10 ม.ค. 2022 เวลา 04:18 • ปรัชญา
“สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับ กรรม”
1. รายละเอียดที่บุคคลควรทราบเกี่ยวกับเรื่องกรรม ได้แก่
🍂กรรม เจตนาเป็นกรรม
เมื่อบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
🍂นิทานสัมภวะแห่งกรรม (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) คือ ผัสสะ
🍂เวมัตตตาแห่งกรรม (ความมีประมาณต่าง ๆ)
กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในนรก/กำเนิดเดรัจฉาน/เปรตวิสัย/มนุษย์โลก/เทวโลก มีอยู่
🍂วิบากแห่งกรรม (ผลแห่งการกระทำ)
- วิบากในทิฏธรรม (คือทันควัน)
- วิบากในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา)
- วิบากในอปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก)
🍂กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม)
ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ
🍂กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม)
คือ อริยมรรคมีองค์แปด
2. ว่าด้วยเหตุเกิดของกรรม ๓ อย่าง
ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ
กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโลภะ/โทสะ/โมหะ
เกิดจากโลภะ/โทสะ/โมหะ
มีโลภะ/โทสะ/โมหะ เป็นเหตุ
มีโลภะ/โทสะ/โมหะ เป็นสมุทัยอันใด
กรรมอันนั้นย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย
อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพของบุคคลนั้น
กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด
เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้นในอัตตภาพนั้นเอง
ไม่ว่าจะเป็นไปอย่างในทิฏฐธรรม
หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ
หรือว่า เป็นไปอย่างในอปรปริยายะ ก็ตาม
3. ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งกรรม ๓ อย่าง (อีกนัยยะ) คือ
ความพอใจ เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต ๑
“——“ ที่เป็นอนาคต ๑
“——“ ที่เป็นปัจจุบัน ๑
เป็นอย่างไร ?
คือ บุคคลตรึกตรองไปถึงธรรม อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะ
ที่ล่วงไปแล้ว(อดีต)/ ที่ยังไม่มาถึง(อนาคต)/ ที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า(ปัจจุบัน)
เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจก็เกิดขึ้น
ผู้เกิดความพอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้นผูกไว้แล้ว
ท่านกล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็นสังโยชน์
เหตุ ๓ ประการ อีกอย่างหนึ่ง คือ
ความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต ๑
“——“ ที่เป็นอนาคต ๑
“——“ ที่เป็นปัจจุบัน ๑
เป็นอย่างไร ?
คือ บุคคลรู้ชัดซึ่งวิบาก อันยืดยาวของธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะ
ที่ล่วงไปแล้ว(อดีต)/ ที่ยังไม่มาถึง(อนาคต)/ ที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า(ปัจจุบัน)
ครั้นรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวแล้ว กลับใจเสียจากเรื่องนั้น
ครั้นกลับใจได้แล้ว คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา
4. สิ่งที่ไม่ควรคิด คือ
๑ พุทธวิสัยแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
๒ ฌานวิสัยแห่งผู้ได้ฌาน
๓ วิบากแห่งกรรม
๔ โลกจินดา
เป็นอจินไตยไม่ควรคิด
ผู้ที่คิด ก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า
.
ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวซึ่งเจตนา ว่าเป็นกรรม
ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุเกิดของกรรมทั้งหลาย ย่อมมี เพราะความเกิดของผัสสะ
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับแห่งกรรม ย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ
ภิกษุทั้งหลาย ! มรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา
- บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๖๔/๓๓๔.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา