Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
แค่สงสัย เลยอยากเล่า|中文秘密
•
ติดตาม
15 ก.พ. 2022 เวลา 02:00 • ประวัติศาสตร์
《หยวนเซียวทั้งที ไปชมโคมกับพี่ป๊ะน้อง | 元宵节》
“เทศกาลโคมไฟ” หรือ “หยวนเซียวเจี๋ย(元宵节)” เป็นหนึ่งในเทศกาลดั้งเดิมของจีนและเป็นสัญลักษณ์ของการสิ้นสุดเทศกาลตรุษจีน เทศกาลหยวนเซียวจะจัดขึ้นในวันที่ 15 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติจีน(农历正月十五)
เหตุที่เรียกว่า “หยวนเซียว” ก็เพราะคำว่า “หยวน(元)” แปลว่าแรก/ที่หนึ่ง; คำว่า “เซียว(宵)” แปลว่าค่ำคืน/กลางคืน เมื่อนำมารวมความหมายจึงได้ว่า “คืนแรก” ซึ่งในคืนหยวนเซียวถือเป็นคืนแรกของปีที่พระจันทร์เต็มดวงนั่นเอง
กล่าวกันว่าเทศกาลนี้มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว(周朝)โดยในขณะนั้นมีข้อห้ามชาวบ้านสามัญสัญจรไปมาและชุมนุมกันในยามค่ำคืนของเดือน 1 ซึ่งขัดกับบรรยากาศที่กำลังครึกครื้นเป็นอย่างมาก ภายหลังมีการผ่อนปรนข้อบังคับนี้ ต่อมาในสมัยพระเจ้าถังเสวียนจงแห่งราชวงศ์ถัง(唐朝玄宗帝)ได้กำหนดให้วันก่อนหน้าและหลังหยวนเซียว 1 วันเป็นวันหยุดราชการ โดย 3 คืนนี้ได้ยกเลิกข้อห้ามที่มีมาก่อนหน้า นับแต่นั้นมาเมื่อถึงเทศกาลนี้ราษฎรจึงได้ออกมาเที่ยวได้อย่างสนุกสนานนั่นเอง
- งานเฉลิมฉลองของพุทธ|佛教庆典 -
เรื่องราวที่เกี่ยวกับที่มาของเทศกาลโคมไฟเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าฮั่นหมิงตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก(东汉明帝)ซึ่งการเข้ามาของศาสนาพุทธในรัชกาลนี้ค่อยข้างรุ่งเรืองในจีนเป็นอย่างมาก พระองค์เป็นผู้สนับสนุนและอุปถัมภ์ศาสนาพุทธ มีอยู่มาวันหนึ่งพระองค์ทราบมาว่ามีภิกษุณีรูปหนึ่งมีนิสัยชอบจุดตะเกียงในวันที่ 15 เดือน 1 ตามปฏิทินจีน พระองค์จึงสั่งให้วังและบ้านเรือนของราษฎรทำเช่นเดียวกันเมื่อถึงวันนี้ ภายหลังจึงพัฒนามาเป็นเทศกาลโคมไฟ
- กลอุบายของเง็กเซียน|玉皇大帝诡计 -
ตำนานเล่าว่า: มีนกกระเรียนสวรรค์ตัวหนึ่งของเง็กเซียนได้บินลงมาเล่นบนโลกมนุษย์จนถูกชาวบ้านฆ่าตาย ด้วยความโกรธจึงคิดแผนสั่งล้างบางโดยการเผาหมู่บ้านของชาวบ้านที่ฆ่าในวันที่ 15 เดือน 1 แต่ลูกสาวได้ยินแผนของพ่อเสียก่อน จึงได้ลงมายังหมู่บ้านนั้นเพื่อเสนอกลอุบายหลอกเง็กเซียนโดยการให้หมู่บ้านประด้วยโคมแดง ก่อกองไฟและจุดประทัดขึ้น ซึ่งแผนนี้ก็ได้ผล นับแต่นั้นมา การกระทำเช่นนี้จึงกลายมาเป็นประเพณีนิยมอย่างในปัจจุบัน
- ทฤษฎีซันหยวน-ซันกวน|三元三官说 -
กล่าวกันว่า เทศกาลหยวนเซียวมีต้นกำเนิดมาจากศาสนาเต๋า ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่น ศาสนาเต๋าเป็นศาสนาสำคัญ โดยในนิกายเจิ้งอี(正一道)ได้แบ่งการบูชาเทพเจ้าออกเป็นสามภพหรือที่รู้จักกันในชื่อ “ซันกวนต้าตี้(三官大帝)” ประกอบด้วย: เจ้าแห่งผืนฟ้า (สวรรค์; 天官), เจ้าแห่งผืนปฐพี (โลก; 地官) และเจ้าผืนบาดาล (น้ำ; 水官) ซึ่งแต่ละองค์มีวันเกิดแตกต่างกันอยู่ 3 ช่วงคือ;
1.
เจ้าแห่งผืนฟ้า-ส้างหยวน เกิดวันที่ 15 เดือน 1(正月十五上元): ช่วงเวลานี้จะเป็นเทศกาล "หยวนเซียว(元宵节)" หรือ "ส้างหยวน(上元节)"
2.
เจ้าแห่งผืนปฐพี-จงหยวน เกิดวันที่ 15 เดือน 7(七月十五中元): ช่วงเวลานี้จะเป็นเทศกาล "พ้อต่อ(普渡节)" หรือ "อุลลัมพล(盂兰盆节)" หรือ "จงหยวน(中元节)"
3.
เจ้าแห่งผืนบาดาล-เซี่ยหยวน เกิดวันที่ 15 เดือน 10(十月十五下元): ช่วงเวลานี้จะเป็นเทศกาล "ลอยกระทง(水灯节)" แบบจีน หรือ "เซี่ยหยวน(下元节)"
ด้วยเหตุนี้ ในวันที่ 15 เดือน 1 จึงมีการจัดงานเทวาสมภพแก่เจ้าแห่งผืนฟ้าด้วยการจัดโต๊ะไหว้และจุดโคมถวายนั่นเอง
- เป็นวาเลนไทน์จีน!?|真正的中国情人节? -
แม้ในปัจจุบันเทศกาลนี้อาจจะไม่ได้เป็นเหมือนเทศกาลชีซี(七夕节)อย่างที่ทราบกันดีในปัจจุบัน แต่ในสมัยโบราณสองเทศกาลนี้กลับมีความเกี่ยวพันใกล้ชิดกันมากที่สุด
.
ในสมัยโบราณมีการกำหนดเคอร์ฟิวที่เข้มงวดเพื่อไม่ให้ผู้คนออกมาสัญจรและชุมนุมกันในยามค่ำคืน โดยทั่วไปผู้หญิงไม่มีสิทธิ์ได้ออกจากบ้านเท่าไหร่นัก ไม่ว่ามีหรือไม่มีเคอร์ฟิวก็ตาม
.
หลังการยกเลิกข้อห้ามดังกล่าวในสมัยพระเจ้าถังเสวียนจง เพื่อให้ประชาชนได้ออกมาท่องเที่ยวยามราตรี ซึ่งผู้หญิงก็ได้รับการอนุญาตให้ออกจากบ้านได้เช่นกัน ดังนั้นในวันหยุดอย่างนี้ทำให้ผู้คนต่างเพศมีโอกาสได้มาพบปะสังสรรค์กันมากขึ้น จนกลายมาเป็นวันวาเลนไทน์สไตล์จีนแท้ๆ เทศกาลแรกของปี รองลงมาคือเทศกาลชีซีนั่นเอง
- ประเพณีนิยมในเทศกาลหยวนเซียว|元宵习俗 -
-ทานขนมบัวลอย|吃元宵—汤圆-
เป็นไฮไลท์สำคัญของเทศกาลหยวนเซียวเลยก็ว่าได้ พอถึงช่วงตรุษจีน ลูกหลานก็จะกลับมาบ้านและเมื่อถึงเทศกาลหยวนเซียวจึงมีการทานขนมบัวลอยขึ้น เพราะคำว่า “ทังหยวน(汤圆)” ไปพ้องกับ “ถวนหยวน(团圆)” ที่แปลว่าพร้อมหน้าพร้อมตา
-ทายโคมปริศนา|猜灯谜-
เป็นความบันเทิงพื้นบ้านดั้งเดิมรูปแบบหนึ่งที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เมื่อถึงหยวนเซียวผู้คนก็จะแขวนโคมตามที่ต่างๆ และได้มีการเขียนคำกลอนหรือปริศนาคำทายห้อยไว้กับโคม เพื่อให้ผู้ที่สัญจรไปมาได้ลองเข้ามาเล่นเข้ามาทายกัน
-เชิดสิงโต|舞狮子-
เป็นศิลปะพื้นบ้านรูปแบบหนึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่าพันปี ซึ่งมีต้นกำเนิดในยุสามก๊กและได้รับความนิยมในสมัยราชวงศ์เหนือ-ใต้ ไม่ว่าเทศกาลไหนก็จะนิยมเชิดสิงโตเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้มารับชม
-ไล่หนู|逐老鼠-
ในสมัยอดีตชาวจีนจะนิยมเลี้ยงหนอนไหม เมื่อฤดูใบไม้ผลิมาถึง เหล่าสัตว์ที่จำศีลก็ได้ตื่นขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหนู ซึ่งเป็นตัวกินหนอนไหมของชาวบ้าน เมื่อถึงเทศกาลหยวนเซียวชาวบ้านก็จะต้มข้าวต้มมาเลี้ยงหนู เพื่อไม่ให้พวกมันมากินหนอนไหมอีก
-ส่งโคม|送花灯-
ในช่วงเทศกาลหยวนเซียว ครอบครัวจะส่งโคมให้กับลูกสาวที่เพิ่งแต่งงานใหม่ ญาติและเพื่อนฝูงที่ครอบครัวมีบุตรยากเพื่อความมงคล เพราะคำว่า “เติง(灯)” ที่แปลว่าโคม ไปพ้องกับ “ติง(丁)” ที่แปลว่าจำนวนประชากร เพื่อให้ครอบครัวนั้นมีบุตร
-ชมโคมชมจันทร์|元宵赏灯赏月-
เป็นกิจกรรมที่มาจากการยกเลิกเคอร์ฟิวในสมัยราชวงศ์ถัง ประชาชนสามารถออกจากบ้านมาท่องเที่ยวในยามราตรีได้ ทั่วทั้งเมืองประดับด้วยโคมหลากสีหลากชนิด นอกจากจะชมโคมแล้วยังมีการชมจันทร์ไปพร้อมๆ กันอีกด้วย
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
Facebook:
www.facebook.com/zhongwensmimi2021
Website:
zhongwensmimi.wixsite.com/zhongwensmimi
.
สามารถอ่านฉบับย่อได้ที่
www.instagram.com/zhongwens_mimi/
ตรุษจีน
ตรุษจีนchinesenewyear
เทศกาล
1 บันทึก
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เทศกาลดั้งเดิมของจีน|中国传统节日系列
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย