30 ธ.ค. 2021 เวลา 01:08 • ธุรกิจ
รถยนต์ EV ไทย เติบโตได้หรือไม่?
2
เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา บริษัท เกรทวอลล์มอเตอร์ประเทศไทย ได้เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กรุ่นใหม่ ORA Good Cat ซึ่งเป็นที่สนใจของคนไทยเป็นจำนวนมาก มียอดจองสะสมกว่า 2,000 คัน ตั้งแต่เปิดตัว โดยยังคงมียอดจองเพิ่มขึ้นในเดือนธันวาคม และส่งมอบไปแล้วกว่า 200 คัน
3
ส่งผลให้รถรุ่นนี้กลายเป็นผู้นำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในไทยตั้งแต่เดือนแรกที่มีการส่งมอบ จากกระแสการจองรถ ORA Good Cat ทำให้เห็นว่าคนไทยให้ความสนใจในการใช้รถยนต์ฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4
ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า ม.ค. – ต.ค. ปี 2021
ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า 11 เดือนของปี 2021 มียอดสะสมรวมกว่า 188,972 คัน แบ่งเป็นสัดส่วนรถยนต์ไฟฟ้าประเภท Hybrid 95% และเป็นรถยนต์ไฟฟ้าประเภทใช้แบตเตอรี่ BEV 5% ขยายตัว 92.7% จากช่วงเดียวกันของปี 2020 โดยมีการเติบโตอย่างมากในทุกภูมิภาค แสดงถึงความต้องการรถยนต์ที่มีความทันสมัยและประหยัดพลังงานซึ่งมาจากกำลังซื้อผู้บริโภคที่อยู่จากตลาดกลางถึงบน
3
ปัจจุบันมีนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้น
1
โดยรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนได้ภาษีนำเข้า 0% จาก FTA จีน-อาเซียน ที่กระทรวงพาณิชย์ได้ลงนามไว้ ซึ่งไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน และไม่สนับสนุนให้เกิดการผลิตในประเทศ โดยรถยนต์ไฟฟ้าทั้งคันจากจีนสามารถนำเข้ามาขายได้ในราคาที่ต่ำ ขณะที่การนำเข้าแบตเตอรี่อย่างเดียวมีการเสียภาษีในอัตราที่สูง ในขณะเดียวกันรถยนต์ไฟฟ้าจากยุโรป และญี่ปุ่น มีโดนเรียกเก็บภาษีนำเข้าสูงถึง 20-80%
6
ทางกระทรวงการคลัง หน่วยงานอย่างกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากร รวมทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ได้เสนอ ครม.ให้อนุมัติมาตรการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้ในประเทศ รวมถึงให้ไทยสามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้เอง
โดยลดภาษีสรรพสามิตให้กับรถยนต์ไฟฟ้า รถ Hybrid เสียภาษี 4% สำหรับเครื่องยนต์ต่ำกว่า 3,000 cc และ 16-26% สำหรับเครื่องยนต์มากกว่า 3,000 cc ส่วนรถ BEV เสียภาษี 8% แต่เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า กรรมสรรพสามิตจึงให้แรงจูงใจ โดยลดลงภาษีออกเป็น 2 ระดับ คือในปี 2019 - 2022 เสีย 0% จาก 2% และ ปี 2023 - 2025 เสีย 2%
ส่วนภาษีนำเข้า ค่ายรถญี่ปุ่นเมื่อเข้าร่วมมาตรการจะได้รับการลดภาษีนำเข้าเหลือ 0% ค่ายรถเกาหลีจะได้รับการลดภาษี เหลือ 0% และค่ายรถยุโรปจะได้รับการลดภาษี เหลือ 40%
2
นอกจากนี้รัฐบาลยังจะมีให้เงินอุดหนุนการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าภายใต้กรอบวงเงิน 40,000 ล้านบาท จูงใจให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าประมาณ 300,000 คันในระยะเวลา 5 ปี โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1
  • 1.
    กลุ่มรถ ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท นอกจากจะได้รับการลดภาษีแล้ว จะได้รับเงินอุดหนุนวงเงินสูงสุดที่ 150,000 บาท โดยจะพิจารณาตามขนาดของแบตเตอรี่ หากแบตเตอรี่ต่ำกว่า 30 กิโลวัตต์ - ชั่วโมง จะได้รับเงินอุดหนุนประมาณ 70,000 บาท ถ้าขนาดแบตเตอรี่มากกว่า 30 กิโลวัตต์ - ชั่วโมง จะได้รับเงินอุดหนุน 150,000 บาท
  • 2.
    กลุ่มรถที่ราคามากกว่า 2 ล้านบาท จะไม่ได้เงินอุดหนุนจากรัฐบาล แต่จะได้รับการลดอัตราภาษีศุลกากร 40% และลดอัตราภาษีสรรพสามิตอีก 2% อย่างไรก็ดี หากรวมการลดอากรขาเข้า และลดภาษีสรรพสามิตแล้ว ผู้ซื้อจะได้รับการลดราคาคันละไม่ต่ำกว่า 7-8 แสนบาท
8
ซึ่งในด้านราคารถที่เหมาะสมไม่ควรจะสูงกว่า 1 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นความต้องการของผู้ใช้รถ หรือควรมีราคาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน
1
มาตรการส่งเสริมซึ่งจะเริ่มต้นภายในปีหน้า โดยมีทั้งมาตรการภาษีและไม่ใช่มาตรการภาษี ที่ เช่น การลดภาษีรถยนต์ประจำปี, การลดค่าทางด่วน หรือการสนับสนุนที่โครงสร้างพื้นฐานเพื่อรถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น
2
เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนซื้อรถยนต์ไฟฟ้าและเกิดการลงทุนก่อสร้างสถานีชาร์จเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจัยหลักในการตัดสินใจใช้รถยนต์ไฟฟ้าคือ จำนวนสถานีชาร์จที่เพียงพอครอบคลุมทุกพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันไทยมีสถานีชาร์จสาธารณะเพียง 1,000 แห่งเท่านั้น เมื่อเทียบกับสถานีบริการน้ำมันที่มีอยู่ประมาณ 30,000 แห่ง
มาตรการส่งเสริมนี้จะช่วยให้ไทย บรรลุเป้าหมายที่จะมียอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดได้ภายในปี 2030
1
Bnomics แนะนำบทความเกี่ยวกับ EV รถไฟฟ้ารถยนต์ :
#EV #รถยนต์ไฟฟ้า #เศรษฐกิจไทย #เศรษฐกิจโลก
#Bnomics #Industry #เศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน
ผู้เขียน : ปรียา ชัชอานนท์ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
Reference :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา