31 ม.ค. 2022 เวลา 00:00 • ปรัชญา
บทความ Blockdit ตอน
คาถาของความสุข: “ยันเต-กิริ-นินโจ”
5
Blockdit Originals ซีรีส์บทความพิเศษ
1
หนังสือบางเล่มเปลี่ยนวิถีชีวิตคน ทั้งปัจเจกและสังคม โดยเฉพาะในด้านการเมือง เช่น The Communist Manifesto ของ คาร์ล มาร์กซ และ ฟรีดดริค เองเกลส์, Mein Kampf ของฮิตเลอร์ เป็นต้น
สำหรับหนังสือที่ส่งผลกระทบทางสังคม ย่อมต้องรวมนวนิยายเรื่อง A Fugitive Crosses His Tracks (En Flyktning Krysser Sitt Spor 1933) เขียนโดย Aksel Sandemose นักเขียนชาวเดนมาร์ก-นอร์เวย์
1
นวนิยายเรื่องนี้เล่าถึงชีวิตของชนชั้นแรงงาน ฉากคือเมืองยันเต ซึ่งเป็นเมืองสมมุติ ตัวละครเอกของเรื่องเติบโตที่เมืองนี้
4
ผู้เขียนเล่าเรื่องเมืองสมมุตินามยันเต ชาวเมืองแต่ละคนจะต้องเคารพกฎหรือภาพลักษณ์ของกลุ่ม ทำตามค่านิยมของเมือง
เขียนเป็นกฎได้สิบข้อดังนี้
1 อย่าคิดว่าคุณพิเศษกว่าคนอื่น
1
2 อย่าคิดว่าคุณเก่งเท่าเรา
3 อย่าคิดว่าคุณฉลาดกว่าเรา
4 อย่าคิดว่าคุณดีกว่าเรา
1
5 อย่าคิดว่าคุณรู้มากกว่าเรา
6 อย่าคิดว่าคุณสำคัญกว่าเรา
7 อย่าคิดว่าคุณเก่งทุกอย่าง
8 อย่าหัวเราะเยาะเรา
9 อย่าคิดว่าทุกคนจะแคร์คุณ
4
10 อย่าคิดว่าคุณสามารถสอนเราทุกอย่าง
4
เรียกว่า กฎของยันเต (The Law of Jante)
นักเขียนบอกว่า ไอเดียเรื่องกฎของยันเตนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เขาไม่ได้คิดค้นขึ้นมาเอง มันเป็นรากของสังคมสแกนดิเนเวียมานานนมหลายศตวรรษแล้ว
1
กฎของยันเตสะท้อนสไตล์วิถีชีวิตที่เสมอภาคของชาวนอร์ดิก (Nordic) คือคนในกลุ่มยุโรปทางเหนือ เช่น เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน เป็นต้น แม้ไม่ได้จารึกเป็นกฎหมาย แต่มันสะท้อนในหนังสือเด็ก เพลง ฯลฯ และแม้ไม่ใช่ภาคบังคับ แต่คนส่วนใหญ่ก็กระทำตาม เห็นได้จากถนนหนทางของนอร์เวย์สะอาด มีการรีไซเคิลขวดพลาสติก กระป๋องน้ำอัดลม มีสำนึกสังคมสูง
1
กฎของยันเตในนวนิยายเรื่องนี้อาจมีเจตนาเป็นงานเสียดสี แต่ในโลกของความจริง มันก็มีประโยชน์ มีความเชื่อว่าโรงเรียนสอนกฎของยันเตเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนประพฤติตัวในกลุ่มดีขึ้น เชื่อว่าการพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่อย่างเรียบง่ายก็คือความสุข และส่งผลรวมต่อสังคมที่สงบเรียบร้อย
5
Aksel Sandemose
กฎของยันเตสอนให้ประพฤติตนแบบกลางๆ ไม่โฉ่งฉ่าง ไม่ทำตัวเหนือคนอื่น วิถีชีวิตตามกฎของยันเตทำให้แต่ละคนใช้ชีวิตแบบกลมกลืนกับคนอื่น สวมใส่เสื้อผ้าไม่ต่างกันมาก ใช้สินค้าคล้ายๆ กัน ไม่คุยโวโอ้อวด เชื่อว่ามันคือวิถีแห่งความสุข เหตุหนึ่งอาจเพราะไม่ต้องอิจฉาใคร และมีความรู้สึกว่าเท่าเทียมกัน
1
ดูเหมือนสังคมสแกนดิเนเวียมีสำนึกต่อสังคมสูงกว่าปัจเจก
2
สมัยผมทำงานโฆษณา มีโฆษณาเบียร์ชุดหนึ่งที่จับตา เบียร์คาร์ลสเบิร์กของเดนมาร์ก เป็นรูปทิวทัศน์มีรถขนส่งเบียร์ยี่ห้อคาร์ลสเบิร์ก คำโปรยภาพคือ “Probably the best beer in the world.” มันไม่บอกว่าเป็นเบียร์ดีที่สุด ยังมีคำว่า ‘probably’ (บางที)
2
ก็คือความถ่อมตัวแบบกฎของยันเต
หากเราดูภาพรวมของสแกนดิเนเวีย พบว่ารับแนวคิดกฎของยันเตนี้อย่างเต็มที่ ทำไม? ก็ต้องดูที่วัฒนธรรมทั่วไป ชาวสแกนดิเนเวียเป็นพวกที่รักความเสมอภาคที่สุด ในทุกๆ เรื่อง พวกเขาไม่เห็นว่าทำไมคนคนหนึ่งจึงต้องมีมากกว่า หรือน้อยกว่าคนอื่น ควรจะเสมอภาคเท่ากัน ไม่ชอบการแบ่งชนชั้น รักความยุติธรรม เสมอภาค พวกนี้มีความคิดว่า เรามีรถเหมือนกับเพื่อนบ้านของเรา รายได้พอๆ กัน
7
แนวคิดนี้เชื่อว่าโลกเรามีทรัพยากรเพียงพอสำหรับทุกคน ดังนั้นจึงไม่สมควรที่คนคนหนึ่งต้องการมากกว่า หรือทำตัวเหนือกว่าเพราะมีมากกว่า แต่ละชีวิตควรพอใจที่เกิดมาแล้วมีกิน มีใช้ แนวคิดนี้ช่วยรักษาสมดุลของสังคมและเสถียรภาพของสังคม
11
อย่างไรก็ตาม ความหมายของกฎของยันเตมีนัยหรือโน้มไปในทางปรามคนที่คิดจะ ‘แหกคอก’ ขึ้นสู่ที่สูง ต้องการโดดเด่นกว่าคนอื่น
3
นี่มิได้แปลว่าเราจะมีรถหรูแพงไม่ได้ ชาวสแกนดิเนเวียสามารถรู้สึกยินดีกับความสำเร็จของคนอื่น คนเหนือกว่าถูกสอนให้รู้สึกเข้าใจจิตใจของคนฐานะไม่ดีหรือด้อยกว่า เมื่อทำงานสำเร็จ จะให้เครดิตทีมเวิร์ก ไม่รับความดีความชอบเป็นของตนคนเดียว เมื่อประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างสูง ก็ไม่คุยโวโอ้อวด ไม่ทำตัวเด่นเกินหน้าเกินตา เกินสมควร หากสามารถร่วมแบ่งปันฐานะร่ำรวยให้สังคม ก็จะเป็นที่ยอมรับว่า เรารวยกว่าคนอื่นได้
3
ในโลกตะวันออกก็มี ‘กฎของยันเต’ คล้ายกัน โดยเฉพาะสังคมญี่ปุ่น สมัยที่ผมทำงานที่สิงคโปร์ แลเห็นบ้านเมืองสะอาดเพราะบทลงโทษหนักมาก สี่สิบปีก่อน ค่าปรับการทิ้งขยะราวหนึ่งหมื่นบาท
4
เมื่อไปเยือนญี่ปุ่น ก็พบว่าบ้านเมืองสะอาดเหมือนกัน แต่ไม่ใช่เพราะบทลงโทษทางกฎหมาย คนญี่ปุ่นไม่ทิ้งขยะน่าจะเพราะแรงกดดันที่ฝังในตัว
5
คนญี่ปุ่นถูกปลูกฝังให้มีจิตสำนึกต่อสังคมสูงมาก บ้านเมืองสะอาด แรงกดดันจากสังคมสูง และหล่อหลอมเป็นค่านิยมของสังคม
3
คล้ายๆ สังคมสแกนดิเนเวีย คนญี่ปุ่นมีค่านิยมไม่ชอบแตกต่างจากคนอื่น มีวิถีชีวิตที่คิดถึงสังคม เป็นความสามัคคีที่ทำให้ชาติเจริญ บางทีแนวคิดนี้ก็คือการทำตามกติกากลุ่มอย่างเคร่งครัดเป็นเครื่องมือเดียวที่ทำให้กลุ่มนั้นอยู่รอด คล้ายกองทหารในสงคราม ต้องทำตามกฎ ใครผิดก็ต้องลงโทษ มิฉะนั้นอาจตายทั้งหมด
1
สิ่งแวดล้อมก็มีส่วนในการกำหนด เพราะญี่ปุ่นประสบภัยธรรมชาติมาก สังคมต้องเข้มแข็งจึงจะอยู่รอด
3
อีกเหตุหนึ่งมันรวมเซนเข้าไปด้วย
หลังจากเซนเข้าไปฝังรากในญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1191 โดยพระ เอไซ เซนจิ ญี่ปุ่นก็หลอมรวมปรัชญาเซนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตอย่างกลมกลืน มันรวมเข้ากับวัฒนธรรม วิชาต่างๆ ศิลปะแขนงต่างๆ รวมไปถึงพิธีชงชา ภาพวาด ดนตรี การจัดดอกไม้ การจัดสวน
1
Minimalism กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต
3
วิถีชีวิตเรียบง่าย กลมกลืน ไม่โดดเด่น ออกจากกลุ่ม
3
ญี่ปุ่นมีสำนวน ตะปูที่โผล่ออกมาจะถูกตอกกลับลงไป (出る杭は打たれる) แปลว่าอย่าทำตัวเด่นเกินไป
6
ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ทำให้เกิดสองคำที่กำหนดวิถีชีวิต คือ กิริกับนินโจ
2
กิริ (義理) เป็นคุณค่าแห่งหน้าที่ ภาระรับผิดชอบ กิริเป็นหน้าที่ตามกฎหรือค่า
1
นิยมของสังคมที่เชื่อมสัมพันธ์กับคนอื่นในสังคม เป็นพันธะทางสังคมที่สังคมคาดหวังให้เราปฏิบัติ ตัวอย่างเช่นการรับใช้เจ้านาย ความจงรักภักดี หนี้บุญคุณ ในสมัยโบราณ ซามูไรอาจต้องตายในหน้าที่ ก็เพราะคำว่ากิริ
กิริอาจเป็นเหตุผลที่ญี่ปุ่นมีอัตราคนลาออกหรือไล่ออกน้อยกว่าหลายชาติ ขณะที่ชาติตะวันตก เช่น อเมริกา ไล่คนออกได้ง่ายๆ ไม่ค่อยมีสำนึกของ ‘กิริ’
การบริการดีก็เป็นส่วนหนึ่งของ ‘หน้าที่’ ที่ต้องทำให้ดีที่สุด คนญี่ปุ่นให้ค่าการทำงานตามหน้าที่ตนให้ดีที่สุด
การให้ของขวัญในยุคสมัยใหม่ก็เป็นกิริเช่นกัน บ่อยครั้งเป็นหน้าที่หรือ ‘สิ่งที่ต้องทำ’
2
กิริก็มีราคาของมัน ตัวอย่างหนึ่งคือ เมื่อถึงเวลาเลิกงาน บางคนอาจไม่กล้ากลับบ้านตรงเวลาเลิกงาน เพราะเห็นคนอื่นยังนั่งทำงานอยู่ การกลับก่อนดูเหมือนผิดกาลเทศะทั้งที่ไม่มีกฎห้าม
2
การไม่ให้บริษัทเต็มที่ก็มีแรงกระทบ เช่น มีสิทธิ์ลาหยุดไปทำเรื่องส่วนตัว แต่หากไปจริง ก็อาจถูกเพื่อนร่วมงานมองว่าขาดขาดความรับผิดชอบ ขาดกิริ
มนุษย์เงินเดือนญี่ปุ่นถูกคาดหวังว่าต้องทำงานให้องค์กรไม่ใช่ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ 200 เปอร์เซ็นต์ ไม่แตกแถว ไม่ทำสิ่งใดให้เกิดความขัดแย้งในองค์กร เคารพเจ้านาย จึงมักเห็นลูกน้องที่ต้องตามเจ้านายหรือเพื่อนไปดื่มด้วยกัน ทั้งที่ไม่ชอบหรือไม่อยากไปร่วมด้วย
1
กิริทำให้บ้านเมืองมีวินัยสูง มีมารยาททางสังคม เพราะมันเป็นหน้าที่ที่ฝังในจิตวิญญาณ นี่ทำให้คนญี่ปุ่นเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เอาใจเขามาใส่ใจเรา
1
ส่วนนินโจ (人情) แปลตรงตัวว่าความรู้สึกของคน มีเมตตาต่อคนอ่อนแอกว่า นินโจคือความรู้สึกจากใจ ความรู้สึกส่วนตัว เช่น ความรัก
1
กิริ-นินโจฝังรากลึกในสังคมญี่ปุ่น หล่อหลอมเป็นวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นให้รู้สำนึกหน้าที่ของตนต่อสังคม มีมารยาททางสังคม มีกาลเทศะ ไม่เหยียบเท้าคนอื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา และการทำตัวให้กลมกลืนกับคนอื่นๆ ในสังคม การไม่ทำตามค่านิยมสังคมหรือแหกคอกอาจเสี่ยงต่อการถูกสังคมลงโทษ หรือโดดเดี่ยว ซึ่งก็คือกฎของยันเตในสแกนดิเนเวียนั่นเอง
กิริเป็นขั้วตรงข้ามกับนินโจ ตัวอย่างคลาสสิกที่มักยกมาเปรียบก็คือซามูไร ซามูไรคนหนึ่งหลงรักลูกสาวโชกุน หรืออาจเป็นลูกสาวศัตรู ด้วยกิริ เขาย่อมแต่งงานกับนางไม่ได้ กิริมาก่อนนินโจ
คนยุคใหม่อาจมีความอยากเป็นอาชีพหนึ่ง (นินโจ) แต่ทำงานที่ตนเองไม่ชอบตามหน้าที่เลี้ยงดูครอบครัว
แต่ก็มีคนเห็นว่ามันอาจเสแสร้งอยู่บ้าง เห็นว่า มันเหมือนอยู่ในเมืองหุ่นยนต์
1
แต่ไม่ทุกคนเห็นด้วยกับปรัชญานี้ บ้างเห็นว่ามันทำให้คนขาด self-esteem (ความรู้สึกว่าตนเองมีค่า) คนที่ต้องการริเริ่มธุรกิจใหม่ๆ
การเดินตามค่านิยม ‘สังคมมาก่อน’ มีข้อดีมากมาย ทำให้สังคมมีความสามัคคี มีเอกภาพ มีพลัง แต่ก็มีข้อเสียเช่นกัน มันทำให้ภาวะปัจเจกหายไป หรือไม่สร้างสิ่งใหม่ มุมมองใหม่ ขาดการพัฒนา
5
ข้อเสียใหญ่ของค่านิยมทำตามกลุ่มคือทำให้ภาวะปัจเจกไม่พัฒนา ไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าคิดต่าง กลัวว่าจะไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่ม จึงไม่ค่อยเป็นตัวของตัวเอง โดยเฉพาะในเด็ก เมื่อปลูกฝังอย่างนี้มากไป อาจทำให้เด็ก ‘หงอ’ ไม่กล้าคิดต่าง หรือออกจากกรอบ และอาจขาดความคิดสร้างสรรค์ เพราะความคิดสร้างสรรค์มาก่อนการไร้กรอบ
2
สังคมที่จะพัฒนาต้องพัฒนาทั้งสังคมและปัจเจกไปพร้อมกัน
2
สำหรับเมืองไทย ดูเหมือนผู้คนไม่ค่อยให้ความสำคัญกับ ‘ยันเต’ หรือ ‘กิริ’ ในความเข้มข้นเท่าพวกสแกนดิเนเวียหรือญี่ปุ่น เรามีภาษิต “ทำอะไรตามใจคือไทยแท้” เป็นภาพชินตาที่คนจอดรถยนต์ริมซอยเพื่อซื้อเงาะ โดยไม่สนใจว่ารถที่แล่นตามมาจะเดือดร้อนหรือไม่
4
อย่างไรก็ตาม เมืองไทยก็มีวิธีคิด ‘ยันเต’ หรือ ‘กิริ’ เช่นกัน สะท้อนในบทกวีบทหนึ่งของหลวงวิจิตรวาทการ
“อันที่จริงคนเขาอยากให้เราดี
แต่ถ้าเด่นขึ้นทุกทีเขาหมั่นไส้
จงทำดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย
ไม่มีใครอยากเห็นเราเด่นเกิน”
6
บทกลอนนี้สะท้อนความไม่อยากเด่นเกินที่มีนัยของความอิจฉา นั่นคือคนเด่นเกินไปหรือเก่งเกินไปอาจถูกคนอื่นหมั่นไส้หรืออิจฉา
2
กฎของยันเตหรือค่านิยม ‘สังคมมาก่อน’ เป็นแนวคิดหนึ่งของบางสังคม คนไทยบางคนอาจเห็นว่ามันตึงเกินไป แต่มองย้อนดูสังคมเรา เราก็อาจหย่อนเกินไป
โลกมิได้มีแค่ด้านเดียวในการดำเนินชีวิต หากเราใช้หลักทางสายกลาง ก็สามารถรักษาสมดุลระหว่างหน้าที่กับหัวใจ
“ยันเต-กิริ-นินโจ” เป็นคาถาของความสุขจริงหรือไม่ ท้ายที่สุดแล้วก็ไปสู่คำถามว่าปัจเจกมีความสุขในการปฏิบัติตัวตามค่านิยมของสังคมมากน้อยแค่ไหน
2

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา