Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เปิดโลกเพิ่มปัญญา
•
ติดตาม
3 ม.ค. 2022 เวลา 12:20 • สุขภาพ
ดื่มนมวัว อันตรายจริงหรือ?
ภาพโดย Couleur จาก Pixabay
นมวัว เครื่องดื่มสุดมีประโยชน์ ทั้งทำให้สูง มีโปรตีนมาก และทำให้กระดูกแข็งแรง หาซื้อได้ง่าย แต่พักหลังมานี้ เริ่มมีการแชร์ข่าว ว่าดื่มนมวัว มีอันตรายจากการที่ทำให้ร่างกายเติบโตผิดปกติ จากสารที่ไม่ได้มาจากแคลเซียมแต่มาจากสารเร่งนมในนมวัว บ้างก็ว่านมวัวมีสารเจือปนที่อันตราย
ซึ่งมีแต่ข้อเสียที่ไม่ดีทั้งนั้น และผู้ที่ปกติไม่ได้ซื้อนมดื่ม ก็อย่าเพิ่งวางใจไป เพราะในชีวิตปกติเรา ก็ทานนมวัวเข้าไปแบบไม่รู้ตัว อย่าง กาแฟ บางอย่างใส่ครีมนม ใส่นมสดเพื่อความอร่อยความมัน ขนมบางอย่าง เช่นขนมปัง คุกกี้ ก็มีส่วนผสมของนม
นับได้ว่าปกติเราก็บริโภคนมกันบ่อยอยู่แล้ว ตอนนี้ถึงเวลาที่ควรเลิกดื่มนมหรือยัง วันนี้พามาไขคำตอบกันครับ
ภาพโดย Pexels จาก Pixabay
#1 นมวัวมีสารที่ทำให้เติบโตผิดปกติ?
ภาพโดย Imo Flow จาก Pixabay
จากข้อความที่บอกต่อกันในโซเชียล
"นม ทำให้ร่างกายสูงใหญ่จริงแต่ไม่ได้เป็นเพราะแคลเซียม สิ่งที่ทำให้ร่างกายสูงใหญ่ คือ โกรทฮอร์โมนของสัตว์หรือฮอร์โมนที่เกิดจากการ กระตุ้นการเจริญเติบโตของวัว"
ในข้อความด้านบนอาจจะกล่าวถึง โบวายโกรทฮอร์โมน ที่เป็นสารที่เพิ่มการผลิตน้ำนมจากแม่วัวครับ
โบวายโกรทฮอร์โมนเป็นตัวที่ช่วยลดค่าการผลิตนม เพราะผลิตได้มากกว่านมวัวออร์แกนิค นมทั่วๆไปที่มีสารนี้อยู่ในนมวัว จะมีราคาถูกกว่ามาก
cr.เปิดโลกเพิ่มปัญญา
ซึ่งยังคงไม่มีหลักฐานแน่ชัดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่
แต่WHO ถือว่าสารเจริญเติบโตเทียม ที่มีอยู่ในนมวัวบางชนิดไม่ได้เป็นอันตราย
และถึงจะมีฮอร์โมนที่เร่งการผลิตน้ำนมในนมวัว แต่มนุษย์ก็ไม่ได้ดูดซึมสารเหล่านี้เข้าไป
1
จึงอาจจะกล่าวได้ว่า ที่นมทำให้ตัวสูงใหญ่ไม่ได้มาจากโบวายโกรทฮอร์โมนโดยตรง
แต่มาจาก ชาติพันธุ์ อาหารการกินและพันธุ์กรรมมากกว่า อย่างไรก็ตามในวัยเจริญพันธุ์ก็ควรดื่มนม
เพราะในนมวัวมีสารช่วยในเรื่องกระดูกและโปรตีนที่สูง เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต แต่ควรดื่มให้พอดีประมาณ 2 แก้วต่อวัน ทั้งนี้ก็ต้องรอผลการวิจัยต่อไป
1
#2 นมวัวมีสารอันตรายอย่าง อุจจาระ เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ตายแล้ว?
ภาพโดย Protocultura จาก Pixabay
ไม่น่าจะมีโอกาสที่จะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ตายแล้ว อยู่ในนมวัว ยิ่งอุจจาระ ยิ่งไม่มีโอกาส
แต่สิ่งเหล่านี้อาจจะไปเจือปนได้ จากสภาพแวดล้อมที่วัวอยู่หรือการจัดการฟาร์มวัวที่ไม่มีคุณภาพ
เพราะอย่างนั้น เราจึงควรเลือกดื่มนมที่มาจาก ฟาร์มที่มีมาตรฐาน และได้รับการรับรอง
#3 มนุษย์ไม่ควรดื่มนมวัว?
ภาพโดย Pezibear จาก Pixabay
จริงๆนมวัว ยังคงเป็นอาหารที่ให้โปรตีนสูง เป็นทางเลือกที่ไม่ได้มีข้อเสียมากขนาดนั้น
และยังเป็นโปรตีนราคาย่อมเยาว์ และนมวัวยังเป็นโปรตีนคุณภาพดี
ที่มีกรดอะมิโนที่เราต้องการอยู่และยังให้แคลเซียมที่มีประโยชน์ต่อกระดูก จำเป็นอย่างมากสำหรับช่วงวัยรุ่นและวัยเด็ก
#4 นมวัวทำให้กระดูกพรุน?
ภาพโดย Couleur จาก Pixabay
มีโอกาสที่จะเกิดได้ในเด็ก เกิดจากการดื่มนมที่มีฟอสเฟต มากเกินไปจนเกิดภาวะกระดูกพรุน
ซึ่งอาจจะมาจากอาหารอื่นๆเช่น อาหารที่มีโปรตีนสูง ไข่แดง เนื้อสัตว์แปรรูปจำพวก ไส้กรอก แฮม ลูกชิ้น นมผง ไอศกรีม ครีม ชีส ช็อกโกแลต และเนยแข็งทุกชนิด
ภาวะกระดูกพรุนอาจจะเกิดจากอาหารอื่นๆร่วมด้วย ไม่ใช่จากนมวัวเพียงอย่างเดียว
#5 นมพาสเจอร์ไรซ์ ไม่ดี?
ภาพโดย Pezibear จาก Pixabay
การพาสเจอร์ไรซ์ คือ การนำไปผ่านความร้อนที่ไม่เกินจุดเดือดของน้ำ (จุดเดือดของน้ำ คือ100องศา)
1
ซึ่งปัจจุบันนี้ จะใช้เวลาและอุณหภูมิแตกต่างกัน เช่น อุณหภูมิ 62.8 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 นาที หรือ 71.1 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 วินาที
การพาสเจอร์ไรซ์ เป็นการรักษานม ให้มีกลิ่นและรสของน้ำนมสดไว้ เป็นการรักษานมวัว ที่เก็บสารอาหารและคุณประโยชน์ได้เกือบทั้งหมด แต่มีข้อเสียคือเก็บไว้ไม่ได้นาน
ซึ่งนมพาสเจอร์ไรซ์ เก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำในตู้เย็นได้เพียง2-3สัปดาห์
เมื่อซื้อมาแล้วให้เก็บในตู้เย็นทันที หากดื่มไม่หมดก็ให้เก็บในตู้เย็น จะเก็บได้นานประมาณ10วัน ที่อุณหภูมิ 25องศาเซลเซียล นับจากวันที่บรรจุ
อ้างอิง
https://www.youtube.com/watch?v=TtlO0exgUYs
https://www.milkmeansmore.org/hormones-and-milk-debunking-three-common-myths/
https://www.verywellfamily.com/growth-hormones-in-milk-2633556
https://www.mixmagazine.in.th/00002471
https://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-63
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%8B%E0%B9%8C
https://www.matichonacademy.com/content/tipsandtricks/article_44309
https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/89020/-scibio-sci-
กาแฟนม
สุขภาพ
อาหารสุขภาพ
7 บันทึก
16
22
11
7
16
22
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย