“ข้อควรทราบเพื่อป้องกันความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องกรรม”
🌿 การพยากรณ์บุคคลอื่น ทําได้หรือไม่ ?
เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคล
ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจากพระพุทธองค์
เพราะเหตุนั้นแล
เราท่านทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล
และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล
เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทําลายคุณวิเศษของตน
พระพุทธองค์หรือผู้ที่เหมือนท่าน พึงถือประมาณในบุคคลได้
🌿 ทุกข์เกิดเพราะมีเหตุปัจจัย
ป : ท่านโคตมะ! มีสมณพราหมณ์บางพวกที่กล่าวสอน เรื่องกรรม
ย่อมบัญญติความทุกข์ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเอง
มีสมณพราหมณ์อีกบางพวกที่กล่าวสอนเรื่องกรรม
ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่าเป็นสิ่งท่ีผู้อื่นทําให้
มีสมณพราหมณ์อีกบางพวก ที่กล่าวสอนเรื่องกรรม
ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่าไม่ใช่ทําเอง หรือ ใครทำให้ ก็เกิดขึ้นได้
ในเรื่องนี้ ท่านโคตมะของพวกเรา กล่าวสอนอยู่อย่างไร ?
และพวกเรากล่าวอยู่อย่างไร?
จึงจะเป็นอันกล่าวตามคำที่ท่านโคตมะกล่าวแล้ว
ไม่เป็นการกล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง
แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง
และสหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม
จะไม่พลอยกลายเป็นผู้ควรถูกติเตียนไปด้วย ?” ดังนี้
พ : ปริพาชกทั้งหลาย !
เรากล่าวว่า ทุกข์ อาศัยเหตุปัจจัย (ของมันเอง เป็นลําดับๆ) เกิดขึ้น
มันอาศัยเหตุปัจจัยอะไรเล่า ?
อาศัยปัจจัยคือ ผัสสะ
ผู้กล่าวอย่างนี้แล ชื่อว่ากล่าวตรงตามที่เรากล่าว
🌿 ทางสุดโต่ง 2 สาย ที่ไม่ควรเดิน คือ
๑ การประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย (กามสุขัลลิกานุโยค)
อันเป็นการกระทําที่ยังต่ำ เป็นของชาวบ้าน เป็นของชั้นปุถุชน
ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๒ การประกอบความเพียรในการทรมานตนให้ลําบาก (อัตตกิลมถานุโยค)
อันนํามาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
🌿 ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา)
ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น
เป็นข้อปฏบัติที่พระองค์ได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว
เป็นข้อปฏิบัติทําให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทําให้เกิดญาณ
เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน
คือ อริยมรรคมีองค์ 8
ประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
…
🌿 บาปกรรมเก่า ไม่อาจสิ้นได้ด้วยการทรมานตนเอง (หน้า ๔๓) …
🌿 สุข-ทุกข์ที่ได้รับ ไม่ใช่ผลของกรรมเก่าอย่างเดียว …
🌿 ความพยายามไร้ผล ความเพียรไร้ผล เพราะความไม่รู้เหตุไม่รู้ผลแห่งการกระทำ …
.
… ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ :