Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
พี่จ้วน
•
ติดตาม
11 ก.พ. 2022 เวลา 12:12 • สุขภาพ
มาจ่ะ วันนี้มาพูดถึงเรื่องอาการ #ท้องผูก พอหมดมุขตลก สาระก็โผล่มาแล้วจ้า
นิยามของ #ท้องผูกเรื้อรัง หมายถึง
1) ขับถ่ายอุจจาระลำบาก เช่น ต้องเบ่งอุจจาระอย่างมาก หรือรู้สึกว่าทวารหนักถูกอุดกั้นไว้ขณะถ่าย หรือ ต้องใช้วิธีต่าง ๆ ช่วยเพื่อให้ถ่ายอุจจาระ เช่น ต้องใช้ยาระบาย ยาสวนทวาร ใช้นิ้วล้วงหรือกดรอบทวารหนัก
หรือ 2) รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด
หรือ 3) อุจจาระแข็ง
หรือ 4) ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ (หากไม่ใช้วิธีข้างต้นช่วย) ทั้งนี้มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อเนื่องมาอย่างน้อย 3 เดือน
จาก Thailand Chronic Constipation Guideline ปี 2021 ของ Thai Neurogastroenterology and Motility Society (
https://bit.ly/34P1t7i
)
เราจะจัดการอาการท้องผูกเรื้อรังโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันยังไงได้บ้าง ก่อนที่จะไปใช้ยา
ตรงนี้นำมาเฉพาะส่วนที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ด้วยตัวเองนะครับ ค่อย ๆ กดอ่านทีละรูป
ครั้งหน้าค่อยมาต่อเรื่องยานะครับ
1.) กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้คนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป รับประทานอาหารที่มีกากใย (fiber) อย่างน้อยวันละ 25 กรัม (หรือผักผลไม้ประมาณ 400 กรัม)
2.) อาหารที่มีกากใยสูงจะช่วยให้เกิดมวลอุจจาระและกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวทำให้ขับถ่ายอุจจาระได้ดี
3.) ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอเพื่อให้อุจจาระมีความนุ่มและบรรเทาอาการท้องผูก
1.) การศึกษาในอดีตสนับสนุนว่าการดื่มน้ำน้อยมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะท้องผูกเรื้อรัง
2.) แต่ต่อมามีการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยการสำรวจประชากร 14,024 ราย พบว่าปริมาณน้ำที่ดื่มต่อวันไม่สัมพันธ์กับความเสี่ยงของภาวะท้องผูกเรื้อรัง ส่วนการศึกษาแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุมในผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรังโดยรับประทานกากใยอาหารขนาดสูง (25 กรัมต่อวัน) ร่วมกับดื่มน้ำ เปรียบเทียบระหว่างน้ำปริมาณปกติ (1.1 ลิตรต่อวัน) และน้ำปริมาณมาก (2.1 ลิตรต่อวัน)
3.) พบว่าหลังจากผ่านไป 2 เดือน ทั้งสองกลุ่มมีการขับถ่ายถี่ขึ้นและใช้ยาระบายน้อยลงแต่กลุ่มที่ดื่มน้ำปริมาณมากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้มากกว่า
4.) สรุป แนะนำให้ดื่มน้ำให้เพียงพอร่วมกับรับประทานอาหารที่มีกากใย
1.) กาแฟที่มีคาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นลำไส้ใหญ่ส่วนปลายให้บีบตัวได้ดีกว่ากาแฟชนิดไม่มีคาเฟอีนและการดื่มแค่น้ำเปล่า ผลที่ได้ใกล้เคียงกับการรับประทานอาหารขนาด 1,000 กิโลแคลอรี
2.) การศึกษาโดยการสำรวจในประชากรทั่วไปเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการดื่มชาและกาแฟกับภาวะท้องผูกเรื้อรัง พบว่าชามีความสัมพันธ์กับภาวะท้องผูกเรื้อรัง ขณะที่กาแฟมีความสัมพันธ์ในลักษณะตรงข้าม (ลดภาวะท้องผูกเรื้อรัง)
3.) ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบแบบสุ่มที่ศึกษาถึงผลโดยตรงของการดื่มชาและกาแฟในผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรัง และยังไม่สามารถแนะนำถึงปริมาณของชาและกาแฟที่ชัดเจนได้
4.) สรุปคือ แนะนำให้ดื่มกาแฟในปริมาณที่เหมาะสมก็พอ และให้สังเกตตัวเองหากดื่มชาแล้วทำให้ท้องผูก ควรหลีกเลี่ยง
1.) การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของลำไส้ด้วยจุลินทรีย์บางชนิดพบว่าสามารถเพิ่มการบีบตัวและการเคลื่อนไหวของลำไส้ได้
2.) มีการศึกษาหลายชิ้นที่สนับสนุนสนับสนุนประโยชน์ของโพรไบโอติกส์ในการรักษาภาวะท้องผูกเรื้อรัง
3.) แม้จะมีหลักฐานมากขึ้นถึงประโยชน์ของโพรไบโอติกส์ในการรักษาท้องผูกเรื้อรัง แต่เนื่องจากมีความความต่างแบบ (heterogeneity) ของการวิจัยสูง จึงยังไม่สามารถแนะนำโพรไบโอติกส์ตัวใดตัวหนึ่งสำหรับการรักษาภาวะท้องผูกเรื้อรังโดยทั่วไปได้
1.) ข้อมูลจากการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามถึงความสัมพันธ์ของการออกกำลังกาย (physical activity) กับอาการท้องผูก ในผู้ป่วยที่มีและไม่มีภาวะท้องผูกเรื้อรังพบว่า
อาการท้องผูกมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเนือยนิ่ง (sedentary behavior) ที่มากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน (OR 1.25,95% CI 1.17-1.34) และการออกกำลังกายที่น้อยกว่า 60 นาทีต่อวัน (insufficient exercise) (OR 1.26, 95% CI 1.16-1.36)
2.) การศึกษาไปข้างหน้าแบบสุ่มในผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรัง เปรียบเทียบระหว่างการออกกำลังกายโดยการเดิน 60 นาทีต่อวัน เป็นจำนวน 3 วันต่อสัปดาห์ นาน 12 สัปดาห์ร่วมกับการปรับอาหาร เทียบกับการปรับอาหารอย่างเดียว พบว่า การออกกำลังกายควบคู่กับการปรับอาหารนั้นทำให้ความรุนแรงของอาการท้องผูก (PAC-SYM symptoms score) น้อยกว่ากลุ่มที่ปรับ
อาหารอย่างเดียว (1.31 ± 0.24 เทียบกับ 1.58 ± 0.44 , P = 0.02)
3.) ข้อมูลจากการศึกษาแบบ meta-analysis ที่รวบรวมการศึกษาทั้งหมด 9 การศึกษาแบบสุ่มเปรียบเทียบระหว่างการออกกำลังกายและไม่ได้ออกกำลังกายในผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรัง พบว่าการออกกำลังกายช่วยลดอาการท้องผูกได้ (relative risk, RR 1.97, 95% CI 1.19-3.27) โดยการออกกำลังกายส่วนใหญ่นั้นเป็นระดับปานกลางถึงมาก (moderate to vigorous exercise)
4.) นอกจากนี้การวิเคราะห์กลุ่มย่อยพบว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิค (aerobic exercise) ช่วยลดอาการท้องผูกได้ (RR 2.42, 95% CI 1.34-4.36)
5.) ในขณะที่การออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิค (anaerobic exercise) ไม่มีผลต่ออาการท้องผูก (RR 0.85,95% CI 0.70-1.03)
6.) สรุป แนะนำให้ออกกำลังกาย โดยเฉพาะแบบแอโรบิค เช่น ว่ายน้ำ เดินเร็ว เต้น กระโดเชือก วิ่ง ปั่นจักรยาน และอื่น ๆ ที่ต้องใช้ระยะเวลานานในการออกกำลังกายและทำให้ต้องหายใจเข้าเยอะ
1.) การถ่ายอุจจาระเป็นกิจวัตร (toileting routine) อาจช่วยบรรเทาอาการท้องผูก เช่น ช่วงเวลาหลังตื่นนอน หลังออกกำลังกาย หลังรับประทานอาหารที่มีกากใย หรือกาแฟ และทุกครั้งที่มีความรู้สึกปวดท้องอยากถ่ายอุจจาระ (urge)
2.) การถ่ายอุจจาระเป็นกิจวัตรและการใส่ใจ (awareness) ต่อความรู้สึกปวดท้องอยากถ่ายอุจจาระเป็นปัจจัยเสริมร่วมกับ gastro-colic reflex และการบีบตัวอย่างแรงของลำไส้ใหญ่ที่นำไปสู่การถ่ายอุจจาระ (high amplitude propagated contraction) ที่มักเกิดขึ้นหลังอาหารและหลังตื่นนอนในการช่วยบรรเทาอาการท้องผูก
3.) รายงานการศึกษาเชิงสังเกต (observational study) พบว่าการอุจจาระเป็นกิจวัตรร่วมกับการออกกำลังกายที่เหมาะสมและดื่มน้ำให้เพียงพอช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้
1.) การศึกษาในอาสาสมัครสุขภาพแข็งแรงของประเทศญี่ปุ่น เปรียบเทียบค่าความดันในช่องท้องและมุมเปิดระหว่างไส้ตรงกับทวารหนัก (anorectal angle) ระหว่างท่านั่งปกติและท่าประเภทนั่งยอง (squatting) พบว่า ท่าประเภทนั่งยองมีมุมเปิดระหว่างไส้ตรงกับทวารหนักกว้างกว่า (126 องศาเทียบกับ 100 องศา, P < 0.05) และมีแนวโน้มของค่าความดันในช่องท้อง
ที่เพิ่มขึ้นในขณะเบ่งน้อยกว่าท่านั่งปกติ (53 mmH2O เทียบกับ 65mmH2O, P = 0.056)
2.) มีการศึกษาผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรังที่มีปัญหาการเบ่งถ่ายอุจจาระผิดปกติ (dyssynergic defecation) เปรียบเทียบระหว่างท่านั่งปกติบนชักโครกกับท่าโน้มลำตัวส่วนบนมาข้างหน้าโดยวางข้อศอกบนข้อเข่า (Thinker position) พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 50 มีการเบ่งขับถ่ายที่ดีขึ้น โดยพบว่า ท่าโน้มลำตัวส่วนบนมาข้างหน้าโดยวางข้อศอกบนข้อเข่านั้น มีมุมเปิดระหว่างไส้ตรงกับ
ทวารหนักกว้างกว่า (134 องศาเทียบกับ 113 องศา, P = 0.03) มีความยาวของกล้ามเนื้อ puborectalis มากกว่า (15.2 เซนติเมตร เทียบกับ 12.9 เซนติเมตร, P = 0.005) และการเคลื่อนที่ของไส้ตรงและทวารหนัก (perineal plane distance) ได้ต่ำกว่า (9.3 เซนติเมตร เทียบกับ 7.1 เซนติเมตร, P = 0.02)
3.) มีการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามถึงการขับถ่ายในอาสาสมัครสุขภาพแข็งแรง เปรียบเทียบระหว่างการใช้และการไม่ใช้อุปกรณ์รองใต้เท้า (defecation posture modification device) ในขณะนั่งบนโถส้วมชักโครกเพื่อยกเข่าให้สูงขึ้นและงอข้อสะโพกมากขึ้นให้คล้ายกับท่าประเภทนั่งยอง (squatting) พบว่าหลังการใช้อุปกรณ์ดังกล่าวทำให้อาสาสมัครรู้สึกขับถ่ายได้สุด (bowel emptiness) มากขึ้น (OR 3.64, 95% CI 2.78-4.77) และใช้แรงในการเบ่งขับถ่ายลดลง (OR 0.23, 95% CI 0.18-0.30)
ตรงนี้อาจจะนำไปทำเองไม่ได้ เพราะต้องทำโดยบุคลากรที่ได้รับการฝึกมาแล้ว แต่รู้ไว้ใช่ว่าครับ
1.) การศึกษา RCT ในผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรังที่ไม่มีสาเหตุแน่ชัด (functional constipation) 60 รายพบว่า การนวดท้อง (abdominal massage) อย่างมีแบบแผนชัดเจนตามแนวของลำไส้ใหญ่ครั้งละ 15 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์โดยบุคลากรที่ได้รับการฝึก สามารถบรรเทาอาการท้องผูกอาการโดยรวมของระบบทางเดินอาหารและเพิ่มจำนวนการขับถ่ายอุจจาระ
ได้มากกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับแต่ยาระบาย ทั้งนี้ไม่พบว่าลักษณะอุจจาระหรือจำนวนยาระบายที่ได้รับหลังสิ้นสุดการรักษาในผู้ป่วยแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแม้ผู้ป่วยที่ได้รับการนวดท้องจะได้รับอนุญาตให้ลดยาระบายได้เองก็ตาม
2.) อีกการศึกษาที่เป็นแบบสุ่มในผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรังที่ไม่มีสาเหตุแน่ชัด (functional constipation) ตามเกณฑ์การวินิจฉัย Rome II ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีและไม่ได้ใช้ยาระบายจำนวน 35 ราย พบว่า หลังการนวดท้องโดยผู้วิจัยอย่างมีแบบแผนชัดเจนตามแนวของลำไส้ใหญ่ครั้งละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ร้อยละ 47 ของผู้ป่วยที่ได้รับการนวดท้องอาการดีขึ้นจนไม่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยท้องผูกเรื้อรังข้างต้น ในขณะที่กลุ่มควบคุมยังมีอาการเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยท้องผูกเรื้อรังทุกราย
หลังสิ้นสุดการศึกษา นอกจากนี้กลุ่มที่ได้รับการนวดท้องยังมีคุณภาพชีวิตในด้านร่างกาย (physical) จิตสังคม (psychosocial) ที่ดีกว่าและมีความวิตกกังวลน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.0001)
ท้องผูก
อาการท้องผูก
บันทึก
2
3
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย