31 ธ.ค. 2021 เวลา 23:39 • หนังสือ
=======================
“สัปดาห์ละบทสองบท” || วันเสาร์
=======================
🧸• อะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไป
✍🏻• ซะซะกิ ฟุมิโอะ เขียน || นพัฒน์ หัทยานันท์ แปล
🔖• บทที่ 1 - มินิมัลลิสต์มาจากไหน [ 6 ]
📝• บันทึกใจความแบบดิบ ๆ ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป พร้อม บันทึกการอ่านของ อิคิ ∙ 生き
[ อะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไป ]
===================
ที่สุดแห่งมินิมัลลิสต์คือใคร
===================
ถ้าหากจะถามว่าใครคือที่สุดแห่งการเป็นมินิมัลลิสต์
ในทัศนะของคุณซะซะกิ (ผู้เขียน) คน ๆ นั้น อาจเป็น
สตีฟ จ็อบส์ แม่ชีเทเรซา มหาตมาคานธี และไดโอจีนี
ตอนแม่ชีเทเรซาเสียชีวิต สิ่งที่เธอเหลือทิ้งไว้มีเพียง
ชุดส่าหรีเก่า ๆ เสื้อคลุม ถุงกระดาษเก่า ๆ และ
รองเท้าแตะขาด ๆ เท่านั้น
ส่วนมหาตมาคานธี ก็พร่ำสอนผู้คนเรื่อง “การไม่
ครอบครอง” ห้องของเขาไม่มีข้าวของใด ๆ เลย
แม้แต่ชิ้นเดียว
ไดโอจีนี [ นักปรัชญายุคกรีกโบราณ ] มีเพียงแค่
ผ้าผืนหนึ่งที่ใช้คลุมร่างกายและชามหนึ่งใบใช้ดื่มน้ำ
ใจความสำคัญของคุณซะซะกิ ในบทนี้คือ มันไม่มี
ประโยชน์อะไร หากจะพิสูจน์ว่าใครเป็นที่สุดแห่ง
มินิมัลลิสต์ ด้วยการดูว่าใครครอบครองสิ่งของ
น้อยที่สุด
เพราะมีคนมากมายที่ไม่ได้ต้องการครอบครอง
สิ่งใด ๆ และจริง ๆ แล้วเราทุกคนเป็นมินิมัลลิสต์มา
แต่กำเนิด เพราะเราเกิดมาโดยไม่มีสมบัติอะไร
ติดตัวมาเลยสักคน
[ อะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไป ]
==================
การทิ้งข้าวของที่ไม่จำเป็น
ชีวิตที่เรียบง่าย และ
การทำงานได้ทุกที่
==================
การลดจำนวนสิ่งของที่ไม่จำเป็นให้น้อยลงจะทำให้
เราสามารถใช้ชีวิตที่เรียบง่ายและทำงานได้อย่าง
สบายใจมากขึ้น
3 ปัจจัยที่ปลุกกระแสมินิมัล หรือ กระแสนิยมความน้อย
ในญี่ปุ่น มีดังต่อไปนี้ . .​ .
ข้อมูลและสัมภาระที่มีเยอะเกินไป
ความก้าวหน้าของการบริการและเทคโนโลยี ทำให้
ไม่จำเป็นต้องมีข้าวของหลายชิ้น
เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในญี่ปุ่น
[ อะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไป ]
=======================
ปริมาณข้อมูลที่มากเกินจะรับไหว
=======================
ปัจจุบันแค่เราเปิดโทรศัพท์ ข่าวและเหตุการณ์ต่าง ๆ
ทั่วโลกก็วิ่งเข้ามาหาเรา โซเซียลเน็ตเวิร์คและ
อินเทอร์เน็ต ทำให้เรารับข้อมูล ข่าวสารจากทั่วสารทิศ
จนมีการเปรียบเปรยว่าปัจจุบันปริมาณข้อมูลที่
คนญี่ปุ่นได้รับในแต่ละวัน เทียบได้กับปริมาณข้อมูล
ที่คนในสมัยเอโดะได้รับใน 1 ปี เลยทีเดียว
[ อะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไป ]
===========================
มนุษย์คือฮาร์ดแวร์เมื่อ 50,000 ปีก่อน
===========================
แม้โลกเราจะวิวัฒน์ไปมากเพียงไร แต่พื้นที่สมอง
และการประมวลผลของเราก็ไม่ต่างอะไรกับ
สมองมนุษย์ของคนยุค 50,000 ปีก่อนเลย
หากพูดให้เห็นภาพก็คือ ทุกวันนี้เรานำสมองที่
เปรียบเสมือนฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ที่ตกยุค
มาประมวลผลข้อมูลมากมายที่รายล้อมอยู่
รอบตัวเรา
ส่งผลให้เราต้องแบ่งหน่วยความจำที่มีจำกัด
ไปให้กับการพะวงกับสายตาคนอื่น ไล่ตามข้าวของ
และจัดการข้าวของต่าง ๆ ส่ิงนี้ส่งผลให้เรามองข้าม
หรือไม่มีเวลาที่จะประมวลผลสิ่งสำคัญของชีวิต
[ อะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไป ]
===========================
ผมเป็นคอมพิเตอร์โน้ตบุ๊กอืด ๆ ตัวหนึ่ง
===========================
การที่เราใช้สมองมากเกินกำลัง ส่งผลให้ แม้เราจะ
ต้องการทำอะไรใหม่ ๆ แต่ก็ทำได้แค่สิ่งง่าย ๆ 
ซ้ำ ๆ เดิม ๆ เท่านั้น
มีคนกล่าวว่า มนุษย์เราคิดเรื่องต่าง ๆ ประมาณ
60,000 เรื่องต่อวัน และ 95 เปอร์เซ็นต์ของความคิด
ทั้งหมดเป็นเรื่องเดียวกับที่คิดเมื่อวาน และ
80 เปอร์เซ็นต์ คือความคิดในแง่ลบ
คุณซะซะกิได้เปรียบเทียบตนเองเป็นเหมือน
โน้ตบุ๊กห่วย ๆ ที่มีแต่เรื่องงานเต็มไปหมดและ
ยังประมวลผลแต่เรื่องเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ดังนั้นด้วยศักยภาพของสมองที่มีขีดจำกัด สิ่งที่เรา
ทำได้เพื่อให้สมองของเราปลอดโปร่ง คงหนีไม่พ้น
การกำจัดเรื่องที่ไม่จำเป็นออกจากสมอง เพื่อที่จะได้
เหลือพื้นที่ให้กับเรื่องใหม่ ๆ และ เรื่องสำคัญของชีวิต
[ อิคิ ∙ 生き's Memo ]
การที่คุณซะซะกิกล่าวว่าปัจจุบันมนุษย์เรายังใช้
ฮาร์ดแวร์ [ สมอง ] แก่ ๆ มาประมวลผลในยุคที่
ข้อมูล ข่าวสารล้นโลก
สิ่งนี้ทำให้ อิคิ ∙ 生き ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไม
บางวันดูเหมือนเราไม่ได้ทำอะไรมาก แต่สมอง
และจิตใจของเรากลับเหนื่อยล้าเหลือเกิน
สืบเนื่องจากเมื่อวาน วันนี้ก็ยังเป็นวันที่ความคิด
ของ อิคิ ∙ 生き ไม่ปลอดโปร่งอยู่เลยค่ะ ซึ่ง
อิคิ ∙ 生き ก็พอจะทราบสาเหตุของมันอยู่ นั่นคือ
ความกังวลที่มีต่องานที่ไม่สามารถทำให้เสร็จตาม
เป้าหมายที่วางไว้
สมองของ อิคิ ∙ 生き เอาแต่คิดเรื่องนี้วนไปวนมา
อยู่ตลอดเวลา จนทำให้ทั้งกายและใจ ไม่ปลอดโปร่ง
โล่งเบาสบายเอาเสียเลย
แม้ใจจะไม่โล่ง แต่เช้านี้ อิคิ ∙ 生き ก็ยังคงหยิบ
หนังสือมาอ่านเช่นเคย และหนังสือที่ อิคิ ∙ 生き
อ่าน ก็คือ นวนิยายสืบสวนสอบสวนที่ชื่อว่า
“คำสารภาพ” เขียนโดย คุณมินะโตะ คะนะเอะ
เนื้อหาเช้านี้มีหนึ่งย่อหน้าที่เหมาะกับสถานการณ์
ของ อิคิ ∙ 生き มากเหลือเกิน ดังนั้น อิคิ ∙ 生き
จึงขอใช้โอกาสนี้นำมาแบ่งปันกับเพื่อน ๆ นะคะ
พี่สาวของฆาตกรกล่าวว่า . . .
“สมองของคนเรามีกลไกที่พยายามจะบันทึก
ทุกอย่างไว้ในความทรงจำ แต่หากเราเขียนมัน
ออกมาเป็นคำพูด เราก็ไม่มีความจำเป็นต้อง
จำมันอีก ทำให้เราลืมมันได้อย่างสบายใจ
เลือกเก็บเฉพาะเรื่องสนุก ๆ ไว้ในหัวก็พอ
ส่วนความทุกข์นั้น จงเขียนระบายในไดอะรี่แล้ว
ลืมมันเสีย”
เมื่ออ่านข้อความข้างต้น อิคิ ∙ 生き ไม่สงสัยเลยค่ะ
ว่าทำไมเวลาเราเขียนบรรยายความรู้สึกและ
ความกังวลใจจากสมองลงในกระดาษ จึงทำให้เรา
ตัวเบาขึ้นมาได้
ดังนั้น อิคิ ∙ 生き ขอไปเคลียร์ตัวเองอีกซักวันสองวัน
นะคะ เมื่อฟอกความคิดของตัวเองเสร็จเรียบร้อยแล้ว
จะได้กลับมาเป็นผู้ที่มีความเป็นมินิมัลทางความคิดค่ะ
สำหรับวันนี้ อิคิ ∙ 生き ขอลาไปก่อนแล้วพบกันใหม่กับ
“อะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไป” ในสัปดาห์หน้านะคะ
สุดท้ายนี้ อิคิ ∙ 生き ขอใช้โอกาสนี้ในการ
สวัสดีปีใหม่เพื่อน ๆ ทุกคน ขอให้ปี 2022 เป็นปีแห่ง
ความมินิมัลทางความคิดของพวกเราทุกคนเลยนะคะ
🎉🙏🏻😊
หมายเหตุ : หากเพื่อน ๆ ท่านในสนใจเรื่องราวจาก “อะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไป” จนอดใจรอให้ อิคิ ∙ 生き สรุปทีละสัปดาห์ไม่ไหวก็สามารถสั่งซื้อหนังสือได้ที่ Link ด้านล่างนะคะ 
https://www.naiin.com/product/detail/211204?gclid=CjwKCAiAs92MBhAXEiwAXTi259XiEeKtIc7D8sK7dCQUHpSKz1qMEkMQ0le0l3Osi4-8aeW3l0XLphoCx4UQAvD_BwE
#สัปดาห์ละบทสองบท #อะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไป

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา