12 ม.ค. 2022 เวลา 09:39 • สุขภาพ
ไว้อาลัยอย่างสุดซึ้ง ไวพจน์ เพชรสุพรรณ จากไปอย่างสงบด้วย การติดเชื้อในกระแสเลือด
12
คุณพ่อไวพจน์ เพชรสุพรรณจากไปอย่างสงบที่รพ. เวลาโดยประมาณ 15:24 น. คุณพ่อเริ่มป่วยเข้ารพ. ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย. ที่ผ่านมา ท่านอดทนและสู้มาก ตอนนี้จากพวกเราไปแล้ว แต่จะยังคงอยู่ในใจพวกเราตลอดไป
66
รู้จักกับ การติดเชื้อในกระแสเลือด โรคยอดฮิต ที่คนมักได้ยินชื่อแต่ไม่รู้ความหมาย
18
ติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia) คือ การติดเชื้อที่เกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของร่างกาย ซึ่งเชื้อดังกล่าวได้แก่ จุลชีพต่างๆ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา โดยการติดเชื้อที่อการติดเชื้อในกระแสเลือดคือ การติดเชื้อที่เกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของร่างกาย ซึ่งเชื้อดังกล่าวได้แก่ จุลชีพต่างๆ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา โดยการติดเชื้อที่อวัยวะต่างๆ ของร่างกายสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ เมื่อมีการติดเชื้อในกระแสเลือดแล้ว ร่างกายของเราจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการติดเชื้อหรือต่อพิษของเชื้อโรค ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบขึ้นทั่วบริเวณของร่างกาย หากมีความรุนแรงมากอาจพัฒนาไปสู่ภาวะช็อกและทำให้การทำงานของอวัยวะภายในต่างๆ ล้มเหลว มีอันตรายถึงชีวิตได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
8
สาเหตุ ติดเชื้อในกระแสเลือด
1
การติดเชื้อในกระแสเลือดเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย จัดเป็นการติดเชื้อที่รุนแรง โดยทั่วไปแล้ว การติดเชื้อแบคทีเรียเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แบ่งเป็นการติดเชื้อจากปัญหาสุขภาพทั่วไป และภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในโรงพยาบาล
4
อาการ ติดเชื้อในกระแสเลือด
การติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นภาวะที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยอาจติดเชื้อในกระแสเลือดได้ตั้งแต่แรกเกิดหรือเกิดขึ้นหลังป่วยเป็นโรคใดโรคหนึ่งในระยะแรก ทั้งนี้ การติดเชื้อในกระแสเลือดอาจเกิดขึ้นหลังจากประสบอุบัติเหตุหรือหลังได้รับการผ่าตัด โดยผู้ป่วยมักมีอาการเบื้องต้น
1
การรักษา ติดเชื้อในกระแสเลือด
แพทย์จะวินิจฉัยจากลักษณะและอาการของผู้ป่วยเป็นลำดับแรก จากนั้นจะทำการเจาะเลือดและตรวจสิ่งคัดหลั่งจากอวัยวะที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อด้วยการเพาะหาเชื้อ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน แต่เนื่องด้วยการติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นภาวะฉุกเฉิน แพทย์จึงต้องอาศัยการวินิจฉัยเบื้องต้นและเลือกให้ยาต้านจุลชีพที่ครอบคลุมเชื้อไว้ก่อน ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับยาต้านจุลชีพหรือยาปฏิชีวนะที่ตรงกับเชื้อในช่วง 1-2   ชั่วโมงแรก ผู้ป่วยจะมีโอกาสรอดชีวิตสูงมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากได้รับยาที่ไม่ตรงกับเชื้อหรือได้รับยาช้าเกินไป ก็จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้นเช่นกัน
5
เมื่อได้รับยาต้านจุลชีพแล้ว แพทย์จะทำการรักษาแบบประคับประคองไปพร้อมๆ กัน เช่น ถ้ามีภาวะไตวายก็ทำการฟอกไต ถ้าผู้ป่วยหายใจเองไม่ได้ก็จะมีการให้ออกซิเจนหรือการใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือถ้าผู้ป่วยมีภาวะซีดก็จะมีการให้เลือด โดยพิจารณาตามลักษณะอาการของผู้ป่วย
7
ทั้งนี้นับเป็นการสูญเสียขุนพลเพลงลูกทุ่ง จ.สุพรรณบุรี ไปถึง 2 คน ติดต่อกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ ศรเพชร ศรสุพรรณ ได้เสียชีวิต ยังตั้งบำเพ็ญกุศลอยู่ที่วัดยางไทยเจริญผล และจะพระราชทานเพลิงศพในวันที่ 16 ม.ค.ที่จะถึงนี้ จนกระทั่งมาสูญเสีย ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ไปอีกราย สร้างความเศร้าโศกเสียใจให้แก่วงการเพลงลูกทุ่งและชาวสุพรรณบุรีอย่างมาก
3
สำหรับไวพจน์ เพชรสุพรรณ เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งชื่อดังระดับตำนานของประเทศไทย และอยู่ในวงการมานานหลายสิบปี สร้างผลงานเพลงออกมามากมายนับไม่ถ้วน จวบจนถึงปัจจุบันก็ยังคงผลิตผลงานเพลงออกมาอย่างต่อเนื่อง ในจำนวนนั้นเป็นเพลงดังที่ฮิตติดหูมากมาย นอกจากนั้นก็ยังมีความเชี่ยวชาญด้านเพลงพื้นเมืองภาคกลางชนิดหาตัวจับได้ยาก
8
ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ยังมีความสามารถด้านการแต่งเพลง และได้แต่งเพลงดังให้กับนักร้องหลายคน ทั้งยังได้ชื่อว่าเป็นผู้สร้างราชินีลูกทุ่งคนที่ 2 คือ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ขึ้นมาประดับวงการเพลงเมืองไทยด้วย
8
ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เกิดเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2485 ที่ หมู่ 2 ตำบลมะขามล้ม (ปัจจุบันเป็น ตำบลวังน้ำเย็น) อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรนายจำปี และนางอ่ำ สกุลณี เป็นชาวไทยเชื้อสายลาว[1] เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดวังน้ำเย็น อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เริ่มหัดร้องเพลงอีแซว เพลงพื้นบ้านของ จ.สุพรรณบุรี ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ โดยได้ฝึกหัดและหัดตามมารดา ซึ่งเป็นแม่เพลงอีแซว จนสามารถร้องเพลงอีแซว และเพลงแหล่ได้เมื่ออายุ 14 ปี จากนั้นได้หัดร้องลิเกกับคณะลิเกประทีป แสงกระจ่าง เมื่ออายุ 16 ปีได้เข้าประกวดร้องเพลงครั้งแรกที่วัดท่าตลาด ต.วัดโบสถ์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี เพลงที่ร้องเป็นเพลงแหล่ของ พร ภิรมย์ ชื่อเพลง “จันทโครพ” ปรากฏว่าได้รางวัลที่ 1
โดยไวพจน์ เพชรสุพรรณ ได้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง) เมื่อปี พ.ศ.2540 โดยมีผลงานเพลงที่ติดหูคือ หนุ่มนารอนาง , สาละวันรำวง , แตงเถาตาย , ฟังข่าวทิดแก้ว , ใส่กลอนหรือเปล่า , สาวภูไท เป็นต้น
15
ผลงานภาพยนตร์ที่เคยแสดง
  • 1.
    ไทยน้อย (ปี 2512)
  • 2.
    สาละวัน (ปี 2512)
  • 3.
    ฝนเหนือ (ปี 2513)
  • 4.
    จอมบึง (ปี 2513)
  • 5.
    อยากดัง (ปี 2513)
  • 6.
    ไทยใหญ่ (ปี 2513)
  • 7.
    มนต์รักป่าซาง (ปี 2514)
  • 8.
    มนต์เพลงลูกทุ่ง (ปี 2522)
  • 9.
    เทพเจ้าบ้านบางปูน (ปี 2525)
  • 10.
    นักเพลงผู้ยิ่งใหญ่ (ปี 2527)
  • 11.
    เลือดแค้น เล็กนกใน (ปี 2533)
  • 12.
    มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม (ปี 2545)
  • 13.
    เหลือแหล่ (ปี 2554)
นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกสภาจังหวัดสุพรรณบุรี อ.บางปลาม้า จ. สุพรรณบุรี อีกด้วย
โฆษณา