9 ม.ค. 2022 เวลา 05:34 • สุขภาพ
เชื้อ 'Deltacron' เมื่อ Delta ผนึกกำลัง Omicron ครั้งแรกของโลก
20
หรือนี่จะคือไวรัสหายนะในอนาคต?
22
สำนักข่าว Bloomberg รายงานการค้นพบของเลลอนดิออส คอสตริกิส (Leondios Kostrikis) ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยไซปรัสและหัวหน้าห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพและไวรัสโมเลกุล
17
ศาสตราจารย์คอสตริกิสกล่าวว่า สายพันธุ์ของ Covid-19 ที่รวมเดลต้า (Delta ) และโอไมครอน (Omicron) ที่ผสมเข้าด้วยกันถูกพบในไซปรัส โดยกล่าวกับ Sigma TV Friday ว่าการค้นพบนี้มีชื่อว่า "เดลตาครอน" (Deltacron) เนื่องจากมีการระบุลายเซ็นทางพันธุกรรมเหมือนโอมิครอนภายในจีโนมเดลต้า
4
Bloomberg และ ASTRA สื่อในไซปรัส รายงานว่าศาสตราจารย์คอสตริกิสและทีมของเขาได้ระบุกรณีดังกล่าว 25 กรณีและการวิเคราะห์ทางสถิติแสดงให้เห็นว่าเชื้อ 2 ตัวที่รวมพลังกันนั้นพบมากในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
7
ทั้งนี้ ลำดับทางทางพันธุกรรมของเคส "เดลตาครอน" ทั้ง 25 เคสถูกส่งไปยัง GISAID ฐานข้อมูลระหว่างประเทศที่ติดตามการเปลี่ยนแปลงของไวรัสเมื่อวันที่ 7 มกราคม และยังต้องติดตามต่อไปว่าเชื้อนี้จะมีความร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรงแค่ไหน
ทีมนักวิจัยของคอนทริคิสพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่นี้ 25 ราย และจากสถิติก็พบว่า มีผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล 14 ราย ซึ่งมากกว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อสายพันธุ์เดียวกันแต่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาลที่มีจำนวน 11 ราย
4
อย่างไรก็ดี โทมัส พีค็อก นักไวรัสวิทยาจากมหาวิทยาลัยอิมพีเรียลคอลเลจลอนดอนในอังกฤษ ก็ได้แสดงความเห็นบนทวิตเตอร์ว่า มีความเป็นไปได้สูงที่สายพันธุ์ผสมที่ว่านี้จะเป็นการปนเปื้อนในห้องทดลองเสียมากกว่า จึงอาจทำให้ดูเหมือนว่าไวรัสเข้ามาผสมกันจริงๆ
ถึงอย่างนั้น แม้เขาเชื่อว่ากรณีนี้น่าจะเป็นการปนเปื้อนอย่างแน่นอน แต่พีค็อกก็บอกด้วยว่า เรายังคงต้องจับตาสายพันธุ์ลูกผสมที่จะเกิดใหม่ในอนาคตต่อไป ซึ่งเป็นไปได้สูงที่จะมีการค้นพบในอนาคตจริงๆ
สำหรับสายพันธุ์ ‘Deltacron’ ที่พบในไซปรัสนี้ แม้แต่คอสทริคิสก็ยังมีความเห็นว่า ตอนนี้ยังไม่น่ากังวล เพราะน่าจะถูกกลืนโดยโอไมครอนที่กำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในที่สุด
4
‘เดลต้าครอน’ น่าจะเป็นการ ‘ปนเปื้อน’ ในแล็บ มากกว่าสายพันธ์ใหม่ลูกผสม
10
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
"Deltacron"สายพันธุ์ลูกผสม หรือการปนเปื้อนในห้องปฏิบัติการ
มีผู้สอบถามเข้ามาที่ศูนย์จีโนม รพ. รามาธิบดี มากมายว่าเกิดสายพันธุ์ลูกผสม “Deltacron” ขึ้นที่ไซปรัสแล้วใช่หรือไม่ คำตอบคือ น่าจะไม่ใช่ครับ
เพราะ Dr. Tom Peacock ผู้เชี่ยวชาญการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสระดับโลกชาวอังกฤษ รีบทวิตแจ้งว่าจากการพิจารณารหัสพันธุกรรม มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดจากการปนเปื้อนระหว่างสารพันธุกรรมของ "โอมิครอน" และ "เดลตา" ในห้องปฏิบัติการ เวลาถอดรหัสพันธุกรรมจึงมีรหัสปนกันออกมาเสมือนเกิดเป็นสายพันธุ์ลูกผสม
และจากการนำเอาข้อมูลรหัสพันธุกรรมมาสร้างเป็นแผนภูมิวิวัฒนาการ Phylogenetic tree พบว่าตัวอย่างทั้ง 25 รายไม่ได้มาจากคลัสเตอร์เดียวกัน ซึ่งแปลก เพราะหากเป็นสายพันธุ์ลูกผสมเพิ่งเกิดใหม่ ยังไม่ระบาดเป็นวงกว้าง ควรจะอยู่ในคลัสเตอร์เดียวกัน
Tom Peacock on Twitter: "Small update: the Cypriot 'Deltacron' sequences reported by several large media outlets look to be quite clearly contamination - they do not cluster on a phylogenetic tree and have a whole Artic primer sequencing amplicon of Omicron in an otherwise Delta backbone.
คำถามที่ถามตามมาคือ หากมีสายพันธุ์ลูกผสมเกิดขึ้นมาจริงๆ ทางศูนย์จีโนมฯจะตรวจพบหรือไม่ คำตอบคือน่าจะตรวจพบครับ เพราะขณะนี้เราถอดรหัสพันธุกรรมด้วยเทคโนโลยีสายยาว (long-read sequencing) ประมาณ 1,000-2,000 ตำแหน่งต่อสาย ดังนั้นหากพบรหัสพันธุ์กรรมของ "เดลตา" และ "โอมิครอน" ปนกันอยู่ในสายเดียวกัน ก็แสดงว่าน่าจะเป็นสายพันธุ์ลูกผสม
ประกาศของเชื้อกลายพันธ์ุใหม่มาเพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่พบ coronavirus ใหม่ที่เรียกว่า IHU ถูกค้นพบในฝรั่งเศส ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า IHU ดูเหมือนจะยังไม่ค่อยน่ากังวลเท่าไหร่นัก
6
อ้างอิงจาก
2

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา