Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
blue bangkok
•
ติดตาม
28 ธ.ค. 2021 เวลา 14:45 • ศิลปะ & ออกแบบ
หนึ่งวัน ฉันมาตามรอย ตามาญโญ่
ตามาญโญ่ คือใคร ลองตามอ่านเรื่องราวเก่าๆที่เรา bluebangkok บ่นๆได้เลย ที่นี่
https://www.blockdit.com/posts/6191aff1aed4d00ca9bb8500
https://www.blockdit.com/posts/6196182ac452750ca8a22f6e
https://www.blockdit.com/posts/61a4bd79dd295d0cb9deeec8
https://www.blockdit.com/posts/61c41ec8add42e63a060736d
ชุด beside of Tamagno
สนับสนุนชุดนี้ได้เลย ที่เพจเฟสบุ๊ค
https://www.facebook.com/102814861800833/posts/289937916421859/
เราเริ่มตั้งต้นที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ณ สนามไชย ข้างๆมิวเซียมสยาม และสถานีตำรวจ ผลงานของ ตามาญโญ่ อันคุ้นตา หากคุณมาย่านปากคลองตลาด ทุกคราวยามช่วงเทศกาล โดยเฉพาะ ตรุษ สาทร ดอกไม้เป็นสิ่งจำเป็น พอๆกับการไหว้ด้วยพิธีที่ต้องใช้บายศรี พานพุ่ม หมากพลู หรือช่วงกลางคืน ภาพถ่ายย่านนี้ที่เต็มไปด้วยดาวเรืองเหลืองอร่าม ติดในความทรงจำ ตั้งแต่หัวค่ำจนข้ามวัน หรือช่วงเทศกาลแห่งความรัก ที่ดอกกุหลาบและทิวลิป สารพัดสี หรือช่วงใกล้จบพิธีทางการศึกษา
ร้านขนมเก่า ร้านข้าวริมทางก็มี เราเคยแวะเวียนมาเสมอ
https://www.blockdit.com/posts/6155b4a003c5092f4ac9a64e
เรานั่งแท็กซี่ ผ่านสนามหลวง แวะมองอาคารยุคเก่า วังสราญรมย์ ศาลฎีกา(ศิลปะคณะราษฎร์ ที่เปลี่ยนแปลงไป) หรือย่านราชดำเนินกลาง แม้จะร้างรา แต่แอบคุยกันในรถจนพี่คนขับเห็นพ้องว่า น่าจะมีการฟื้นทำประโยชน์ คล้ายหอสมุดเมืองกรุงเทพฯ
สะพานผ่านฟ้า สะพานมัฆวานรังสรรค์(นายการ์โล อัลเลกรี ทีมอิตาลีผู้มาก่อนตามาญโญ่ และเคยร่วมงานยุคแรกด้วยกัน เราชอบความทำงานเป็นทีม ครบครัน ทั้งสถาปนิก วิศวกร และศิลปิน ความเป็นชาตินิยม เอกอุทุกด้านมากกว่าทีมต่างชาติอื่นๆ) และอีกหลายแห่ง ล้วนแต่เป็นงานยุคแรก เมื่อ ตามาญโญ่มาเยือนสยาม ก่อนการสร้างอาคารระดับตำนานหลายแห่ง
เราแอบมาเก็บข้อมูล อาคารโรงเรียนเก่า เตรียมเจรจาหลังการติดต่อมาช่วงเร็วๆนี้ อาจร่วมงานกัน ซึ่งเชื่อมกับความสนใจส่วนตัว เกี่ยวกับเมืองท่า และการแผ่ศาสนาของคณะคริสเตียน คณะดอมินิกัน ทั่วสยาม เมื่อร้อยปีก่อน พร้อมกับระบบการจัดการเรียนการสอน ต่างจากอดีตที่มุ่งหมายด้านการแพทย์ สาธารณสุขหรือวิทยาการศาสตร์อื่นๆ เริ่มที่แถวตลาดน้อย บางรัก จนมาสามเสน สู่ภูมิภาค เชียงใหม่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ฯลฯ
อดีตอาคารนี้สีครีม ตัดเขียวของหน้าต่าง เดินขอบขาวบางตำแหน่ง แต่ที่ชอบคือ กระเบื้อง ใช้ดินเผาคล้ายที่ภูเก็ตที่นำเข้าจากกรีซหรือยุโรปตะวันตกผ่านทางเรือ
แอบชิมร้านก๋วยเตี๋ยวเรือละแวกนี้ มีเจ้าดังคนละฝากสองถนน ต้องตัดใจเลือก แม้ต้องถามพนักงานร้านสะดวกซื้อว่าควรลิ้มชิมรสร้านใด ก่อนเดินทางไกลใต้แสงแดด เลาะรั้วจนถึงพระบรมรูปทรงม้า
เรื่องเกิดที่นี่ ที่วังปารุกส์
อาคารวังจิตลัดดา ถ้าไม่มาและฟังบรรยาย จะไม่ทราบว่าคนละอาคารกับจินตนาการ ราชสกุลจักรพงษ์ เพราะนี่เป็นอดีตพระราชวังที่ประทับของ ล้นเกล้าร.6 ก่อนขึ้นครองราชย์
เข้าชมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย มีการบรรยายจากเจ้าหน้าที่ ที่ข้อมูลครอบคลุมหลายมิติ แม้เราจะนิ่งๆแอบฟัง ท่านก็ยังพยายามหาจุดที่เราสนใจเพื่อเกิดการสนทนาซักถาม หรือประเด็นอาคารที่มีปัญหาด้านการดูแล ก็แอบให้ดูบางจุด
มุมมองด้านหน้าและข้าง ที่แปลนอาคารวางแนวขวางกับแนวถนนและกำแพง คล้ายที่อาคารมิวเซียมสยาม ที่เล่นมิติแนวแกนทะแยงมุม กับสี่เหลี่ยมผืนผ้าของเขตที่ดิน อีกทั้งทิศทางแสงและลม ถูกคำนวณมา แม้ด้านหลังชานที่เราชอบส่วนตัว จะถูกฝนสาด พื้นหินอ่อนเสียหายจากอดีตรูปถ่าย เปลี่ยนเป็นไม้ที่เป็นปัญหาต่อการดูแล
เราสงสัยในพื้นที่ด้านนี้ที่ออกแบบเป็นปล่อง แม้ภายในจะไม่ต่าง แต่คาดว่ามีเพื่อถ่วงน้ำหนักความไม่สมมาตรของอีกด้าน และเพิ่มพื้นที่รับแสงด้านข้างตรงบันไดหน้า
หลังคากันสาดบนหน้าต่าง สะดุดตา ไม่มีที่ใดเหมือน
ระเบียงชานด้านหลัง ส่วนตัวเราชอบเป็นพิเศษ ดูอบอุ่นน่ารัก ชัันบนมีการทำพื้นระเบียงเทเอียงลาดเพื่อการระบายน้ำ เสียดาย ต้นกมากหรือปาล์มด้านหลัง ทำให้เสียบรรยากาศ หรือการจัดสวนรอบอาคาร การเลือพันธุ์ไม้และจัดวางมีผลต่อองค์ประกอบ
โถงด้านบน ที่มีมิติช่องแสง เพิ่มความสว่าง ทำให้ดูโล่ง เป็นส่วนที่ละมุนละไม ตัดกับสีอาคารที่สดใส
ลวดลายฉลุ แอบสงสัยไม่ได้ งานส่วนใหญ่ของ ตามาญโญ่จะเป็นแนวคลาสสิก นิ่งเรียบ อาจใช้งานตกแต่งสไตล์อาร์ตนูโนภายใน ส่วนภายนอกเป็นแบบเดอสไตล์
แอบมองผ่านรั้วกำแพง ที่บางเพจท่านให้ข้อมูลว่า อดีตล้นเหล้าร.5 มีมาสเตอร์แปลน เป็นแนวรั้วเตี้ย มีซุ้มโค้งอลังการ ที่อาจต่างจากรั้วปัจจุบัน
ตำนานพระที่นั่งหินอ่อนลอยน้ำ เพื่อการรับน้ำหนักโครงสร้าง จากชั้นดิน ซึ่งอดีตไร้ระบบเสาเข็ม กับการสร้างอาคารระดับมาสเตอร์พีซ โดยรายละเอียดบางส่วนมีการปรับด้วยเทคโนโลยีหรือภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ล้ำสมัยในยุคนััน จนถึงขั้นตีพิมพ์ลงวารสารระดับโลกสถาปัตย์ในยุคนั้น(ลองฟังเทปการบรรยาย ของมิวเซียมสยามที่ลงไว้ในบทความอื่นๆก่อนหน้า)
เราแอบมีนัดกับแฟนคลับ และเครือข่ายน่าสนใจ
ร้านคาเฟ่เล็กๆ แต่ไม่ลับ ใกล้สถานีรถไฟกรุงเทพ(หัวลำโพง)
Play Space ร้านอบอุ่นบนอาคาร shop house ยุคโมเดิร์น ในย่านความวุ่นวายแต่ระบบชุมชนน่าสนใจ
คุณเจ้าของทั้งสองท่านและหุ้นส่วน เปิดรับศิลปิน หรือโครงการสร้างสรรค์ โดยด้านบนเป็นห้องแสดงงานได้ทั้งสองชั้น ด้านล่างเป็นร้านอาหารและคาเฟ่ (บางโปรเจคของศิลปิน น่าสนใจที่ มีความหลากหลาย ทั้งแสดงงาน เวิร์คฉอปสีน้ำ หรือทำขนม นอกจากนี้ยังร่วมกับหน่วยงานต่างๆได้ เพียงลองเข้ามาคุย ไม่มีค่าใช้จ่ายหรือจ่ายเพิ่มในบางส่วนที่ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษ)
ครูโหน่ง แห่ง myspace 365
https://www.happeningandfriends.com/article-detail/280?lang=th
แอบเห็นงานเรา bluebangkok กับงานอ.โหน่ง แห่งเพจ myspace365 เราแอบตามงานอยู่ ท่านมาจัดคอร์สสอนสีน้ำเขียนอาคาร ย่านเก่าบ่อยๆ ช่วงนี้เน้นเขียนและเดินทางโดยรถไฟ
ป้ายร้านเดิมของอาคาร ผลิตอุปกรณ์การแพทย์ สำลีห่อกระดาษ จนรุ่นปัจจุบันผันอาคารมาทำ creative space แบบนี้
บรรยากาศภายในร้าน พี่ๆใจดีคุยแทบไม่ให้เราพักหายใจ
ช่วงนี้มีนิทรรศกาล สองศิลปิน ชั้นสองคืองานที่ใช้เทคโนโลยีสร้างภาพคนเสมือนที่ได้หายตัวไป อาจพบตามฉลากขวดน้ำดื่ม
ชัันสาม เป็นงานภาพถ่าย ที่ระบบการพิมพ์น่าสนใจ เราคุ้นกับงานหนึ่งในนั้น เพราะเห็นในทวิตเตอร์ ศิลปินท่านนี้ทำ NFT อยู่ โดยระบบการพิมพ์บนกระดาษพิเศษที่เล่นกับแสงแฟลช ช่วงลอกดาวน์โควิดยุคแรก ความเหงา เศร้า หรือบรรยากาศที่ไม่มีอีกแล้วในปัจจุบัน นี่คือภาพประวัติศาสตร์ หรือเทคโนโลยีที่ใช้แอพพลิเคชัน ในการดูภาพร่วมกับ Ar เช่น ฝนพรำในภาพ
แสงแฟลชเผยสีสันในผืนภาพ
พี่ทุม เบืัองหลุงงานระบบการพิมพ์ และเทคโนโลยีของ cannon ที่ช่วยสนับสนุนศิลปินหลายแขนง รวมถึงเครือข่ายประชาสังคม และคาเฟ่ย่านเก่าร้านแก่ มาบรรยายงานละนัดเรามาพบปะพูดคุยวันนี้
เทคโนโลยี ฝนพรำในภาพนิ่ง
ภาพคุ้นชินตาใน nft
อาหารเลิศรส ที่เราสั่งเพิ่มมากมายแต่ไม่เสียเวลาถ่ายเท่าที่ควร ชาและกาแฟเข้มข้น มีเพียงความเงียบและเสียงการซึมซับรสชาติ เมื่อพักระหว่างแลกเปลี่ยนข้อมูลกับพี่ๆภายในร้าน ตบท้ายด้วยไอศกรีมทำเองของร้าน แต่ไม่ถ่ายมาหรอก เสียเวลาชิม ต้องมาลองเองนะ
ก่อนกลับ เจ้าถิ่นแวะมาดิ้นออดอ้อน มาจากไหนไม่ทราบ ลงมาม้วนตัวหน้าเรา
อุปกรณ์ที่พี่ทุมแนะนำ ทั้งเครื่องพิมพ์ภาพจากโทรศัพท์มือถือได้ทันที แถมเป็นสติ๊เกอร์ ด้วยระบบพิมพ์ไร้หมึกบนกระดาษที่ลอกแปะแล้วเป็นมิตรต่อกระจกไม่มีคราบ กับเครื่องฉายขนาดพกพา ที่เราสนใจเป็นพิเศษด้วยความคมชัดปรับได้ ขนาดจอขยายย่อตามพื้นที่ มีช่องเสียบสารพัดเครื่องมือ รูปร่างน่ารัก และเหมาะกับกิจกรรมทั้งครีเอทีฟ แคมป์ปิ้ง ปาร์ตี้
อาคารใกล้สถานีรถไฟ โรงแรมดังในอดีต
เสียดายการจัดแสงไฟ ส่งผลเสียต่อตัวอาคารมากกว่าความงาม ไฟ LED อาจไม่เหมาะบางกรณี โดยเฉพาะการเล่นแสงสี ทำลายความยิ่งใหญ่สง่างาม แม้จะมีความประหยัดพลังงานแต่ควรเป็นแสงนิ่งเรียบ
Canon mini projector
https://www.youtube.com/watch?v=8AYKHhSfBTc
Canon iNSPiC [C] & [S]
https://www.youtube.com/watch?v=_KRSb7LjREY
บันทึก
2
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ชมตึก (ย่านเก่า พิพิธภัณฑ์)
2
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย