Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ขบถ~ยาตรา
•
ติดตาม
5 ม.ค. 2022 เวลา 12:43 • นิยาย เรื่องสั้น
บทที่11 สังโยชน์ธรรมที่ควรละ
🌿"ท่านขอรับ ท่านบอกว่าให้เราอ่านหนังสือโดยใช้กายใจเป็นตำรา
ความคิด อารมณ์ ความระลึกได้ จำได้(สัญญา) เหล่านี้ล้วนเกิดจากจิตหรือใจ อันนี้กระผมทราบจากที่เราสนทนาเมื่อสักครู่
แต่ไม่เห็นท่านพูดถึงกายเลย" ชายหนุ่มท้วง
ลำธารผาดอกเสี้ยว
🌿
ขณะเดินทั้งคู่เดินข้ามลำธาร ของเส้นทางเดินป่าผาดอกเสี้ยว สายน้ำจากน้ำตกถูกลักไปตามทางระบายน้ำมุ่งไปยังหมู่บ้านชาวเขาปากะญอ สายน้ำเย็นเฉียบ เมื่อเขาลองวักน้ำสัมผัสดู
🌿
"..กายนะหรือ จะเรียกอีกอย่างว่ารูปก็ได้กายก็ได้
กายเองก็อยู่ในอำนาจของไตรลักษณ์เหมือนกัน มันต้องเสื่อมมั้ย มันต้องสลายมั้ย มันไม่คงทนใช่มั้ย"
คุณโยมลองไม่กระพริบตาสัก1นาทีดูนะ"
ท่านแนะ
"แสบตาขอรับ มันกระพริบเองขอรับ"ชายหนุ่มพยายามเลิกตาแต่ก็กระพริบอยู่ดี
เส้นทางลักน้ำไปหมู่บ้านปากะญอ
🌿
"..เดินมาเมื่อยไหม"
"เหนื่อยด้วย..เมื่อยขาขอรับ"
"งั้นนั่งให้คลายเมื่อย"
"คุณโยมลองนั่งนิ่งๆ ไม่ขยับดูสิ:
"นั่งท่าเดิมก็เมื่อยนี่ขอรับ"
"นั่นเห็นมั้ยร่างกายกำลังสอนอะไรเรา"
"ร่างกายมันเป็นทุกข์ มันต้องขยับ ขยับคิดว่าจะมีความสุข ก็พบมันแค่ทุกข์น้อยลง นั่งไม่เกินนาทีก็เริ่มเมื่อยต้องขยับอีก"
🌿
"ยามนอนกับยามตื่น ทำไมท่าทางไม่เหมือนตอนก่อนหลับ บางทีก็ตื่นมาพลิกตัวเองทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว มันไม่ได้อยู่ในบังคับเราได้ทั้งหมด เราไม่ใช่เจ้าของกายโดยแท้"
🌿
"คุณโยมหายใจเข้าแล้วลองไม่หายใจออกซิ
ทำได้มั้ย มันบีบคั้นเราจนต้องหายใจออก"
"วันที่เราจะหมดลมหายใจ ร่างกายมันสนเรามั้ย มันจะหยุดก็หยุด ไม่ได้อาทรเราสักนิด"
🌿
"ยามหิวก็บีบคั้นเราให้กิน ไม่มีกินก็ไปหากิน
หากินได้ก็ไม่พอ มันก็หิวอีก
เพราะใจมันกลัวแรงบีบคั้นนั้น ก็วิ่งไปหา วิ่งสะสม สะสมอาหารไม่ได้ ก็หาเงิน หาเงินกลัวไม่พอก็หาวิธีที่จะได้มากๆ เมื่อได้มากๆก็สรรหาของมาบำรุง อันไหนไม่ถูกใจก็เกรี้ยวกราด หงุดหงิด อันไหนถูกใจ ก็แต่งเติม พยามทำทุกอย่างให้มันไม่เสื่อม แต่มันก็เสื่อม"
🌿
เส้นทางไปหมู่บ้านปากะญอ
🌿
"ตอนเป็นเด็กอาจจะไม่เห็นอะไร พอแก่เท่านั้น พวกนี้ก็เห็นง่าย เห็นความแปรปรวนของกายนี่ง่ายมาก เราเห็นเข้าไปตรงๆ.."
"..แต่ใจมันไม่มีที่ตั้ง หาเป็นกัปก็ไม่เจอ ทำได้เพียงเห็นสิ่งมี่เกี่ยวเนื่องกับจิตหรือใจเท่านั้น ความคิด อารมณ์ การปรุงแต่ง สุข ทุกข์ พอใจไม่พอใจ หรือภาษาพระท่านเรียก"เจตสิก" ที่เราพูดกันเมื่อนานมาแล้ว"
https://www.blockdit.com/posts/5e2bef48d195460cb1ab7887
ท่านอธิบายยาว ทบทวนความทรงจำของชายหนุ่ม แล้วกล่าวต่อไปว่า
"..เราจะเห็นอะไรก่อนก็ได้ไม่ว่ากายหรือใจ ดูกายก็ดูตรงๆ ดูจิตดูใจก็ดูจากเจตสิก🌿
แต่ถ้าคนใหม่ๆที่ดูอะไรไม่เป็น บางทีหัดให้ดูกาย ดูกายทั้งหมดไม่ได้ ก็ดูกายในกาย เช่น
" เล็บเป็นส่วนหนึ่งในกายวันนี้ตัด พรุ่งนี้ก็ยาว ล้างอย่างดีเดี๋ยวมันก็มีขี้เล็บ ไว้ยาวก็ต้องบำรุงขัดแต่ง เดี๋ยวหักเดี๋ยวงอ ดูการเปลี่ยนแปลงมันไป ดูไปเล่นๆทุกวันๆ บางทีเล็บหักนี่กระเทือนใจ ใจเศร้าใจหมอง
เห็นมั้ยดูกายกระเทือนถึงใจ แต่งเล็บมาสวยความพอใจก็เกิด บ่ายมาขี้เล็บมีแล้ว ก็ต้องมาบำรุงรักษา .."
"ยิ่งหวงอันไหนนะก็ดูอันนั้น หวงหน้าก็ดูหน้า ดูสิว ดูฝ้า ก็เห็นความเสื่อม แล้วมาเห็นใจ ดูใจไม่เป็นก็มาดูกาย เดี๋ยวก็ดูจิตดูใจเป็น พอทำเป็นมันก็ไม่ต้องดูเฉพาะเล็บแล้ว มันดูได้หมดไม่เลือกว่าเป็นอะไร ย้อนเข้าใจได้หมด ดูทั้งโลกก็กระเทือนถึงใจ
..
ง่ายมั้ย...." ท่านถาม 🌿
"ง่ายขอรับ แต่ส่วนใหญ่จะลืม..🌿
"มันมีอะไรอย่างอื่นน่าสนใจกว่า" ชายหนุ่มยิ้มแหยๆ
"ใช่แล้ว มันเป็นธรรมดา เรากลัวเห็นความจริง กลัวว่าเราจะไม่มีที่พึ่งที่อาศัย แต่ถ้าเราไม่เตรียมตัววันนี้จะไปเตรียมตอนใกล้ตายเห็นทีจะไม่ทัน จะตกอกตกใจเสียขวัญหวาดกลัว อารมณ์แบบนั้นตายไปไม่พ้นอบาย ตายด้วยความเศร้าหมอง นรกแน่ๆ.."🌿
เส้นทางไปหมู่บ้านปากะญอ
🌿
"บางทีเขากลัว ถ้ามาทำแบบนี้ เขาก็ติดความสวยงาม เสียดายความสุขที่เขาจะต้องสละ
ไม่อยากปลง ยังอยากสนุกกับโลกอยู่ เขาเลยเลี่ยงจะสนใจ และมองว่าศาสนานี้สอนมองโลกในแง่ลบ ทั้งที่โลกออกจะสวยงาม" ชายหนุ่มท้วง
"เอ้า...จริงๆ ..ไม่ต้องให้สละกันมาบวชสักหน่อย หรือทิ้งขว้างสิ่งที่มีเข้าพงเข้าป่า มานั่งหลับตากัน หรือทิ้งลูกทื้งเมียทิ้งผัว ทิ้งทรัพย์สมบัติที่หามาได้อย่างยากเย็น" พระชราท้วงกลับ แล้วกล่าวต่อไปว่า
"..สมัยพุทธกาล คนที่พ้นทุกข์ ก็ชาวบ้านธรรมดาๆมีเห็นออกดาษดื่น เศรษฐีที่ร่ำรวยแต่เป็นพระอริยะขั้นต้นก็มี เช่นนางวิสาขา หรืออนาถบิณฑิกเศรษฐี ก็ไม่จำเป็นต้องออกบวช เพราะเขาเหล่านั้นขวนขวายในเหตุ แต่สันโดษในผล ตั้งหน้าทำมาหากินแต่ไม่ได้ยึดถือกับทรัพย์ที่หามาได้ ก็ดูกายดูใจไป เว้นแต่หมดสิ้นกิเลสแล้วไม่มีกิจใดต้องทำ การบวชจะรองรับได้ดีที่สุด ถึงตอนนั้นยังจะมีหวงอยู่หรือ.."พระชรายกตัวอย่างให้ฟัง
🌿
"..นั่นแหละขอรับ สิ่งที่เขากลัว กลัวก้าวไปสู่ความไม่มีอะไร แล้วเขาจะอยู่ยังไง เขาจินตนาการไม่ออก...ชายหนุ่มแย้งต่อ
ดอกบัวตอง
🌿
"..อิยะเอย...
หากดูกายดูใจเป็น เราก็อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข ทันทีที่เรารู้สึกตัวเราก็พรากจากความทุกข์เป็นขณะๆไป ดีกว่าจมกองทุกข์แล้วหาทางออกไม่ได้"
".. มีคนมาตำหนิเรา เราไม่พอใจ เราเห็นบางสิ่งบางอย่างที่มันผุดขึ้นมาในใจ บีบคั้น ทันทีที่เห็นมันก็ค่อยๆเสื่อมถอย และหายไป ความร่มเย็นเป็นสุขก็เข้ามาแทนที่ในขณะนั้นทีเดียว เพราะเรารู้ว่ามีเหตุมากระทบเราก็กระเทือนเป็นธรรมดา มันไม่ใช่เรา เราบังคับไม่ได้ เพราะหน้าที่ของใจ ด้วยอำนาจของการเห็นความเป็นจริง ถ้าเราเห็นอย่างนี้ เราจะไปโกรธใครเขาได้ เราจะมีแรงเอามีดไปฟันเขาอยู่ฤา.."🌿
"..เวลาใกล้ตาย เราเห็นร่างกายมันถูกบีบคั้น แต่ใจก็ไม่ถูกบีบคั้นไปด้วย เราก็ไปอย่างไม่ทุรนทุรายเพราะกระแสแห่งความเข้าใจกายใจตามความเป็นจริง"
"..แต่หากไม่สนใจก็เป็นการเรียนรู้ของเขาเหล่านั้น ธรรมชาติมีความเด็ดขาดที่จะโยนแรงบีบคั้นให้เราเสมอ ไม่ว่าใครหน้าไหน ยศถาบรรดาศักดิ์ใหญ่โต มั่งมียากจน เด็กผู้ใหญ่ ทุกข์เสมอเหมือนกันหมด"
".. สุขวันนี้พรุ่งนี้จะเกิดเรื่องราวที่เราจะรับได้มั้ย ก็ไม่รู้อีก ต่างจากที่เราค่อยๆเรียนรู้ที่ยอมรับมันเห็นความจริงของกายใจ อันนี้ทำได้สัมผัสได้เตรียมพร้อมได้ ความร่มเย็นเป็นสุขเกิดขึ้นทันที..."🌿
"เทียบกับการร้องขออ้อนวอนจากรูปปั้น ผีสางเทวดาเจ้าพ่อเจ้าแม่ สิ่งที่มองไม่เห็น ท้ายสุดเวลาใกล้ตายเราก็ต้องตายคนเดียวไม่มีที่พึ่งที่อาศัย อันนี้มันน่าเคว้งกว่าหนา
ยิ่งร้ายไปยึดเอาปูนปั้น เจ้าแม่เจ้าพ่อ รูปเหรียญเครื่องราง ตายไปก็เป็นผีเฝ้าพวกนี้ ด้วยอำนาจเเห่งการยึดมั่นคิดว่าเป็นที่พึ่งที่อาศัยอย่างเหนียวแน่น จะสุขอยู่รึ นานวันมันก็แตกสลายเป็นธุรีกลับคืนสู่ธรรมชาติ ผีเจ้าจะไปอยู่ไหน น่ากลัวอยู่ดอกหนา แทนที่จะไปสู่ภพภูมิที่ดีงามตามบุญที่เคยทำมา"
🌿
หมู่บ้านปากะญอ
🌿
"..บางทีเขาก็อยากจ้ำจี้อยู่นะขอรับ
อยู่ๆต้องมางดเลย เขาก็รับไม่ได้.."
ชายหนุ่มนึกยั่วพระชราให้จนมุม
"..เราก็ไม่เห็นมีข้อไหนที่พระพุทธเจ้า บอกว่าให้เลิกจ้ำจี้ ยกเว้นคนนั้นเขาตั้งใจมาบวช
เพื่อเรียนรู้กายใจอย่างจริงจัง.."
1
2
"..คุณโยมรู้จักสังโยชน์ไหมเล่า.."
"..ขอรับ
ท่านเคยบอกว่าสังโยชน์เป็นตัววัด
ว่าเรา " ละ " อะไรได้บ้าง มี10ข้อไล่กันไป.."
"..ถ้าละข้อ1-3เป็นคุณสมบัติของพระอริยะขั้นต้น หมายไปว่าเราจะไม่อบาย ไม่ตกต่ำ ไม่เกิดในนรก หรือเป็นสัตว์เดียรฉานแน่นอน.."
"..แล้วเรื่องกาม รู้สึกจะเป็นข้อที่4 ขอรับ ที่จะละของพระอริยะขั้นกลางกระทำเพื่อพ้นทุกข์อย่างแท้จริงเป็นลำดับไป.." ชายหนุ่มสาธยาย
เขานึกถึง สังโยชน์10ในพระไตรปิฎก..
https://www.blockdit.com/posts/5e27f78d775ab51b6b0f24fa
🌿
"..เป็นชาวพุทธต้องศึกษา และต้องรู้เป้าหมายของการศึกษา ลำพังจะให้ทานทำบุญ ศาสนาใดก็สอน แต่ศาสนานี้ต้องเรียนอย่างมีเป้าหมาย
สำหรับคนที่จะเรียนเพื่อพ้นทุกข์ สังโยชน์สามข้อแรกต้องละได้ก่อน.."
"แล้วสามข้อแรกได้บอกให้เลิกจ้ำจี้มั้ย"
พระชราถามย้ำ🌿
"..1. สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มีความยึดมั่นถือมั่นกายนี้ใจนี้เป็นเราตัวเรา🌿
2. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีจริงหรือมั่วนิ่ม🌿
3. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย🌿
4. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณ
5. ปฏิฆะ - มีความกระทบกระทั่งในใจ
6. รูปราคะ - มีความติดใจในรูปฌาน
7. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย
8. มานะ - มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือคุณสมบัติของตน
9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน
10. อวิชชา – มีความไม่รู้จริง
ชายหนุ่มนึกทบทวน🌿
🌿
"..เราส่วนใหญ่พอนึกถึงการปฏิบัติก็สวมวิญญาณ "พระ" วิญญาณ "ชี" เข้าสิง ผัวแตะต้องไม่ได้เมียจะนอนด้วยก็ไม่ได้
มันเลยเพี้ยน เพราะวางใจไม่ถูก.."
"..สมัยก่อนถ้ารู้ว่าละ3ข้อได้พ้นอบายแน่ เขาก็มุ่งทำ3ข้อ แต่ถ้ายังละไม่ได้แต่อยู่บนทางก็มีความสุขตามอัตภาพดีกว่าคนทั่วไปที่ไม่รู้เลยมากนักหนา
สามข้อที่เขาทำทั้งหมดเป็นเรื่องการปรับทิฐิให้ตรง ทิฐิคือความคิดความเห็น ไม่ใช่คำที่ชาวโลกใช้กัน " เจ้าทิฐิ " อันนี้ไม่ใช่นะ
เราต้องปรับความคิดความเห็นให้ตรงตามความเป็นจริง ถ้าเราดูกายดูใจเราก็จะเห็นความเป็นจริง ของกายใจว่าไม่ใช่เรา โดยใช้เครื่องมือคือสติสัมปะชัญญะ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
เหมือนเราง้างธนูยิงตรงเป้าสังโยชน์3ข้อแรกเป๊ะเลย..🌿
แล้วถ้าเราเห็นความเป็นจริงอย่างนั้น เราจะไปฆ่าใครเขาอยู่ฤา เราจะลักเล็กขโมยน้อยอยู่ฤา เราจะไปโกหกมดเท็จอันหาประโยชน์ไม่ได้อยู่ฤา เราจะไปเอาเมียคนอื่นอยู่ฤา เราจะเมาหยำเปอยู่ฤา"
"นั่นมันศีล5นี่ขอรับ" ชายหนุ่มนึกทวนตามคำกล่าวของพระชรา
🔅" นั่นเห็นมั้ย ...ศีลเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องรักษา มันจะดีกว่าเราไปรักษาศีลมั้ยคุณโยม อันหนึ่งเกิดเอง กับอันหนึ่งต้องไปถือต้องบังคับ ต้องรักษา อันไหนมันจะสบายกว่า คุณโยมตรองให้จงหนัก"🔅
🌿
"..แล้วเราจะสงสัยจะลังเลในพระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์อยู่ฤา จากการที่เราทำเราเห็น
คำที่เขาเล่ามากับสิ่งที่เราทำเอง คุณโยมจะเชื่อแน่นแฟ้นกับอย่างไหน
ถ้าเราทำด้วยตัวเอง ผลเกิดด้วยตัวเอง ต่อให้พระราชา เจ้าอสูร หรือใครบอกว่าให้เปลี่ยนใจซะ ไม่งั้นจะตัดคอให้สิ้น เราจะยอมเปลี่ยนใจอยู่รึ ในเมื่อมันแน่แก่ใจขนาดนั้น ความลังเลสงสัยมันขาดสะบั้น สังโยชน์3ก็ละหมด เราไม่ไปอบายแน่ เนี่ยถึงขั้นนี้เขาเรียกว่ามีพ่อมีแม่มีที่พึ่งอาศัยไม่ตกต่ำอีกต่อไป.."
"..แต่ถ้าไม่รู้ตัวว่าทำอะไรอยู่ ไม่เรียนรู้ก็สเปะสปะ เขาว่าอะไรก็ล่องลอยไปตามเขา หาหลักไม่ได้ จะกล้าเรียกตัวเองว่าชาวพุทธ อยู่ฤา
พุทธะคือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน" ใช่ไหมคุณโยม
🌿
ใครใคร่จะดำเนินต่อจนถึงที่สุดแห่งการพ้นทุกข์ทำแบบนี้ทำแบบเดิมนี่แหละ ดูกายดูใจไป กิเลสเกิดส่วนใหนก่อนก็ดูอันนั้น เหมือนที่ในหลวงรัชกาลที่เก้าถามหลวงปู่ดุลย์พระอริยสงฆ์แห่งอีสานใต้ว่า...
:หลวงปู่ การละกิเลสนั้น ควรละกิเลสอะไรก่อน
หลวงปู่ตอบว่า:กิเลสทั้งหมดเกิดรวมอยู่ที่จิต ให้เพ่งมองดูที่จิตอันไหนเกิดก่อน ให้ละอันนั้นก่อน
1
คำตอบสั้นๆนะแต่กระเทือนใจ ทันทีที่รู้สึกตัว
มันละอัตโนมัติ กิเลสดับขณะนั้นทันที ความร่มเย็นเป็นสุขก็โชยขึ้นมาเบาๆ
คนถามนี่ถ้าปฏิบัติไม่ถึงขั้น ถามคำถามนี้ไม่ได้แน่ ถ้าภูมิจิตไม่ละเอียด ฟังคำตอบจะไม่เข้าใจเพราะเป็นธรรมที่ลึกซึ้งกว้างขวาง .."
หลวงปู่ดุลย์ ในหลวงรัชกาลที่เก้า
🌿
สุดท้ายนะมันจะละเอียดเรื่อยๆ ละได้เรื่อย กามทั้งหลายมันก็ค่อยๆเข้าใจด้วยการเรียนรู้ จนมันไม่เห็นประโยชน์ด้วยใจที่เห็นจริง สิ่งเหล่านี้ก็ทำแบบเดิมเรียนรู้กายใจแบบเดิมซ้ำๆ" พระชราสาธยายยาว
"..แต่คนเราไม่ค่อยทนเรื่องทำซ้ำ..: ชายหนุ่มกล่าว
"หัดจักรยานครั้งแรกก็เหนื่อย
มันล้มลุกคลุกคลาน
แต่พอเป็นมันก็ง่าย
ใช้ประโยชน์พาเราไปไหนก็ได้
เขาจะทิ้งจักรยานไปเดินมั้ยเล่า
...ตรองดูหนา🌿..."
ท่านตอบ พร้อมรอยยิ้มเปี่ยมด้วยเมตตา
🔅~
🔅~
🔅~
เรื่อง..หน่อพระโพธิสัตว์เจ้า
ขบถ~ยาตรา:เล่าเรื่อง
แรงบันดาลใจ: ผาดอกเสี้ยวดอย อินทนนท์
ความเดิม
https://www.blockdit.com/series/5fb9cf84ca946f0cd55f52dd
1 บันทึก
13
28
12
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
หน่อพระโพธิสัตว์เจ้า
1
13
28
12
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย