Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
InfoStory
•
ติดตาม
3 ก.พ. 2022 เวลา 08:47 • อาหาร
ชวนส่อง "เส้นบะหมี่" ที่มีต้นกำเนิดจากทวีปเอเชีย
หากว่า “พาสต้า” ทำให้เรานึกถึงกลิ่นอายของชาวยุโรปอย่าง อิตาลีหรือฝรั่งเศส
“เส้นบะหมี่” ที่มีทั้งเส้นบะหมี่สีเหลืองหรือเส้นบะหมี่สีขาวหรือเส้นบะหมี่สีโปร่งใสแบบเส้นแก้ว ก็คงจะทำให้ชาวโลกได้กลิ่นอายของความเป็นชาวเอเชีย
หรือแม้กระทั่งหนึ่งในต้นกำเนิดของเส้นพาสต้า ก็ยังบันทึกไว้ว่า นักสำรวจชาวอิตาลีอย่าง “มาร์โค โปโล” ที่ได้ไปเยือนจีนเป็นครั้งแรกในช่วงศตวรรษที่ 13 ได้รับแรงบันดาลใจจากเส้นก๋วยเตี๋ยวของจีน (บะหมี่ไข่) และนำกลับไปพัฒนา จนกลายเป็นเส้นพาสต้าของอิตาลีที่รู้จักกันไปทั่วโลก
แต่ว่าตำนานก็บอกกันหลากหลายนะ หลายที่บอกว่าเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง เพราะพาสต้า มันทำมาจากแป้งสาลีดูรุม (Durum) ซึ่งแน่นอนว่าแตกต่างจากแป้งสาลีของบะหมี่จีน..
(ตรงนี้เพื่อน ๆ สามารถไปตามอ่านได้จากเรื่องราวของพาสต้า ในโพสที่ผ่านมาของพวกเรากันได้น้า)
ว่าแต่… เรื่องราวของ “เส้นบะหมี่” จากฝั่งเอเชีย มีอะไรที่เราพอจะคุ้นหูคุ้นปากกันบ้างละ ?
งั้นวันนี้พวกเรา InfoStory ขอพาเพื่อน ๆ ไปรับชมกันได้เลย !
****หมายเหตุเพิ่มเติม****
ขออนุญาตแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยจากในภาพอินโฟกราฟิกครับ
- เส้นก๋วยเตี๋ยว (Rice Noodles) ทำมาจากแป้งข้าวเจ้านะคร้าบผม (Rice Flour)
[ชาวเอเชีย เริ่มรู้จักการผลิตเส้นบะหมี่ เป็นกลุ่มแรกของโลกเหรอ ?]
หากเรามองข้ามเรื่องราวของเส้นพาสต้าหรือบะหมี่ของทางฝั่งยุโรปไปก่อนแล้ว
เราก็จะพบว่า เส้นบะหมี่หรือวัฒนธรรมการนำแป้งสาลีมาบดเป็นผง ผสมน้ำ แล้วนำไปยืดจนเป็นเส้นแป้งบะหมี่เนี่ย มันมีต้นกำเนิดมาเมื่อเกือบ 4,000 ปีที่ผ่านมาแล้วนะ !
ซึ่งเรื่องราวตรงนี้ ก็มาจากการขุดค้นพบชามบะหมี่ที่คาดว่าจะมีอายุเก่าแก่ถึง 4,000 ปี ในมณฑลชิงไห่ของประเทศจีน (หลักฐานชิ้นนี้ ถูกค้นพบในปีค.ศ. 2002)
ตรงจุดที่นักโบราณคดีค้นพบเจ้าซากชามบะหมี่ดินเผา เขาก็ยังพบสิ่งที่หลงเหลืออยู่ภายในชาม ซึ่งคาดว่าเป็นวัตถุดิบทางอาหารอย่างเส้นแป้งสาลี
โดยเจ้าชามบะหมี่นี้ ถูกพบว่าฝังอยู่ใต้ชั้นดินตะกอนลึก 3 เมตร ที่แหล่งโบราณคดีหล่าเจีย ซึ่งเป็นจุดที่เคยเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อราว 4,000 ปีก่อนอีกด้วยนะ
จากการค้นพบในเรื่องนี้ ผนวกเข้ากับวัฒนธรรมที่เล่าสืบต่อกันมาของชาวจีน ที่พอจะจับใจความได้ว่า ชาวจีนในสมัยโบราณ (จนมาถึงปัจจุบัน) เชื่อกันว่าเส้นบะหมี่ เป็นสัญลักษณ์ของการมีอายุยืนยาว โดยเฉพาะการนำเมนู “หมี่ซั่ว” หรือเส้นบะหมี่ไข่สีเหลืองสวย ที่มีความยาวเป็นพิเศษ ก็จะสื่อถึงความสิริมงคลและจะนิยมทำมารับประทานในเทศกาลสำคัญ ๆ เช่น ตรุษจีน
อีกทั้งเรื่องราวของเส้นบะหมี่ ยังได้ถูกถ่ายทอดผ่านบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรต่อกันมาตั้งแต่สมัยของ “ราชวงศ์ฮั่น (Han Dynasty)” ที่ปกครองประเทศจีนตั้งแต่ 206 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงค.ศ.220
แน่นอนละว่าเรื่องราวตรงนี้เอง ก็ดันไปตรงกันกับเรื่องราวที่คุณพี่นักสำรวจชาวอิตาลี “มาร์โค โปโล (Marco Polo)” ได้บันทึกเอาไว้ ในสมัยที่เขาได้มาเยี่ยมเยียน “กุบไล ข่าน” ยังแผ่นดินจีน
ถ้าหากว่าเรื่องราวการค้นพบซึ่งอ้างอิงจากหลักฐานทางโบราณคดี เป็นไปอย่างนั้นจริง ๆ ก็คงมีความเป็นไปได้อย่างสูงว่า “ชาวเอเชีย(หรือชาวจีน)” คือผู้ที่ริเริ่มทานเส้นบะหมี่หรือเส้นแป้ง เป็นกลุ่มแรกของโลก
เพราะการค้นพบเส้นพาสต้าของอิตาลีจากหลุมฝังศพของอารยธรรมอีทรัสคัน ที่ว่าเก่าแก่แล้ว (ในแบบที่ไม่ได้อ้างอิงมาจากจีนเนี่ย) ก็พบหลักฐานที่ย้อนอายุไปได้ถึงประมาณช่วงศตวรรษที่ 4 หรือ 1,700 ปีก่อน เท่านั้นเองจ้า
[มีใครสับสนบ้าง..กับเรื่องราวความเหมือนในความต่างของสองเส้นสายสุขภาพ “เส้นบุก vs เส้นแก้ว” ?]
ไม่แน่ใจว่ามีเพื่อน ๆ ที่เคยสงสัยกันไหม…
แต่ว่าเราเองก็เคยสงสัยว่า เอ้ะ ! ไอเจ้าเส้นใส ๆ ที่เราทานนี่ มันคือเส้นบุกหรือเส้นแก้ว กันแน่นะ ?
(เอ้ะ หรือมันคือวุ้นเส้นที่นำมานวดให้หนากันแน่นะ !?)
พอจะแยกกันออกไหมเอ่ยย ?
โอเค คือมันอย่างนี้
เส้นแก้ว (Kelp Noodles) จะมีลักษณะคล้ายวุ้นเส้นแต่มีความหนึบและกรุบกว่าวุ้นเส้น
โดยเจ้าเส้นแก้วนี้ ที่ทำมาจากสาหร่ายทะเลสีน้ำตาล ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ถูกคิดค้นโดยชาวเกาหลีใต้
เส้นแก้ว (Kelp Noodles)
ส่วนเส้นบุก (Shirataki Noodles) ก็จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แต่มีต้นกำเนิดต่างกัน เพราะว่าเส้นบุกผลิตมาจากการนำต้นบุก (Konjac plant) มาแปรรูปของชาวญี่ปุ่นนั่นเองจ้า
เส้นบุก (Shirataki Noodles)
โดยความแตกต่าง ที่ทำให้เส้นแก้วแตกต่างจากเส้นบุก ก็คือ
- ตัวเส้นแก้ว จะมีความใสกว่าเส้นบุก
- เส้นแก้วมีความยืดหยุ่นและความหนึบหนับ น้อยกว่าเส้นบุก
(ส่วนขนาดของเส้น เราแอบคิดว่ามีขนาดเท่า ๆ กันเสียมากกว่า
คือ ถ้าให้อ้างตามแหล่งอ้างอิงต่าง ๆ เค้าก็จะบอกว่าเส้นแก้วจะใหญ่กว่าเส้นบุก แต่ว่าจากประสบการณ์ส่วนตัวแล้ว เราคิดว่ามันก็ไม่เสมอไปเนอะ อาจไม่แตกต่างกันมากขนาดนั้น)
หากวัดกันที่ตัวเลขพลังงาน (kcal) แล้วเนี่ย เราก็จะพบว่าเส้นบุกนั้นให้พลังงานที่น้อยกว่าเส้นแก้วอยู่พอสมควรเลยละ
- โดยเส้นบุก ปริมาณ 100 กรัม จะให้พลังงานอยู่ที่ 10 kcal
- ในขณะที่ เส้นแก้ว ปริมาณ 100 กรัม จะให้พลังงานอยู่ที่ 20 kcal
แน่นอนว่าโดยคุณสมบัติของเส้นแก้วและเส้นบุกเนี่ย มันก็ดูจะเอนเอียงไปในเรื่องของนวัตกรรมการทานอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งก็ดูเป็นเส้นที่ผลิตในยุคสมัยใหม่
ยกตัวอย่างเช่น เส้นแก้ว ที่เพิ่งถูกคิดค้นโดยชาวเกาหลีได้ไม่นาน (ในปี ค.ศ. 1980) โดยใช้หลักการผลิตที่คล้ายกับการผลิตวุ้นเส้นจากต้นถั่วเขียวนี่ละ
ซึ่งเจ้าเส้นบุกเนี่ย ก็ว่ากันว่าถูกคิดค้นมาในช่วงเวลาใกล้เคียงกันกับเส้นแก้ว เพียงแต่ว่า เส้นบุกไม่ได้เป็นกระแสนิยมในฝั่งเอเชีย หรือในประเทศญี่ปุ่นกันสักเท่าไร…
แต่ดันไปเป็นกระแสฮอตฮิตในทางฝั่งทวีปอเมริกาแทน โดยเฉพาะในกลุ่มนักกีฬาชาวอเมริกัน
แล้วเพื่อน ๆ ทราบไหมว่า ?
ชาวอเมริกันเอง ยังมีฉายาเรียกเส้นบุกในอีกชื่อว่า “Miracle noodle”หรือ เส้นบะหมี่มหัศจรรย์ กันอีกด้วยนะ ! (ไม่แน่ใจว่าตอนนี้ยังเรียกฉายาแบบนี้กันอยู่ไหมนะ..)
[ปิดท้ายกันด้วยเรื่องราวชวนสงสัยสั้น ๆ ว่าทำไมเมนูเส้นของญี่ปุ่นอย่าง “ยากิโซบะ” ถึงไม่ได้ใช้เส้นโซบะในการผัด…]
ความหมายหากแปลตรง ๆ ของชื่อเมนู “ยากิโซบะ” คือ เส้นโซบะที่นำไปทอดหรือย่าง…
แต่เพราะว่าดั้งเดิมเมนูนี้ มีต้นกำเนิดมาจากเมนูเฉ่าเมี่ยน หรือบะหมี่ผัดของจีน (คล้ายกับผัดหมี่ฮกเกี้ยน)
ซึ่งเจ้าเส้นบะหมี่ผัดของจีนนี่ ในสมัยก่อนชาวญี่ปุ่นจะเรียกว่า เส้นโซบะจีน
แล้วเจ้าเส้นโซบะจีนเนี่ย มันก็คือเส้นบะหมี่ไข่ นั่นเองจ้า
(ไม่ได้เป็นเส้นที่มาจากต้นโซบะ หรือเส้นโซบะที่มีสีเทาขุ่น ๆ)
ซึ่งเจ้าบะหมี่ไข่ของจีนตรงนี้ ยังเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจที่ของเส้นราเมนอีกด้วยนะ (เพียงแต่ว่าวิธีการทำเส้นราเมนนั้น จะไม่มีไข่มาเป็นส่วนผสมเฉกเช่นบะหมี่ไข่ของจีน เพียงแค่มีสีเหลืองที่ทำให้ภายนอกมีลักษนะคล้ายกัน)
โอเค... มาที่อีกเหตุผลหนึ่งที่เราค้นหามา สำหรับสาเหตุที่คนญี่ปุ่นไม่นิยมใช้เส้นโซบะในการทำเมนูยากิโซบะ นั่นก็เพราะว่าเส้นโซบะนั้นไม่สามารถทนความร้อนในการผัดหรือทอดได้ดี คือ เหมาะกับการทานเย็น ๆ เสียมากกว่า
มิหนำซ้ำนะ..เส้นโซบะเองยังเไม่เหมาะกับการผสมทานกับซอสที่ออกรสหวานอย่างซอสยากิโซบะ อีกด้วยเช่นกัน
เพิ่มเติม : เส้นโซบะที่มีสีเทาขุ่น ๆ ทำมาจากเมล็ดของต้นโซบะ โดยนำเมล็ดมาบดเป็นผง ผสมน้ำและนวดเป็นแผ่น สามารถทานได้ทั้งแบบร้อนหรือเย็น
ซึ่งต้นโซบะฟังแล้วอาจจะดูงุนงงไปสักเล็กน้อย แต่หากเรียกเป็นชื่อภาษาอังกฤษแล้ว ก็อาจทำให้เราคุ้นหูกว่ากับชื่อของ ต้นบักวีตหรือเมล็ดบักวีต (Buckwheat) นั่นเองจ้า
ต้นบักวีตและเมล็ดบักวีต (Buckwheat)
ถ้าอย่างนั้นวันนี้พวกเรา InfoStory ก็ต้องขอจบเรื่องราวสบายสมอง ไว้ที่ตรงนี้ก่อนนะคร้าบ :):)
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
https://www.thespruceeats.com/chinese-noodles-recipe-694218
https://mgronline.com/goodhealth/detail/9600000083396
https://www.thespruceeats.com/what-are-kelp-noodles-5120083
https://spoonuniversity.com/.../top-10-tv-shows-every
...
https://myfoodbook.com.au/tips/types-of-noodles
https://www.bbc.com/thai/features-45933515
https://sistacafe.com/summaries/42986
อาหารสุขภาพ
สุขภาพ
ไลฟ์สไตล์
11 บันทึก
8
6
1
11
8
6
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย