นส่วนนี้เรียกว่า Tuned Mass Damper (TMD) หรือ harmonic absorber (seismic damper) กลไลนี้จะคอยทำหน้าที่เป็นตัวถ่วงน้ำหนัก เมื่อตึกระฟ้าโดนลมพัด TMD ก็จะเคลื่อนที่แทนโครงสร้างของอาคาร
7
Tuned Mass Damper
แต่อาคารสูงบางแห่งก็ไม่จำเป็นต้องใช้ลูกตุ้มนี้ แต่ใช้การออกแบบโครงสร้างที่ชาญฉลาดแทน ตัวอย่างเช่นตึกThe Shard ใน London ซึ่งสามารถรับมือกับกระแสลมได้ด้วยรูปร่างที่เพรียวบางของมันเอง หรือตึก Shanghai Tower ที่ออกแบบให้โครงสร้างมีการบิดตัว 120องศา ทำให้ลดแรงของกระแสลมได้ดี และไม่เกิดการสั่นคลอนเมื่อเกิดลมกระโชก(จริงๆแล้ว Shanghai Tower มีTMD แต่มันมีไว้เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเท่านั้น)
10
Shanghai Tower
ในขั้นตอนการออกแบบตึกระฟ้า โดยปรกติมันจะต้องผ่านการทดสอบในอุโมงค์ลมก่อน โดยที่นั้นเมืองจำลองจะถูกสร้างขึ้น แล้วหลังจากนั้นจึงเพิ่มโมเดลของตึกสูงที่ต้องการสร้างใหม่เข้าไป และเมื่อทดลองเปิดกระแสลม หากโมเดลของตึกระฟ้าดังกล่าวพังลงนั้นหมายความว่ามันมีโอกาสที่จะถูกกระแสลมโค่นลงในชีวิตจริงด้วยเช่นกัน
2
อีก1 ปรากกฏการของตึกระฟ้าคือ Downdraft Effect กล่าวคือเมื่อกระแสลมกระทบกับตัวอาคาร กระแสลมจะแยกออกและกระจายไปรอบด้านของอาคารก่อนจะลงไปสู่ถนน ดังนั้นในวันที่มีลมแรงคุณอาจจะรู้สึกได้ว่าต้องเดินต้านลมเป็นพิเศษเมื่อคุณเดินอยู่ใต้ตึก โดยหากในบริเวณนั้นมีตึกระฟ้าติดกันหลายๆแห่ง มันอาจถึงขั้นก่อให้เกิดพายุขนาดเล็กๆที่ใต้ตึกได้เลย
10
Downdraft Effect
เรียบเรียงโดย
นายจอมโม้
30 ธันวาคม 2021

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา