Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Health Me Now
•
ติดตาม
12 ม.ค. 2022 เวลา 02:47 • สุขภาพ
🔴 พบเด็กติดโควิด-19 แล้วมีอาการคล้าย "โรคครู้ป"
20
โรคครู้ป คืออะไรมาทำความรู้จักกัน
22
ครู้ป คือ การอักเสบของเยื่อบุผิวของทางเดินหายใจตั้งแต่กล่องเสียงลงไปที่ท่อลม และหลอดลม ทำให้มีอาการไอเสียงก้อง และเกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนต้น มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง และหายได้เอง บางครั้งเรียก "คอตีบเทียม"
46
พบบ่อยในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 3 ปี (สูงสุดในช่วงอายุ 1-2 ปี) พบน้อยในเด็กอายุเกิน 6 ปี แต่บางครั้งก็อาจพบในเด็กโต (จนถึง 12-15 ปี) ก็ได้ พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2 เท่า
6
2
สาเหตุ ครู้ป
เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งมีอยู่หลายชนิด ที่พบได้บ่อยสุดได้แก่ ไวรัสพาราอินฟลูเอนชา (Parainfluenza) นอกจากนี้อาจเกิดจากไวรัสอะดีโน (adenovirus) อาร์เอสวี (respiratory syncytial virus/RSV) ไวรัสหัด เป็นต้น
14
ส่วนไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (influenza A) มักทำให้เกิดอาการที่รุนแรง และพบบ่อยในเด็กอายุ 3-7 ปี โรคนี้ติดต่อผ่านทางเดินหายใจแบบเดียวกับไข้หวัด
19
อาการ ครู้ป
2
แรกเริ่มมีอาการแบบไข้หวัด คือ มีไข้ เจ็บคอเล็กน้อย น้ำมูกไหล ไอ 1-2 วันต่อมาจะมีอาการเสียงแหบและไอเสียงก้อง และอาจได้ยินเสียงฮื้อ (Stridor) ตอนหายใจเข้า มักเกิดตามหลังอาการไอ เด็กบางรายอาจมีอาการหายใจลำบากร่วมด้วย ซึ่งมากน้อยขึ้นกับความรุนแรงของโรค อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นฉับพลันทันทีและจะเป็นมากในช่วงเวลากลางคืน (ตั้งแต่ 6 โมงเย็นถึง 6โมงเช้า) บางรายเป็นมากจนทำให้สะดุ้งตื่น อาการจะทุเลาในช่วงกลางวัน
55
เด็กส่วนใหญ่อาการมักจะไม่รุนแรง และหายได้เองภายใน 3-7 วัน (บางรายอาจนานถึง 2 สัปดาห์)
9
อ่านเพิ่มเติม
healthmenowth.com
ครู้ป: Health Me Now
ครู้ป (คอตีบเทียม ก็เรียก) คือ การอักเสบของเย…
ข้อแนะนำ ครู้ป
1.
ผู้ป่วยที่มีอาการหายใจหอบและมีเสียงฮื้ด (Stridor) ซึ่งแสดงว่ามีภาวะอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนต้น นอกจากโรคนี้แล้ว ยังอาจเกิดจากคอตีบ สำลักสิ่งแปลกปลอม กล่องเสียงบวมจากการแพ้ สปาสโมดิกครู้ป ฝากกล่องเสียงอักเสบเฉียบพลัน
2.
เด็กที่เคยเป็นโรคครู้ปชนิดรุนแรง บางรายอาจกลายเป็นโรคภูมิแพ้หรือโรคหืดเมื่อโตขึ้น
3.
ปฏิบัติเช่นเดียวกับการป้องกันไข้หวัด ที่สำคัญคือ อย่าสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย และหมั่นล้างมือด้วยน้ำกับสบู่
การรักษา ครู้ป
1. ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อย คือ มีไข้ ไอเสียงก้องมีเสียงอื้ดเป็นบางครั้งเฉพาะเวลาร้องไห้หรือเคลื่อนไหวร่างกาย โดยที่เด็กยังรู้สึกร่าเริง กินได้ ไม่อาเจียน ก็ให้การรักษาตามอาการ (เช่น ให้ยาลดไข้ - พาราเซตามอล) ให้เด็กดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ให้ความชื้นโดยการวางอ่างน้ำไว้ข้างตัวเด็ก
ขณะมีอาการกำเริบให้เด็กสูดไอน้ำอุ่น เช่น เป็นน้ำอุ่นจากก๊อกน้ำในห้องน้ำขณะปิดประตูห้องน้ำ แล้วนำเด็กเข้าไปอยู่ในนั้น นานอย่างน้อย 10 นาที หรือใช้ผ้าขนหนูจุ่มน้ำอุ่นให้หมาด ๆ แล้วนำมาจ่อใกล้ปากและจมูกเด็ก สังเกตอาการอย่างใกล้ชิดทุกวัน ส่วนใหญ่มักจะหายไต้ภายใน 3-7 วัน
2. ถ้ามีอาการเสียงฮื้ดขณะพักอยู่นิ่ง ๆ หายใจลำบาก ซี่โครงและลิ้นปี่บุ๋ม ปากเขียว เล็บเขียว กลืนลำบาก กินไม่ได้ มีภาวะขาดน้ำ กระสับกระส่ายหรือซึม ควรส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว มักจะวินิจฉัยจากอาการเป็นหลัก บางครั้งอาจต้องตรวจพิเศษ เช่น เอกซเรย์ ใช้กล้องส่องตรวจกล่องเสียง (laryngoscopy) ตรวจหาเชื้อก่อโรค ตรวจเลือดเป็นต้น
การรักษา ในรายที่มีอาการรุนแรง จำเป็นต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล ให้การรักษาโดยให้ออกซิเจนพ่นฝอยละอองน้ำ ให้ความชื้น ให้ยาลดการอักเสบและการบวมของเยื่อบุกล่องเสียง ได้แก่ ยาสตีรอยด์ ชนิดใดชนิดหนึ่งดังนี้
★
เดกซาเมทาโชน ขนาด 0.6 มก./กก. ฉีด เข้ากล้ามครั้งเดียว หรือให้กินขนาด 0.15 มก./กก.ครั้งเดียว (ขนาดยาทั้งหมดไม่ควรเกิน 10 มก./ครั้ง)
★
เพร็ดนิโซโลนให้กินขนาด 1 มก. /กก.ทุก 12 ชั่วโมง (ไม่ควรเกิน 60 มก./วัน) จนกระทั่ง 24 ชั่วโมงหลังจากอาการดีขึ้นแล้วหรือถอดท่อช่วยหายใจได้แล้ว
★
ใช้สตีรอยด์ชนิดพ่น (เช่น budosenide) แทนชนิดกินหรือฉีด นอกจากนี้ยังอาจให้ยาอะดรีนาลินชนิดพ่น (nebulized adrenaline)
ส่วนยาปฏิชีวนะจะให้เฉพาะในรายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
ในรายที่หายใจไม่สะดวก ปากเขียว มีภาวะขาดออกซิเจน จำเป็นต้องใส่ท่อหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ
ผลการรักษา ส่วนใหญ่มักจะหายได้เป็นปกติ มีส่วนน้อยที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง และมีอัตราตายต่ำมาก
youtube.com
ครู้ป - Health Me Now
ครู้ป (คอตีบเทียม ก็เรียก) คือ การอักเสบของเยื่อบุผิวของทางเดินหายใจตั้งแต่กล่องเสียงลงไปที่ท่อลม และหลอดลม ทำให้มีอาการไอเสียงก้อง และเกิดการอุดกั้นของทางเด...
อ่านเพิ่มเติม
นพ.อดิศัย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กลุ่มอาการครู้ป เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนต้นบริเวณกล่องเสียงและหลอดลมบริเวณคอ จากเชื้อไวรัส
ผู้ป่วยจะมีอาการไข้หวัดนำมาก่อน ต่อมาจะมีอาการไอเสียงก้อง เสียงแหบ หายใจเสียงดัง ในรายที่รุนแรงจะมีอาการหายใจหอบ/หายใจลำบาก ซึม พร่องออกซิเจน โดยเฉพาะในเด็กทารกอายุน้อยกว่า 1-2 ปี
เนื่องจากทางเดินหายใจมีขนาดเล็ก เมื่อมีการอักเสบติดเชื้อจึงเกิดการตีบแคบได้ง่ายและรุนแรง ในผู้ป่วยเด็กโควิด พบมีอาการของ ครูป ได้ แต่จะตอบสนองต่อการรักษาดีกว่าการเป็นโรคครู้ป ที่เกิดจากเชื้อไวรัสอื่น กล่าวคือ เมื่อได้พ่นยาแล้วอาการมักจะทุเลาลงได้ดี
ที่มา
Healthmenow
PPTV
healthmenow
สุขภาพ
โรคระบบทางเดินหายใจ
บันทึก
11
7
8
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
รู้ทันป้องกัน COVID-19
11
7
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย