11 ม.ค. 2022 เวลา 05:21 • ปรัชญา
“ประเภทของกรรม”
🌿 แบ่งตามการกระทําและผลที่ได้รับ
กรรม ๔ อย่างเหล่านี้
ที่ท่านกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้รู้ทั่วกัน ได้แก่
1. กรรมดํา มีวิบากดํา
2. กรรมขาว มีวิบากขาว
3. กรรมทั้งดําทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว
4. กรรมไม่ดําไม่ขาว มีวิบากไม่ดําไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม
🍂กรรมดำ มีวิบากดำ เป็นอย่างไร ?
บุคคลบางคนในกรณีนี้
ย่อมทำความปรุงแต่งทางกาย อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
“—— ทางวาจา ——“
“—— ทางใจ ——”
ครั้นเขาทำความปรุงแต่ง(ทั้งสาม)ดังนี้แล้ว
ย่อมเข้าถึงโลกอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
ผัสสะทั้งหลายที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
ย่อมถูกต้องเขาซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลก อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
เขาอันผัสสะที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว
ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน ‘อันเป็นทุกข์โดยส่วนเดียว’
ดังเช่นพวกสัตว์นรก
🍂กรรมขาว มีวิบากขาว เป็นอย่างไร ?
บุคคลบางคนในกรณีนี้
ย่อมทำความปรุงแต่งทางกาย อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
“—— ทางวาจา ——“
“—— ทางใจ ——”
ครั้นเขาทำความปรุงแต่ง(ทั้งสาม)ดังนี้แล้ว
ย่อมเข้าถึงโลกอัน’ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน’
ผัสสะทั้งหลาย ที่” —— “
ย่อมถูกต้องเขาซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลก อัน “——“
เขาอันผัสสะที่ “——“ ถูกต้องแล้ว
ย่อมเสวยเวทนาที่ “——“ ‘อันเป็นสุขโดยส่วนเดียว’
ดังเช่นพวกเทพสุภกิณหา
🍂กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว เป็นอย่างไร ?
บุคคลบางคนในกรณีนี้
ย่อมทำความปรุงแต่งทางกาย อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง
“ —— ทางวาจา ——“
“ —— ทางใจ ——”
ครั้นเขาทำความปรุงแต่ง(ทั้งสาม)ดังนี้แล้ว
ย่อมเข้าถึงโลกอัน’เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง’
ผัสสะทั้งหลาย ที่“—— “
ย่อมถูกต้องเขาซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลก อัน “——“
เขาอันผัสสะที่ “ ——“ ถูกต้องแล้ว
ย่อมเสวยเวทนาที่ “ ——“ ‘อันเป็นเวทนาที่เป็นสุขและทุกข์เจือกัน’
ดังเช่นพวกมนุษย์ พวกเทพบางพวก พวกวินิบาตบางพวก
🍂กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม เป็นอย่างไร ?
คือ อริยมรรคมีองค์แปด
 
🌿 กรรมเก่า กรรมใหม่ กัมมนิโรธ กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างไร ?
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
อันเราท่านฯ พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
อันปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้
นี้เรียกว่า กรรมเก่า
ข้อที่บุคคลกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในกาลบัดนี้ อันใด
อันนี้เรียกว่า กรรมใหม่
ข้อที่บุคคลถูกต้องวิมุตติเพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันใด
อันนี้เรียกว่า กัมมนิโรธ
อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) เรียกว่า กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา
🌿 กายนี้คือกรรมเก่า อันเป็นไปตามกระแสปฏิจจสมุปบาทภายใต้กฏอิทัปปัจจยตา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา