13 ก.พ. 2022 เวลา 07:56 • ธุรกิจ
ผู้บริหารองค์กรใหญ่ สวมหัวใจเถ้าแก่ (Corporate Entrepreneurship)
7
โดย พฤฒิพงษ์ เชิดเกียรติกุล
8
ในบทความก่อนหน้านี้ ผู้เขียนได้บรรยายถึง Business Disruption ในแง่คิดที่แตกต่างออกไป โดยให้มองเชิงรุกในด้าน Technology Vision & Strategy เพื่อให้ผู้บริหารองค์กรสามารถ นำไปประยุกต์ใช้ได้จริง และเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส
ในความตอนนี้ จะกล่าวต่อเนื่องถึง Corporate Entrepreneurship ซึ่งขอเรียกให้เข้าใจง่ายว่า “ผู้บริหารองค์กรใหญ่ สวมหัวใจเถ้าแก่” ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้บริหาร ที่จะนำพาองค์กรให้ปรับตัวได้ทันท่วงที ในยุคหลังโควิด ที่มีความท้าทายทางธุรกิจนานานับประการ
เกริ่นนำ: องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ล้วนแล้วมีจุดเริ่มต้นจาก กิจการขนาดเล็กๆ กิจการห้องแถว หรือธุรกิจแบบ Start-Up โดยที่ในยุคแรกก่อตั้ง บรรดาเจ้าของกิจการรุ่นก่อตั้ง (เถ้าแก่) ได้ฝ่าฟัน ผ่านร้อนผ่านหนาว จนสามารถพัฒนา ขยายกิจการเล็ก ๆ จนเติบใหญ่กลายเป็น องค์การขนาดใหญ่ระดับชาติ หรือระดับโลกได้ แต่ในขณะเดียวกัน โครงสร้างขององค์กรก็เริ่มเติบโตซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้การตัดสินใจต่าง ๆ อาจต้องผ่านลำดับบังคับบัญชาหลายลำดับชั้น ที่ล่าช้า หลายขั้นตอน จนกระทั่งองค์กรเหล่านั้นอาจจะค่อยๆสูญเสียคุณสมบัติ ของความเป็นเถ้าแก่ เจ้าของกิจการ ที่เคยกล้าตัดสินใจ กล้าคิดต่าง สร้างสรรค์สิ่งใหม่ กลับกลายเป็นล่าช้าอืดอาด
1
ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ หากเกิดขึ้นในระยะยาว บริษัทขนาดใหญ่เหล่านั้น อาจต้องเผชิญกับความท้าทาย จากองค์กร Start-Up ใหม่ๆขนาดเล็ก ที่รวดเร็วกว่า และสร้างสรรค์กว่า สุดท้ายแล้ว บริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องเผชิญกับความท้าทายเหล่านี้ ก็ตกอยู่ในสถานการณ์ที่เรียกว่า “Embattled Corporations” คือองค์กรที่อยู่ในภาวะกระเสือกกระสนดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ในท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ดุเดือดและปั่นป่วน
จุดแข็ง และคุณลักษณะขององค์กรขนาดใหญ่: โดยทั่วไปแล้ว องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ จะมีข้อได้เปรียบในด้านทรัพยากร ทั้งงบประมาณ การลงทุน, การบริหารงานที่เป็นระบบกว่า, เทคโนโลยีที่นำมาใช้งาน, และสำคัญที่สุด บุคลากรที่มีขีดความสามารถ ซึ่งองค์กรขนาดใหญ่ จะสามารถดึงดูดพนักงานที่มีความสามารถเข้ามาร่วมงานได้จำนวนมาก ในทางกลับกัน บุคลากรในองค์กรใหญ่ ก็จะได้รับความมั่นคงในการทำงาน ได้รับผลตอบแทนและสวัสดิการที่ดีกว่า มี career path ที่ไปได้ไกล พนักงานระดับบริหารที่มีความสามารถ มีโอกาสได้รับผิดชอบงานที่ครอบคลุมหลายประเทศ หรือทวีป มีรายได้ระดับ หลายแสน หรือหลักล้านต่อเดือน
1
คิดแบบเถ้าแก่ (Entrepreneurship): ด้วยกับดัก เรื่องขนาดขององค์กรที่อาจจะเทอะทะ งุ่มง่าม องค์กรยักษ์ใหญ่บางแห่ง อาจพลาดท่าเป็นไดโนเสาร์ตกยุค ในชั่วพริบตา และเพื่อป้องกันมิให้เกิดสถานการ์ดังกล่าว องค์กรขนาดใหญ่ (Large Scale Corporations) ควรต้องปลูกฝัง Entrepreneur Mindset (สำนึกแบบเถ้าแก่ เจ้าของกิจการ) ให้เป็นหนึ่งในค่านิยมหลัก (Core Value) ของบริษัท และขอให้พิจารณา แผนภูมิที่ 1 ซึ่งเปรียบเทียบ ความเป็นเจ้าของกิจการ ในสองรูปแบบ
กับดักนักบริหารในองค์กรใหญ่ (Corporate Leader Error Traps): จากแผนภูมิที่ 1 ด้านบน จะขอชี้ให้เห็นประเด็นที่นักบริหารในองค์กรใหญ่อาจติดกับดักได้ ยกตัวอย่างเช่น:
- การหลีกเลี่ยงการตัดสินใจ (Risk Avoidance) เพียงเพื่อจะรักษา Career Record ให้ดูดี ไม่อยากไปเสี่ยงสร้างความผิดพลาด
- การละเลยไม่บริหารทรัพยากรให้เหมาะสม เพียงเพราะว่า ไม่ใช่เงินของตัวเอง จึงใช้ไปอย่างไม่ระมัดระวัง
- มุ่งสร้างผลงานระยะสั้น เพื่อจะได้เลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้นเร็วๆ โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบระยะยาว ที่อาจทิ้งไว้เบื้องหลัง
- สร้างระบบอุปถัมภ์ขึ้น (Patronage System) โดยมิได้ตั้งใจ เช่น เลือกพิจารณา สนับสนุนเฉพาะผู้ที่ยอมรับใช้ และกีดกันผู้ที่เห็นต่าง
2
เพื่อป้องกันสถาณการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เหล่านั้น การปลูกฝัง Corporate Core Value ในเรื่อง Entrepreneurship ให้กับผู้บริหารในองค์กร จึงเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญยิ่ง Corporate Leaders ต้องมีจิตสำนึกความเป็นเจ้าของกิจการ ซึ่งถือว่าเป็น leadership accountability ในรูปแบบหนึ่ง
Paradox of Corporate Entrepreneurship: ความย้อนแย้ง ในการปลูกฝังหัวใจเถ้าแก่ (จิตสำนึกแบบเจ้าของกิจการ) ให้กับผู้บริหารในองค์กรใหญ่ ในการสร้างจิตสำนึกแบบเถ้าแก่ (Corporate Entrepreneurship) มี ปัจจัยสำคัญที่ทางผู้บริหาร ต้องเข้าใจและสร้างความสมดุล ใน 4 มิติ ดังนี้
1
1) Direction - ความชัดเจนในทิศทาง และเป้าหมายขององค์กร ถ้าทิศทางและเป้าหมายองค์กรน้อยไปจนไม่ชัดเจน ผู้บริหารก็อาจริเริ่มแนวคิดใหม่ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กรเลย แต่ในทางกลับกัน ถ้าทิศทางมากเกินไป ก็จะสร้างความสับสน
2) Space - พื้นที่ทางความคิด และเวลาในการคิดสร้างสรรค์ – ถ้าองค์กรไม่ให้พื้นที่ทางความคิด โอกาสในการริเริ่มสิ่งใหม่ก็ยากขึ้น แต่ในทางกลับกัน ถ้าพื้นที่ทางความคิดมีมากเกินสมดุล พนักงานและผู้บริหารก็อาจจะไม่ได้โฟกัสกับงานประจำ แต่มาหมกมุ่นกับการริเริ่มแนวคิดใหม่ๆจนมากเกินพอดี
3) Regulation Boundaries - ขอบเขตทางกฎระเบียบขององค์กร ต้องมีความชัดเจนและหนักแน่น เพื่อเป็นแนวทางมิให้มีการใช้ช่องโหว่ทางกฎหมาย เพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางธุรกิจ แต่ต้องไม่หยุมหยิมจนกลายเป็นอุปสรรคเสียเอง
4) Support - การให้ความสนับสนุนที่เหมาะสมโดยองค์กร จะช่วยให้ผู้บริหาร และพนักงานสามารถทำงานประจำ และริเริ่มแนวคิดใหม่ๆ ได้อย่างเหมาะสม ถ้าปราศจากการสนับสนุนในด้านทรัพยากรที่เหมาะสม ผู้บริหารอาจจะหาทางออก แก้ปัญหาเอาเอง หรือไม่สามารถสร้างสรรค์ตัดสินใจได้อย่างเจ้าของกิจการ แต่ในทางกลับกัน ถ้ามีทรัพยากรมากเกินความจำเป็น ก็จะสิ้นเปลือง ทำให้ต้นทุนการสร้างสรรค์ใหม่ๆ สูงมากโดยไม่จำเป็น
ขอให้พิจารณา แผนภูมิที่ 2 (จุดสมดุลในการปลูกฝังจิตสำนึกเจ้าของกิจการ) เพื่อให้เข้าใจประเด็นความย้อนแย้ง ที่อาจเกิดขึ้นได้
2
บทสรุป
ในองค์กรขนาดใหญ่ (และรวมไปถึง SME ด้วย) การปลูกฝังจิตสำนึกเจ้าของกิจการ (Corporate Entrepreneurship) ให้กับผู้บริหารในองค์กร เป็นเรื่องที่จำเป็นมาก ทั้งนี้เพื่อให้องค์กรขนาดใหญ่ ยังรักษาความสามารถในการปรับตัว การตัดสินใจที่รวดเร็ว และมีความยืดหยุ่น (Resilience)
ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันได้อย่างทรงประสิทธิภาพ ในท่ามกลางสถาณการณ์ทางธุรกิจที่ดุเดือด โดยคู่แข่งรายใหม่ๆ ที่ถึงแม้จะมีขนาดเล็กกว่า แต่ก็มาพร้อม Cutting edge technology ที่มิอาจประมาทได้เลย
และ ผู้บริหารจำเป็นต้องเข้าใจ ปัจจัยใน 4 มิติ และสร้างสมดุลที่เหมาะสมสำหรับแต่ละองค์กร เพื่อให้เกิด Corporate Entrepreneurship ได้อย่างยั่งยืน
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา