27 ม.ค. 2022 เวลา 00:31 • ปรัชญา
"ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน"
🍃 ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน (นัยที่ ๑)
ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมเห็นซึ่ง จักษุ ว่า ไม่เที่ยง
ย่อมเห็นซึ่ง รูปทั้งหลาย ว่า ไม่เที่ยง
ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ ว่า ไม่เที่ยง
ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัส ว่า ไม่เที่ยง
ย่อมเห็นซึ่ง เวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์
หรือเป็นอทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ไม่สุข)
ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ว่า ไม่เที่ยง
🍃 (นัยที่ ๒)
ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมเห็นซึ่ง จักษุ ว่า เป็นทุกข์
ย่อมเห็นซึ่ง รูปทั้งหลาย ว่า เป็นทุกข์
ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ ว่า เป็นทุกข์
ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัส ว่า เป็นทุกข์
ย่อมเห็นซึ่ง เวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์
หรือเป็นอทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ไม่สุข)
ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ว่า เป็นทุกข์
🍃 (นัยที่ ๓)
ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมเห็นซึ่ง จักษุ ว่า เป็นอนัตตา
ย่อมเห็นซึ่ง รูปทั้งหลาย ว่า เป็นอนัตตา
ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ ว่า เป็นอนัตตา
ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัส ว่า เป็นอนัตตา
ย่อมเห็นซึ่ง เวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์
หรือเป็นอทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ไม่สุข)
ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ว่า เป็นอนัตตา
(ในกรณีแห่ง โสตะ (หู) ฆานะ (จมูก) ชิวหา (ลิ้น)
กายะ (กาย) และมนะ (ใจ) ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความ
อย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น)
🍃 (นัยที่ ๔)
จักษุ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ? ... “ไม่เที่ยง”
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ? ... “เป็นทุกข์”
สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า
“นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นอัตตาของเรา” ดังนี้ ?
... “ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น”
(ในกรณี รูป ... จักขุวิญญาณ ... จักขุสัมผัส ... จักขุสัมผัสสชาเวทนา
อายตนิกธรรมหมวดโสตะ หมวดฆานะ หมวดชิวหา หมวดกายะ และหมวดมนะ
ก็เป็นเช่นเดียวกัน คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
และไม่ควรตามเห็นว่านั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นอัตตาของเรา)
อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักษุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน รูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักขุวิญญาณ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักขุสัมผัส
ย่อมเบื่อหน่ายใน เวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์
หรือเป็นอทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ไม่สุข)
ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
(ในกรณีแห่งอายตนิกธรรมหมวดโสตะ ฆานะ ชิวหา
กายะ มนะ ก็ได้ตรัสต่อไปอีก โดยนัยอย่างเดียวกันกับกรณี
แห่งอายตนิกธรรมหมวดจักษุนี้)
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมี ญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า
“ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว
กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก”
.
รับฟังรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน Podcast ▶️
โฆษณา