“สิ้นตัณหา ก็สิ้นกรรม”
⛅️ มรรคาใด ปฏิปทาใด ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา
เราท่านทั้งหลายจงเจริญมรรคานั้น ปฏิปทานั้น
มรรคาและปฏิปทา ที่เป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา
คือ โพชฌงค์ ๗ ได้แก่
๑ สติสัมโพชฌงค์
๒ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓ วิริยสัมโพชฌงค์
๔ ปีติสัมโพชฌงค์
๕ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖ สมาธิสัมโพชฌงค์
๗ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
⛅️ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้วอย่างไร ? ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา
🍂 ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ / ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ /วิริยสัมโพชฌงค์
/ ปีติสัมโพชฌงค์ / ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ / สมาธิสัมโพชฌงค์
ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ
อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ (ความสละ ความปล่อย)
อันไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีความพยาบาท
เมื่อภิกษุนั้นเจริญ สติสัมโพชฌงค์ / ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ /วิริยสัมโพชฌงค์
/ ปีติสัมโพชฌงค์ / ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ / สมาธิสัมโพชฌงค์
เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ
อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ
อันไพบูลย์ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีความพยาบาท
ย่อมละตัณหาได้
เพราะละตัณหาได้ จึงละกรรมได้
เพราะละกรรมได้ จึงละทุกข์ได้
เพราะสิ้นตัณหา จึงสิ้นกรรม
เพราะสิ้นกรรม จึงสิ้นทุกข์ ด้วยประการดังนี้
⛅️ การกระทำกรรมที่เป็นไปเพื่อการสิ้นกรรม
คีย์ที่สำคัญ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ 🎐
🍂 กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วย อโลภะ / อโทสะ / อโมหะ
เกิดจากอโลภะ / อโทสะ / อโมหะ
มีอโลภะ / อโทสะ / อโมหะเป็นเหตุ
มีอโลภะ / อโทสะ / อโมหะ เป็นสมุทัย อันใด
เพราะปราศจากโลภะ / โทสะ / โมหะ เสียแล้ว
ด้วยอาการอย่างนี้เอง
กรรมอันนั้น ย่อมเป็นกรรมอันบุคคลนั้นละขาดแล้ว
มีรากอันถอนขึ้นแล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน
ทําให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไป เป็นธรรมดา
⛅️ จะเกิดในตระกูลใดก็สิ้นกรรมได้
คนบางคนมีชาติดำ ก่อให้เกิดธรรมดำ ๑
บางคนมีชาติดำ ก่อให้เกิดธรรมขาว ๑
บางคนมีชาติดำ ก่อให้เกิดนิพพาน (ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ) อันเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว ๑
บางคนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมดำ ๑
บางคนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมขาว ๑
บางคนมีชาติขาว ก่อให้เกิดนิพพาน อันเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว ๑
เป็นอย่างไร ?
สามารถรับฟังได้ใน Podcast ▶️
.
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ :