1 ก.พ. 2022 เวลา 07:02 • ความคิดเห็น
1. ต้องไม่พยายามจะบังคับให้จิตนิ่งค่ะ เราทุกคนก็รู้ทั้งรู้ ว่าจิตคนเหมือนลิงลม จะนิ่งได้นานเท่าไหร่กัน ก็พากันคล้อยตามไปกับคำว่าทำจิตให้นิ่งเสียซิ ซึ่งอันที่จริง มันมีแต่ตัวผู้รู้ ที่รู้ว่าจิตไม่นิ่ง สัดส่ายไปมา เกิด-ดับ ฉับพลัน แต่ผู้รู้ก็มีตัวกำกับสำคัญคือ สติ คือสติจะดึงให้เรารู้ว่า เราเริ่มฟุ้งซ่านแล้วนะ เราก็เพียงรู้ตามไปว่า ฟุ้งแล้วๆ อย่าไปหงุดหงิดตัวเอง แค่น้อมมาสังเกตลมหายใจต่อไป
2. สำหรับคนธรรมดาที่มีภารกิจหน้าที่การงาน ควรนั่งสมาธิก่อนนอนเพียงวันละ 20 - 30 นาทีก่อนที่คุณจะทิ้งตัวลงบนที่นอน ก็ถือว่าดีมากแล้วค่ะ เพื่อเป็นการ reset และจัดระเบียบความคิด และต้องเข้าใจว่า สมาธิในลักษณะนี้ คือสมถะสมาธิ สมาธิชนิดสงบตั้งมั่น หลายคนพยายามทำทุกวันก็จริง แต่กลับมีอุปนิสัยติดสมถะ คือติดความสงบ จนบางครั้งทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตในการประกอบกิจการงานได้ หนำซ้ำยังออกอาการฟาดงวงฟาดงา เกรี้ยวกราด นิสัยแย่กว่าเดิม อารมณ์สวิงกว่าเดิม เพราะติดความสงบนั่นเอง
3. จากข้อ 2 ในทางพุทธศาสตร์จึงบอกว่า สมาธิชนิดสมถะ คุณจะได้เพียงการฝึกความสงบ ซึ่งไม่เกิดปัญญา สมาธิที่จะเกิดปัญญาคือ วิปัสสนาสมาธิ หมายความว่า เมื่อค่อยๆสงบขึ้น ก็ให้น้อมใคร่ครวญในธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงสอน คือเมื่อเห็นการเกิด-ดับ ก็ให้น้อมใคร่ครวญว่า นี่ไม่ใช่เราเลย เราไม่มีตัวตน เพราะสิ่งที่จริงแท้คือ เราไม่สามารถบังคับบัญชาตัวเองได้เลย เรามีเห็น เพราะตา เพราะวัตถุกระทบตา และมีจักขุวิญญาณ
จากประสบการณ์การนั่งสมาธิ เราก็ตระเวนไปปฏิบัติมามากมาย เคยนั่งจนเจอสภาวะธรรมครั้งหนึ่ง และครั้งนั้นก็หลงคิดว่าตัวเองเป็นผู้วิเศษ มีของเก่ามา อย่างที่หลายคนมักพูด ซึ่งนับว่าหลงทางอย่างแรง นั่งแล้วอยากเห็นนรก-สวรรค์ เห็นนั่นเห็นนี่ นั่งแล้วคิดว่าตนเองเป็นผู้วิเศษ หรือบรรลุธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งหมดนี้ล้วนผิดเพี้ยน หลงทางไปจากคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างมากค่ะ จนถึงปัจจุบันเราก็ไม่ได้ไปปฏิบัติธรรมสำนักไหนอีกเลยค่ะ หันมาปฏิบัติธรรมที่บ้านแทนค่ะ
1
ขอบคุณคำถามค่ะ :)
โฆษณา