Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วิทย์-ชีวะ-ชีวิต
•
ติดตาม
19 ม.ค. 2022 เวลา 02:09 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
โลกพิศวงงงงวย ตอน 3
กายใหม่ใน 10 ปีกับเซลล์สมอง 200 ปี
ร่างกายมนุษย์นี่มหัศจรรย์มากๆ นะครับ
เรามีการสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์เก่าอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่ใช่ว่าทุกเซลล์จะอยู่กับเราไปตลอดชีวิตนะครับ
ยกตัวอย่าง เซลล์ลำไส้ (ยกเว้นเซลล์บุผนังลำไส้) จะมีอายุยาว 15.9 ปี ขณะที่เซลล์กล้ามเนื้อจะมีอายุราว 15.1 ปี และเซลล์ตับที่ต้องคอยกำจัดของเสีย ก็มีอายุสั้นหน่อยแค่ 10-16 เดือนเท่านั้น
เซลล์ที่อายุสั้นจุดจู๋ก็มีนะครับ เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด นิวโทรฟิล (Neutrophil) เพราะพวกมันมีอายุแค่เพียง 2 วันเท่านั้น !!!
แต่เซลล์หลายชนิดก็อายุยืนยาวดีนะครับ เช่น เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจมีอายุถึง 40 ปี เซลล์ไข่ (ของผู้หญิง) อายุราว 50 ปี และเซลล์เลนส์ตานี่อายุเท่ากับอายุเรานี่แหละ มันจะอยู่กับเราไปตลอดจนกว่าเราจะตาย !
เซลล์บางอย่างที่เราไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ เช่น เซลล์ไขมันนี่ก็อึดพอสมควรทีเดียวคือ อยู่ได้ถึง 8 ปี
แต่ประเมินคร่าวๆ โดยเฉลี่ยแล้ว เซลล์ร่างกายทั้งร่างของเราจะเปลี่ยนแทบใหม่หมดในเวลา 7-10 ปี !!!
นั่นแปลว่า เราแทบจะเป็นคนละคนเลยทีเดียว หาก...มองในแง่หนึ่ง
แล้วเซลล์สำคัญมากๆ ชนิดหนึ่งของร่างกายคือ เซลล์สมองล่ะครับ อายุสักเท่าไหร่
อันที่จริงหากตอบคำถามนี้ได้ เราอาจจะได้กุญแจไขความลับการเป็นอมตะก็ได้นะครับ
เพราะถึงปัจจุบัน สมองก็ยังเป็นอวัยวะหนึ่งที่ไม่อาจทนแทนได้ของมนุษย์นะครับ
มีการทดลองหนึ่งน่าสนใจดี ในปี 2013 นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง ทดลองเอาเซลล์หนูจำพวก mouse ที่แก่แล้ว เอาไปแปะใส่หนู rat ที่ตัวใหญ่กว่า และปกติแล้วจะมีอายุยืนยาวกว่า
https://www.sciencefocus.com/the-human-body/what-cells-in-the-human-body-live-the-longest/
ผลก็คือ เซลล์ของหนูเมาส์พวกนั้นอยู่ดีมีสุขในสมองของหนูแรทได้สบายจนหนูตัวนั้นสิ้นอายุขัย
นักวิทยาศาสตร์เลยอนุมานว่า หากเซลล์สมองของเราทำตัวคล้ายกับเซลล์ของหนู ก็น่าจะมีอายุขัยที่ยืนมากๆ คือ ไม่แค่ยืนยาวเท่ากับอายุของเราเท่านั้น
แต่ยาวเป็น 2 เท่าคือ มากกว่า 200 ปีทีเดียว !!!
ไม่แน่ว่าสมองของเราอาจจะสามารถอยู่ได้ถึง 200 ปี
สมอง
อวัยวะ
บันทึก
1
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
โลกพิศวงงงงวย
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย