9 ก.พ. 2022 เวลา 13:39 • สุขภาพ
โง่มาตั้งนาน!! หลังคนไข้โวยหมอ!! ถูกงูกัด เอาที่ขันชะเนาะไว้ ออกทำไม!!!
3
เพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ โพสต์ให้ความรู้ที่เราเข้าใจผิดมานาน
"ถูกงูกัด ไม่ต้องขันขะเนาะ แต่รีบนำส่งแพทย์ครับ"
มีความสงสัยกันเกิดขึ้นจากทวิต ของคุณหมอท่านหนึ่ง ระบุว่า "คนไข้ถูกงูกัดเท้า เอาผ้ารัดขา ขันชะเนาะมาเต็มที่ มาถึง ER เราให้คลายผ้าออก คนไข้โวยวายใหญ่เลย บอกว่าเดี๋ยว​พิษเข้าสู่หัวใจนะ ใช้เวลาอธิบายนานมาก กว่าจะเข้าใจ //เหนื่อย"
ซึ่งใช่เลยครับ ! แม้ว่าหลายคนอาจจะเคยเรียนมาสมัยลูกเสือเนตรนารี ว่าถูกงูกัดให้ขันชะเนาะ
แต่ปัจจุบัน แนวปฏิบัติคือ ไม่ให้ทำนะครับ ! เพราะเกิดปัญหาเรื่องเนื้อตาย จากการที่เลือดไม่เป็นเลี้ยงอวัยวะ จนต้องตัดแขนตัดขาได้นะครับ
ดูแนวทางที่ถูกต้องตามเนื้อหาที่แชร์มานี้ครับ
#ถูกงูกัดไม่ไห้ขันชะเนาะ แล้ว ต้องทำอย่างไร
1. ตั้งสติให้มั่นไม่ตื่นตกใจเกินไป
2. สังเกตลักษณะของงู หรือถ่ายรูปงูถ้าทำได้
3. ร้องขอความช่วยเหลือ
4. #ไม่แนะนำให้ขันชะเนาะ เพราะไม่สามารถป้องกันการดูดซึมพิษงูได้
และ #ถ้ารัดแน่นเกินไปอาจทำให้เกิดเนื้อเน่าตายได้
5. ควรรีบมาโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด และขยับส่วนที่ถูกกัด ให้น้อยเฉพาะเท่าที่จำเป็น เพื่อลดการดูดซึมพิษงู
6. หากงูเห่าพ่นพิษข้าตา ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาดปริมาณมาก
7. ผู้ป่วยที่ถูกงูระบบประสาทกัด อาจเป็นอัมพาตทั่วตัวคล้ายกับเสียชีวิตแล้ว ไม่ควรหยุดการช่วยเหลือ ให้รีบส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเพื่อช่วยการหายใจโดยเร็วที่สุด
ข้อมูลจาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
จริงๆ ถ้าถูกงูกัดก็ต้องตั้งสติ แล้วดูลักษณะของงูหรือถ่ายรูปงูถ้าทำได้ และร้องขอความช่วยเหลือ ไม่แนะนำให้ขันชะเนาะ (Tourniquet)
เพราะไม่สามารถป้องกันการดูดซึมพิษงูได้ และ ถ้ารัดแน่นเกินไปอาจทำให้เกิดเนื้อเน่าตายได้
แต่ควรรีบมาโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด และขยับส่วนที่ถูกกัดให้น้อยเฉพาะเท่าที่จำเป็น เพื่อลดการดูดซึมพิษงู
ถ้าถูกงูเห่าพ่นพิษเข้าตา ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาดปริมาณมากผู้ป่วยที่ถูกงูระบบประสาทกัด อาจเป็นอัมพาตทั่วตัวคล้ายกับเสียชีวิตแล้ว ไม่ควรหยุดการช่วยเหลือ ให้รีบส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเพื่อช่วยการหายใจโดยเร็วที่สุด
งั้นก็เก็บการขันชะเนาะ ไว้ใช้ปฐมพยาบาลในการห้ามเลือดจะดีกว่า โดยรัดเหนือบาดแผล เพื่อกันไม่ได้เลือดจากเส้นเลือดแดงไหลลงสู่อวัยวะส่วนที่บาดเจ็บ
โดยเราจะใช้วิธีขันชะเนาะกับบาดแผลที่มีเลือดออกอย่างรุนแรงตามแขนและขาเท่านั้น เพราะอวัยวะดังกล่าวเป็นกระดูกท่อนเดียว เมื่อรัดเชือกให้แน่น เส้นเลือดแดงก็จะฟีบติดกับท่อนกระดูก ยับยั้งการไหลของเลือดได้
Ref:
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา