Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
แค่สงสัย เลยอยากเล่า|中文秘密
•
ติดตาม
1 ก.พ. 2022 เวลา 02:00 • ประวัติศาสตร์
《ฤดูหนาวผ่านไป แล้วใบไม้ผลิก็มาถึง | 中国新年—春节 》
“เทศกาลตรุษจีน” หรือ “ชุนเจี๋ย(春节)” เป็นหนึ่งในเทศกาลดั้งเดิมของจีนและเป็นเทศกาลหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เทศกาลนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 เดือน 12-15 เดือน 1 ของปีถัดไปตามปฏิทินจันทรคติจีน(农历腊月初八至正月十五)แต่ความคึกคักจะอยู่วันที่ 30 เดือน 12 ซึ่งเป็นวันส่งท้ายปี(农历腊月卅十除夕)วันที่ 1 เดือน 1 ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่(农历正月初一春节)และวันที่ 15 เดือน 1 ซึ่งเป็นเทศกาลโคมไฟและวันสุดท้ายของตรุษจีน(农历正月十五元宵节)
การฉลองปีใหม่ของชาวจีนสามารถกลับไปถึงเมื่อ 3000 กว่าปีก่อน ในช่วงสมัยราชวงศ์ซาง(商朝)แต่เพิ่งมาเรียกวันนี้เมื่อยุคสาธารณรัฐจีนเอง ต่อมาในยุคสาธารณรัฐจีนได้กำหนดให้ “ชุนเจี๋ย” เป็นเทศกาลตามกฎหมาย นอกจากนี้ทางรัฐบาลได้ให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมประเภทไม่ใช่วัตถุสิ่งของระดับชาติรุ่นแรกอีกด้วย
เทศกาลตรุษจีนได้เปลี่ยนมาจากกิจกรรมของการฉลองการเก็บเกี่ยวเป็นเทศกาลมงคลที่เก่าแก่ อันเป็นสัญลักษณ์ของความหวัง การชุมนุม การสังสรรค์และความกลมเกลียว
ตำนานของ "เหนียน"|年传说
ตำนานที่ 1 :
ในอดีตมีหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อ “เถาฮวาชุน(桃花村)” มักมีสัตว์ประหลาดสี่ขาตัวหนึ่งที่เรียกว่า “เหนียน(年)” ปรากฏตัวอยู่บ่อยครั้ง โดยปกติมันจะอาศัยอยู่ใต้ทะเล พอถึงวัน “ฉูซี(除夕)” ก็มักออกมาจับคนและสัตว์กินเป็นอาหาร ดังนั้นพอถึงวันนี้ผู้คนในหมู่บ้านจึงหวาดกลัวเป็นอย่างมาก
.
จนกระทั่งมาถึงวันสิ้นปีของปีหนึ่ง มีชรามาพักในหมู่บ้านแห่งนี้ ซึ่งเขามีวิธีรับมือกับมันโดยการประดับตกแต่งบ้านเรือนให้มีสีแดง เช่น โคมไฟ กระดาษแดง เป็นต้น เมื่อตัว “เหนียน” ออกมาก็ให้นำไม้ไผ่มาเผาจนเกิดเสียงดังหมือนระเบิด ซึ่งทำให้มันกลัวจนไม่กลับอีกเลย
.
ตั้งแต่นั้นมาพอถึงวันสิ้นปี (ฉูซี) ทุกบ้านจะติดกระดาษแดงเขียนกลอนคู่ไว้ที่ประตูบ้าน ประดับโคมแดง ใส่เสื้อแดงและนำปล้องไม้ไผ่โยนใส่กองไฟจนเกิดเสียงดัง (ยุคหลังพัฒนาไปเป็นประทัด) ซึ่งกิจกรรมนี้ในภาษาจีนเรียกว่า “กั้วเหนียน(过年)” หมายถึงการข้ามปีเก่าสู่ปีใหม่นั่นเอง
ตำนานที่ 2 :
ในสมัยพระเจ้าจู๋อี่แห่งราชวงศ์ซาง(商朝祖乙)ยังไม่มีปฏิทินใช้ ซึ่งทำให้เวลาเก็บเกี่ยวไม่ถูกต้องตามฤดูกาล ครั้งนั้นมีชายหนุ่มชื่อ “วั่นเหนียน(万年)” ได้สังเกตเห็นเงาต้นไม้สั้นยาวไม่เท่ากันตามวันเวลา เขาจึงประดิษฐ์นาฬิกาในยุคแรกที่เรียกว่า “นาฬิกาแดด(晷仪)” ขึ้น ต่อมาเขาก็ได้พัฒนามาเป็น “นาฬิกาน้ำหยด 5 ชั้น(五层漏壶)” ด้วยการทดลองอันแสนยาวนาน เขาก็พบหลักการสลับช่วงสั้นยาวของกลางวันกลางคืนคือ ระยะเวลาในรอบ 1 ปีกินเวลาประมาณ 360 วัน.
.
ต่อมาวั่นเหนียนคิดจะทำปฏิทินขึ้น ซึ่งเป็นปฏิทินสุริยคติตามรอบฤดูกาล เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา พระเจ้าจู๋อี่ได้ตั้งชื่อปฏิทินนี้ว่า “วั่นเหนียนลี่(万年历)” ซึ่งกลายมาเป็นคำเรียกปฏิทินพื้นบ้านชาวจีนมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการขอบคุณวั่นเหนียน ชาวบ้านจึงจัดงานเฉลิดฉลองแก่เขาในตอนต้นฤดูใบไม้ผลิก่อนการลงมือทำนากันต่อไป
ทำไมข้ามปีต้องสีแดง|过年为何都是红色?
ในสมัยโบราณสีแดงหมายถึง “การแสวงหาความโชคดีและความชั่วร้าย” สีแดงยังเป็นสีหลักของจีนอีกด้วย
.
ในช่วงฤดูหนาวถ้าผิงไฟก็จะรู้สึกอบอุ่น ซึ่งไฟก็เป็นสีแดง ดังนั้นสีแดงจึงหมายถึงความอบอุ่นได้เช่นกัน ดวงอาทิตย์ก็เป็นสีแดง ซึ่งถ้าไม่มีดวงอาทิตย์ทุกสรรพสิ่งบนโลกก็ไร้การกำเนิดขึ้น ดังนั้นสีแดงจึงเป็นหมายถึงความมีชีวิตชีวา นอกจากนี้หากยึดตามตำนานของ “เหนียน(年)” สีแดงนับว่าเป็นสีหนึ่งที่สามารถป้องกันสิ่งชั่วร้ายได้ด้วยเช่นกัน
นอกจากสีแดงแล้ว ยังใส่สีไหนได้บ้าง|除了红色,还可以穿哪些颜色?
●
สีดำ(黑色): เป็นสีของธาตุน้ำ; สัญลักษณ์ของความยุติธรรม เสียสละและปัญญา
●
สีแดง(红色): เป็นสีของธาตุไฟ; สัญลักษณ์ของความโชคดี มีชีวิตชีวาและสิริมงคล
●
สีเหลือง(黄色): เป็นสีของธาตุดิน; สัญลักษณ์ของพลังอำนาจและความเจริญรุ่งเรือง
●
สีขาว(白色): เป็นสีของธาตุโลหะ; สัญลักษณ์ของความตายและความโศกเศร้า
●
สีชิง(青色): เป็นสีของธาตุไม้; สัญลักษณ์ของความอ่อนเยาว์และความสดชื่น
เทพประตูสองพี่น้อง|门神传说
ในหนังสือ “ซานไห่จิง《山海经》” กล่าวว่า: มีภูเขาใหญ่ชื่อ “ตู้สั้ว(度朔山)” ตั้งอยู่กลางทะเล บนเขามีต้นท้อขนาดใหญ่ ซึ่งมีกิ่งก้านสาขายาวคดเคี้ยวไปไกลถึง 3000 ลี้ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกิ่งท้อเป็นประตูผี ซึ่งมีเทพประตูสองพี่น้องเฝ้ารักอยู่ คนหนึ่งชื่อ “เสินถู(神荼)” อีกคนชื่อ “อวี้เหล่ย์(郁垒)” เมื่อภูตผีตนใดก่อกวนจนวุ่นวาย เทพสองพี่น้องจะจับมันมามัดเชือกแล้วโยนลงเขาเพื่อให้เสือที่อยู่ด้านล่างกิน
.
ต่อมาพระเจ้าหวงตี้(黄帝)ได้กราบไหว้และบูชาพวกเขา ในภายหลังได้สั่งวาดภาพของเทพสองพี่น้องและเสือ แล้วนำไปติดตามบ้านเรือนต่างๆ เพื่อให้ช่วยป้องกันสิ่งอัปมงคลและอันตรายเข้าบ้าน
.
ในบางพื้นที่ได้แบ่งเทพประตูออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ เทพเหวินเหมิน(文门神)เทพอู่เหมิน(武门神)เทพฉีฝูเหมิน(祈福门神); เทพเหวินเหมินเป็นเทพแห่งบุ๋น; เทพอุ่เหมินเป็นเทพแห่งบู๊; เทพฉีฝูเป็นเทพที่ประกอบด้วยเทพดวงดาวฮก(福)ลก(禄)ซิ่ว(寿)
เทพแห่งความมั่งคั่งฝ่ายบู๊ |武财神
- จ้าวกงหมิง(赵公明)-
“จ้าวกงหมิง” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “จอมทัพจ้าวกง(赵公元帅)” เป็นเทพแห่งความมั่งคั่งและเป็น 1 ใน 4 เทพพิทักษ์ในศาสนาเต๋าอีกด้วย กล่าวกันว่าเขาเคยปกป้องห้องเล่นแร่แปรธาตุของปรมาจารย์จางเทียนซือ(张天师)ต่อมาชาวบ้านได้สร้างรูปเคารพแล้วนำไปไว้ที่ประตูเพื่อทำหน้าที่เป็นเทพประตู ในบรรดาหน้าที่ทั้งหมดที่เขาต้องแบกรับ นอกจาก “กำจัดโรคภัย ป้องกันโรคภัย” แล้ว ยังมีอีกหน้าที่หนึ่งคือ “การทำให้กิจการเกิดความมั่งคั่งและร่ำรวย” นั่นเอง
- กวนอู(关羽)-
“กวนอู” หรือที่รูจักกันในชื่อ “มหาราชแซ่กวน(关圣帝君)” เป็นหนึ่งในเทพพิทักษ์ทั้งศาสนาเต๋าและพุทธ แต่ในศาสนาเต๋าจะไหว้ในฐานะเทพแห่งความมั่งคั่ง เหตุที่นักธุรกิจหรือพ่อค้านิยมบูชามีเหตุผลด้วยกัน 3 ประการ คือ เป็นคนที่เชี่ยวชาญด้านการบัญชี; มีความจงรักภักดีและเครดิต; เมื่อธุรกิจล้มละลาย หากอธิษฐานต่อเทพกวนอู เขาก็จะกลับมาช่วยเรื่องกิจการนั่นเอง
ประเพณีนิยม|春节习俗
ข้อห้าม|禁忌
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
Facebook:
www.facebook.com/zhongwensmimi2021
Website:
zhongwensmimi.wixsite.com/zhongwensmimi
.
สามารถอ่านฉบับย่อได้ที่
www.instagram.com/zhongwens_mimi/
ตรุษจีนchinesenewyear
chinesenewyear
ตรุษจีน
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เทศกาลดั้งเดิมของจีน|中国传统节日系列
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย