Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ชีวิต ∙ อิคิ ∙ 生き : ใช้ชีวิตแบบที่อยากมีชีวิต
•
ติดตาม
27 ธ.ค. 2021 เวลา 23:24 • หนังสือ
=========================
“สัปดาห์ละบทสองบท” || วันอังคาร
=========================
🤫• อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น
✍🏻• ยาซุดะ ทาดาชิ เขียน
🔖• บทที่ 2 “ต้องใช้หัวข้อสนทนาแบบไหน การคุยเล่นจึงจะสนุกสนาน”
🔖• ตอนที่ 6 เลือกเรื่องเบา ๆ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่นมาเป็น “หัวข้อสนทนาแรก”
📝• บันทึกใจความแบบดิบ ๆ ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป พร้อม บันทึกการอ่านของ อิคิ ∙ 生き
[ อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น ]
=====================
บทที่ 2 ต้องใช้หัวข้อสนทนาแบบไหน
การคุยเล่นจึงจะสนุกสนาน
=====================
||คนไม่เอาถ่าน||
ทำให้คู่สนทนารู้สึกไม่พอใจระหว่างการคุยเล่น
||คนธรรมดา||
ไม่สร้างผลลัพธ์อะไรเลยในระหว่างคุยเล่น
||คนชั้นแนวหน้า||
สร้างความไว้วางใจในระหว่างคุยเล่น
[ อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น ]
===========================
ตอนที่ 6 เลือกเรื่องเบา ๆ ที่ไม่ส่งผลกระทบ
ต่อผู้อื่นมาเป็น “หัวข้อสนทนาแรก”
- - - - - - -
หัวข้อสนทนาเป็นสิ่งที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ
===========================
การคุยเล่นกับคนที่เพิ่งเจอครั้งแรกเป็นส่ิงที่
ทำให้เรารู้สึกประหม่าอย่างมากและทำให้
เรารู้สึกสับสนว่าจะชวนเขาคุยเรื่องอะไรดี
บทนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำเราค่ะ ว่าเราควร
เลือกหัวข้อสนทนาแบบไหน และจะต่อยอด
การสนทนาอย่างไร
[ อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น ]
===============================
แกนการสนทนา 2 แกน — แกนตั้งกับแกนนอน ===============================
ในการคุยเล่นกับคู่สนทนา เราควรเปลี่ยนหัวข้อ
สนทนาให้เข้ากับอีกฝ่าย เพื่อสร้างบรรยากาศ
การสนทนาที่สนุกสนาน
คุณยาซุดะ [ ผู้เขียน ] ได้กล่าวถึงแกนการสนทนา
2 แกน ซึ่งประกอบด้วย
①
แกนตั้ง คือ ความลึกของเนื้อหาการสนทนา
②
แกนนอน คือ ความหลากหลายของหัวข้อสนทนา
[ เพื่อน ๆ ลองดูภาพประกอบด้านล่างได้นะคะ ]
ช่วงแรกที่ชวนคุยเราควรลองเปลี่ยน
หัวข้อสนทนาไปรื่อย ๆ (พูดตามแกนนอน)
จากนั้นคอยสังเกตว่าคู่สนทนาเขาสนใจเรื่องไหน
เมื่อเราพบเรื่องที่คู่สนทนาสนใจแล้ว ให้พูดคุย
เรื่องนั้นแบบลงลึก (พูดตามแกนตั้ง)
การพูดคุยแบบลงลึกได้ยิ่งมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่ง
ช่วยลดระยะห่างระหว่างกันได้มากขึ้นเท่านั้น
[ อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น ]
==========================
หัวข้อที่เหมาะสำหรับนำมาใช้คุยเล่น
==========================
เราควรเลือกหัวข้อสนทนาเบา ๆ มีเนื้อหาไม่ซับซ้อน
และไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น หรือไม่ได้เจาะจงพูดถึง
ใครเป็นพิเศษ เช่น สภาพอากาศ งานอดิเรก ฯลฯ
หรือเรื่องที่มีจุดร่วมกับคู่สนทนา เช่น บ้านเกิด หรือ
งาน เป็นต้น
ในการสนทนาเราควรต่อยอดการสนทนาจาก
เรื่องทั่วไป แล้วค่อย ๆ ค้นหาจุดร่วมกับอีกฝ่ายเพื่อ
กระชับความสัมพันธ์อย่างธรรมชาติ
โดยคุณคุณยาซุดะ ได้ยกตัวอย่างการสนทนา
ไว้ดังต่อไปนี้ค่ะ
A : “โอ้โฮ ฝนตกหนักมากเลยนะครับ”
B : “นั่นสิครับ จู่ ๆ ฝนก็ตกลงมา”
A : “ฤดูนี้ฝนตกบ่อย เวลาจะออกนอกบ้านแต่ละที
ลำบากน่าดูครับ”
B : “งั้นเหรอครับ คงเหนื่อยแย่เลย”
A : “เอ่อ . . . ที่ผมมาวันนี้ . . . ”
การสนทนาข้างต้นเป็นการสนทนาของคนทั่วไป
ที่ไม่ได้คำนึงถึง “แกนตั้ง” กับ “แกนนอน” นอกจากจะ
ทำให้การสนทนาไม่ลื่นไหล ยังทำให้การสนทนา
ข้างต้นไม่มีสาระใด ๆ อีกด้วย
แต่คนที่คุยเก่งจะสนทนาตามตัวอย่างด้านล่างค่ะ
A : “จะว่าไปฝนที่ตกหนักผิดปกติในระยะนี้ก็ทำให้
ลำบากอยู่นะครับ อย่าเมื่อกี้นี้พอไปถึงสถานีปุ๊บ
ฝนก็ตกลงมาทันที”
B : “จู่ ๆ ฝนก็ตกลงมาสินะ”
A : “ใช่ครับ ผมคาดเดาสภาพอากาศไม่ออก ก็เลย
ลำบากตรงที่วางแผนการเดินทางในช่วงสุดสัปดาห์
ไม่ได้”
B : “นั่นสินะครับ ผมเองก็ต้องล้มเลิกแผนการในช่วง
สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเหมือนกัน”
A : “เอ๋ แย่จังเลยครับ! ว่าแต่คุณตั้งใจจะเดินทาง
ไปไหนเหรอครับ”
การสนทนานี้เริ่มต้นด้วยเรื่องสภาพอากาศ แล้ว
นำไปสู่ “แผนการเดินทางในช่วงสุดสัปดาห์”
อย่างลื่นไหล
[ อิคิ ∙ 生き : โอ้โห สุดยอดไปเลย! ]
หนังสือแนะนำให้เราเลือกหัวข้อหนึ่งมาใช้เป็น
จุดเริ่มต้นในการพูดคุย จากนั้นก็สังเกตท่าทีของ
อีกฝ่ายไปพร้อม ๆ กับการสนทนา เพื่อค้นหาว่า
อีกฝ่ายสนใจเรื่องไหน
ถ้ามีหัวข้อที่อีกฝ่ายสนใจ ก็ให้พูดคุยเรื่องนั้นแบบ
ลงลึก ในระหว่างพูดคุย ทั้งสองฝ่ายจะได้รู้เรื่อง
ของกันและกัน ทำให้รู้จักกันมากขึ้นอย่างเป็น
ธรรมชาติ
[ อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น ]
=====================
หัวข้อที่ไม่ควรนำมาใช้คุยเล่น
=====================
การเมืองและศาสนา คือ หัวข้อต้องห้ามค่ะ เพราะ
การเมืองและศาสนาเป็นแนวคิดส่วนตัวที่มีความ
สัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับแต่ละปัจเจกบุคคล
ที่สำคัญหัวข้อเหล่านี้อาจนำไปสู่การ “ถกเถียง”
กันในท้ายที่สุด
หัวข้อที่ใช้ในการคุยเล่นจะต้องเป็นเรื่องเบา ๆ
เพื่อสร้างบรรยากาศการสนทนาที่ผ่อนคลาย
ไม่ตึงเครียด
======================
กฎเหล็กของการคุยเล่น คือ
ต้องไม่ถกเถียงกันอย่างเด็ดขาด
======================
ส่วนเรื่อง “ความรัก” และ “มุกใต้สะดือ” หนังสือ
แนะนำว่า ควรหลีกเลี่ยงหากเป็นไปได้
แม้ว่าเรื่องเหล่านี้อาจทำให้คู่สนทนาบางคนหัวเราะ
ได้ แต่สำหรับบางคนฟังแล้วอาจรู้สึกขุ่นข้องหมองใจ
ดังนั้น เราควรมี “ทักษะในการอ่านบรรยากาศ” ด้วย
เวลาคุยเล่นในขณะทำงาน การพูดคุยเรื่องเบา ๆ
ที่ไม่ส่งผลกระทบกับใคร คือ วิธีที่ปลอดภัยที่สุด
[ อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น ]
==============
หลักสำคัญ
ของคนชั้นแนวหน้า
[ 6/38 ]
==============
ค้นหาว่าอีกฝ่านสนใจเรื่องไหนแล้วพูดคุยแบบลงลึก
[ อิคิ ∙ 生き's Memo ]
ปกติ อิคิ ∙ 生き เป็นคนปากหนักมากเลยค่ะ
โดยเฉพาะเวลาที่ต้องชวนคนที่ไม่เคยรู้จัก
กันมาก่อนพูดคุย อิคิ ∙ 生き เป็นแบบผู้เขียน
กล่าวไว้เลยค่ะ นั่นคือ อิคิ ∙ 生き จะรู้สึกประหม่า
และมัวแต่คิดในหัวว่าจะชวนคนข้าง ๆ คุยเรื่องอะไรดี
เชื่อไหมคะ ตอนไปอบรมการเป็นผู้ฝึกสอน
“BODY COMBAT” เป็นระยะเวลา 2 วัน
อิคิ ∙ 生き แทบไม่ได้พูดกับใครอย่างจริงจังเลย
สำหรับ อิคิ ∙ 生き ปกติจะชวนคนคุยก็ยากอยู่แล้ว
แต่เพื่อนร่วมอบรมในครั้งนั้น ส่วนใหญ่เขามาเป็น
กลุ่ม ๆ รู้จักกันมาก่อนอยู่แล้ว ซึ่งถ้าเข้าไปพูดคุย
ด้วย อิคิ ∙ 生き จะต้องใช้พลังและรวบรวมความกล้า
มากขึ้นเป็นพิเศษ
ดังนั้น อิคิ ∙ 生き จึงตัดสินใจที่จะอยู่ในพื้นที่สบาย
ของตัวเอง โดยไม่ได้พูดอะไรกับใครมาก ครูให้ทำอะไร
ก็ทำของเราไปคนเดียว
จนอบรมเสร็จกลับบ้าน พี่สาวแฟนก็ถามนู่นถามนี่ว่า
เพื่อน ๆ ที่ไปเรียนเป็นใครอย่างไรบ้าง อิคิ ∙ 生き
ตอบได้เพียงผิว ๆ จนพี่สาวต้องถามว่า “ไปอบรมนี่
ไม่ได้คุยกับใครบ้างเลยหรอ”
วันนั้นทำให้ อิคิ ∙ 生き ต้องกลับมาพิจารณาตัวเอง
เลยว่า “นั่นสินะ เราไม่อบรมตั้งสองวัน แต่เราแทบจะ
ไม่ได้คุยกับใครจริงจังเลยนะเนี่ย”
หลังจากนั้นหลายเดือน อิคิ ∙ 生き มีคำถามเกี่ยวกับ
การอบรม ว่าหลังจากที่อบรมเสร็จแล้วเพื่อน ๆ ขึ้น
ทะเบียนเป็นผู้ฝึกสอนกันอย่างไร เพราะการอบรม
จะเป็นการสมัครออนไลน์เท่านั้น หน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้
จะอยู่ต่างประเทศ ทุกอย่างต้องส่งอีเมล์ไปสอบถาม
แต่ อิคิ ∙ 生き ต้องการทราบประสบการณ์ตรง
จากผู้ที่เคยขึ้นทะเบียนมาก่อน วินาทีนั้น อิคิ ∙ 生き
รู้สึกเสียดายเวลา 2 วันที่ไปอบรมมาก ๆ ค่ะ เพราะ
เราไม่ได้คุยกับใครจริงจังเลย จึงเป็นเหตุให้เราไม่ได้
ขอเบอร์ติดต่อเพื่อน ๆ ที่อบรมไว้เลยซักคนเดียว
เหตุการณ์นี้จึงเป็นอีกเหตุการณ์ที่ทำให้ อิคิ ∙ 生き
คิดว่ามันคงถึงเวลาแล้วที่เราต้องปรับปรุงเรื่อง
การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กับผู้คนให้ดีกว่านี้
- - - - -
สิ่งหนึ่งที่ อิคิ ∙ 生きชอบหนังสือเล่มนี้คือ
ตัวอย่างบทสนทนา ที่ผู้เขียนเปรียบเทียบระหว่าง
การพูดคุยของคนทั่ว ๆ ไป กับ คนที่พูดคุยเก่งค่ะ
ตัวอย่างบทสนทนาของคนที่คุยไม่เก่ง ได้สะท้อน
ทักษะการสนทนาของ อิคิ ∙ 生き ได้เป็นอย่างดี
หลาย ๆ ตัวอย่างแสดงให้ อิคิ ∙ 生き เห็นว่า . . .
ทำไมการสนทนาหลาย ๆ ครั้งของเราถึงเป็นไปอย่าง
ไม่ลื่นไหล และต้องพยายามเค้นหัวข้อที่จะพูด
การอ่านหนังสือเล่มนี้ทำให้ อิคิ ∙ 生き ได้คำตอบว่า
นั่นเป็นเพราะเราสนใจแค่ตัวเรา พยายามทำอย่างไร
ก็ได้ที่จะไม่เกิด Dead Air หรือ การเงียบระหว่าง
สนทนา
เวลาเกิด Dead Air ระหว่างสนทนา อิคิ ∙ 生き
จะรู้สึกอึดอัดมากค่ะ ดังนั้นพอเราทนอยู่ในสภาพนั้น
ไม่ได้ เราก็แค่พยายามที่จะพูดอะไรก็ได้เพื่อไม่ให้เงียบ
พูดไปโดยไม่ได้สนใจคนตรงหน้าเท่าที่ควร ว่าเขา
สนใจเรื่องไหน
อิคิ ∙ 生き รู้สึกประทับใจเนื้อหาในบทนี้มากค่ะ
และจะลองนำเทคนิค การสนทนา 2 แกนไปใช้
ในชีวิตประจำวันค่ะ
นอกจากนั้นเวลาสนทนากับใคร คงต้องพยายาม
ใส่ใจคนตรงหน้าให้มากกว่าความอึดอัดของ
ตัวเราค่ะ หาก อิคิ ∙ 生き นำไปปฏิบัติแล้วได้ผล
อย่างไรจะนำมาแบ่งปันให้เพื่อน ๆ ฟังในลำดับ
ต่อไปนะคะ
หวังว่าสักวันจะได้บอกกับเพื่อน ๆ ว่า “ทุกวันนี้
อิคิ ∙ 生き พูดคุยกับผู้อื่นได้ดีขึ้นมากและมีความสุข
กับการพูดคุยมากกว่าแต่ก่อนแล้วค่ะ 😊”
สำหรับวันนี้ อิคิ ∙ 生き ขอลาไปก่อนนะคะ
แล้วพบกันใหม่กับ “อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น”
ในวันอังคารหน้า อรุณสวัสดิ์นะค้าาาทุกคน 🙏🏻😊
หมายเหตุ : หากเพื่อน ๆ ท่านใดสนใจอยากฝึกฝนเสน่ห์ในการสื่อสาร จนอดใจรอ อิคิ ∙ 生き สรุปทีละบทไม่ไหว เพื่อน ๆ ก็สามารถสั่งซื้อหนังสือได้ที่ Link ด้านล่างนะคะ
https://www.welearnbook.com/product/33376-27075/อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น-超一流の雑談力
#สัปดาห์ละบทสองบท #อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น
บันทึก
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สัปดาห์ละ. . .บท 2 บท
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย