“เรื่องเกี่ยวกับ ‘กรรม’ ในเชิงปฏิจจสมุปบาท”
🌿 เหตุเกิดของทุกข์
ความทุกข์นั้น พระพุทธองค์กล่าวว่า
เป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเกิดขึ้น
(เรียกว่าปฏิจจสมุปปันนธรรม)
ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัย อะไร ?
ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัย คือ ผัสสะ
🌿 ความหมายที่แท้จริงของคำว่า “สัตว์”
ความพอใจอันใด ราคะอันใด
นันทิอันใด ตัณหาอันใด
มีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา
ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้ว ในสิ่งนั้นๆ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ‘สัตว์’
🌿 ความไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา
🍂ใคร ย่อมกลืนกินซึ่งวิญญาณาหาร ?
เป็นปัญหาที่ไม่ควรเป็นคำถามเลย
เพราะพระพุทธองค์ย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมกลืนกิน"
ดังนั้น จึงไม่ควรถามว่า "ใคร ย่อมกลืนกินซึ่งวิญญาณาหาร ?"
ควรถามว่า "วิญญาณาหาร ย่อมมีเพื่ออะไร ?"
🍂 ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัส ?
เป็นปัญหาที่ไม่ควรเป็นคำถามเลย
เพราะพระพุทธองค์ย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมสัมผัส"
ดังนั้น จึงไม่ควรถามว่า "ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัส ?"
ควรถามว่า “ผัสสะมี เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย ?"
🍂 ก็ใครเล่า ย่อมยึดมั่น ?
เป็นปัญหาที่ไม่ควรเป็นคำถามเลย
เพราะพระพุทธองค์ย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมยึดมั่น"
ดังนั้น จึงไม่ควรถามว่า "ก็ใครเล่า ย่อมยึดมั่น ?"
ควรถามว่า “เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ?"
🌿 เหตุเกิดของภพ
กรรมเป็นเนื้อนา
วิญญาณเป็นเมล็ดพืช
ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช
วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย
มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน
ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นทราม (กามธาตุ)
ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นกลาง (รูปธาตุ)
ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นประณีต (อรูปธาตุ)
การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้
🌿 เครื่องนำไปสู่ภพ และความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพ
🍂 ฉันทะ (ความพอใจ) ก็ดี
ราคะ (ความกําหนัด) ก็ดี
นันทิ(ความเพลิน) ก็ดี
ตัณหา (ความทะยานอยาก) ก็ดี
อุปายะ (กิเลสเป็นเหตุเข้าไปสู่ภพ)
และอุปาทาน (ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส)
อันเป็นเครื่องตั้งทับ เครื่องเข้าไปอาศัย
และเครื่องนอนเนื่องแห่งจิตก็ดี ใดๆ
ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ
กิเลสเหล่านี้ เรียกว่า ‘เครื่องนำไปสู่ภพ’
🍂 ความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพ มีได้
เพราะความดับไม่เหลือของกิเลส มีฉันทะ ราคะ เป็นต้น
เหล่านั้นเอง
🌿 ปฏิจจสมุปบาทในฐานะเป็นกฎสูงสุดของธรรมชาติ
— จบ —
.
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ :