Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Executive Café
•
ติดตาม
21 ก.พ. 2022 เวลา 05:25 • ธุรกิจ
บทความ: Human Performance - สมรรถภาพของมนุษย์ 🏃🏻♀️🏃
1
โดย พฤฒิพงษ์ เชิดเกียรติกุล
ในบทความก่อนหน้านี้ ผู้เขียนได้บรรยายถึงกรอบความคิดในการบริหารอุตสาหกรรมที่กำลังมี การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ (Industrial Paradigm Shift) สี่ประเด็นด้วยกัน กล่าวคือ Mass Customization, Speed (to market) with Accuracy, Connectivity & Digitization และ Zero Incident is Attainable เพื่อให้ผู้ประกอบการและ ผู้เกี่ยวข้องในวงการอุตสาหกรรมได้เห็นภาพความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น
1
ในบทความตอนนี้ จะขอหยิบยก แนวคิดสำคัญประการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับ Paradigm Shift ในประเด็น Zero Incident is Attainable ซึ่งเมื่อกล่าวถึงเรื่องนี้แล้ว จะขอกล่าวถึงแนวคิดที่เรียกว่า Human Performance (สมรรถภาพของมนุษย์) ซึ่งเป็นวิวัฒนาการทางความคิดต่อเนื่องมาจากเรื่องของ Human Factor และ Advanced Safety Management
1
ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเรื่องของการบริหารความปลอดภัย ในยุคเริ่มแรก นับตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา บรรดา ผู้ประกอบการได้เรียนรู้ว่าความผิดพลาดที่เกิดจากการบริหารความปลอดภัยที่ล้มเหลว สามารถนำไปสู่หายนะทางธุรกิจและการสูญเสียชีวิต อย่างใหญ่หลวง
ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเลียม ได้เริ่มต้น การบริหารความปลอดภัยสมัยใหม่ เมื่อประมาณ 80 ปีที่แล้วมา โดยเน้น เรื่องของ Compliance : Personal Safety โดยมีการสร้าง Operating Procedure และ Work Instruction ที่ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า “คนงานจะต้องมีวินัยและมีความตั้งใจทำตาม Work Instruction ทุกประการ แล้วคนงานก็จะปลอดภัย”
1
แนวคิดนี้ได้ พิสูจน์มาแล้วว่ามีส่วนช่วยป้องกันอุบัติเหตุได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากนอกจากตัวผู้ปฏิบัติงานแล้วยังมีปัจจัยที่มีผลกระทบอื่นๆ อีกมากมาย ในระหว่างการปฏิบัติงาน
2
ดังนั้น ในยุคต่อมาแนวคิดของการบริหาร ความปลอดภัยจึงได้ต่อยอดไปสู่ Safety in Design: Process Safety
มีการมุ่งเน้นเรื่องของวิศวกรรมเชิงป้องกัน คิดค้นระบบการผลิตที่ปลอดภัยมากขึ้น จากการพัฒนามาถึงขั้นนี้ทําให้อัตราการเสียชีวิต หรืออุบัติเหตุขั้นร้ายแรง ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
1
อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าองค์กรเหล่านั้น ได้มุ่งเน้นการบริหารทั้ง Personal Safety และ Process Safety อย่างเต็มที่แล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถลดความสูญเสียชีวิตและ ภัยพิบัติจากอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์ได้อย่างแท้จริง
นั่นจึงเป็น จุดเริ่มต้นของแนวคิด ที่ต่อยอดไปอีกขั้นหนึ่ง โดยยอมรับความเป็นจริงที่ว่า “มนุษย์อาจจะทำ ผิดพลาดได้เสมอ ต่อให้เป็นผู้ที่มีความชำนาญ และมีความตั้งใจที่ดี” และนั่นก็คือ จุดเริ่มต้นของ แนวคิดยุคใหม่ที่เรียกว่า Human Performance ดังที่กล่าวเบื้องต้นไปนี้ สามารถสรุปวิวัฒนาการ ด้านการบริหารความปลอดภัย ดังภาพที่ 1 ด้านล่าง
3
Human Performance คืออะไร ?
ตามนิยามของ Sidney Decker และ Todd Conklin ผู้บุกเบิกในวิทยาการด้านนี้ สรุปไว้ว่า Human Performance คือ แนวทางที่ 1) คน (Human) 2) ระบบงาน (Work System) 3) วัฒนธรรมองค์กร (Culture) 4) กระบวนการ (Process) และ 5) อุปกรณ์ (Equipment) ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ มีแนวคิดและหลักการปฏิบัติ ดังนี้
1
จากแนวคิดทั้ง 7 ประการ ในแผนภูมิด้านบน ทำให้เราเข้าใจได้ว่า ทุกการปฏิบัติงาน ย่อมมีความเสี่ยงเกิดขึ้นเสมอ ซึ่งความเสี่ยง (Risks) ที่ว่านี้เกิดจากปัจจัยหลักได้แก่
1
เมื่อเข้าใจหลักการโดยสังเขปดังนี้แล้ว การจะนำหลัก Human Performance ไปสู่ภาคปฏิบัติเพื่อลดการสูญเสียให้เป็นศูนย์ต้องเริ่มจาก
เพื่อป้องกันความสูญเสียที่เกิดจากความเสี่ยงในแต่ละขั้นตอนดังกล่าว Safeguard อาจจะอยู่ในรูปของ
1
- Engineering Safeguard เช่น ถุงลมนิรภัยในรถยนตร์
- Administrative Safeguard เช่นระบบ Permit System สำหรับงานที่มีความเสี่ยงสูง
- รวมไปถึงอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล เช่น Hard Hat ก็ถือเป็น Safeguard ในรูปแบบหนึ่ง
ทั้งนี้เพื่อให้เห็นภาพ ชัดเจนขึ้นขออ้างอิงถึง Bow - Tie Model ดังภาพที่ 2
สองส่วนหลักคือ 1) Preventative Safeguard ซึ่งคือการป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย จากความผิดพลาด
และ 2) Recovery Safeguard ซึ่งช่วยบรรเทาเมื่อ เกิดอุบัติการณ์หรือการสูญเสียแล้ว
1
Safeguards เหล่านี้จะต้องถูกสร้างขึ้นในทุกลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติงาน เพื่อช่วยปกป้องให้คนงานปลอดภัย ตัวอย่าง การนำหลักการ Human Performance มาใช้ในอุตสาหกรรม ได้แก่ อุปกรณ์ความปลอดภัยที่ติดตั้งมากับรถยนต์สมัยใหม่ซึ่งตั้งอยู่บนแนวคิด ที่ว่าคนขับอาจจะผิดพลาดได้ทุกเมื่อ เช่น ระบบช่วยจอดรถระบบควบคุมหรือเตือนให้รถ อยู่ในช่องเส้นทาง เป็นต้น
1
ประการต่อมา แนวคิดของการสืบสวนอุบัติเหตุตามหลัก Human Performance ก็เปลี่ยนแปลงไปจาก เดิมด้วย ในการสอบสวนอุบัติเหตุทั่วๆ ไป เช่น หลัก Five Why หรือ แผนภูมิก้างปลา มักจะ เน้นที่การตั้งคำถามว่า “ทำไม” ก่อนเลย และคำตอบที่ได้ มักจะชี้บ่งไปสู่ความผิดพลาดที่เกิดจากพฤติกรรมส่วนบุคคล มากกว่าปัจจัยความผิดพลาดจากองค์กร และก็นำไปสู่ Solution ที่คลาสสิคมากก็คือ ทำการอบรม ให้พนักงานมีความเข้าใจ ซึ่งไม่ใช่ สาเหตุที่แท้จริง และท้ายที่สุดอุบัติการณ์เดิมๆ ก็เกิดซ้ำอีก
ในแนวคิดแบบ Human Performance การสอบสวนอุบัติการณ์มีจุดประสงค์หลัก เพื่อการเรียนรู้และปรับปรุงมิใช่การกล่าวหา และลงโทษโดยใช้วิธีการที่เรียกว่า Learning Team โดยจะเชิญผู้ปฏิบัติการจริงที่อยู่บน Shop-Floor มาระดมสมองและทำความ เข้าใจก่อนว่า “How the job gets done” และ “How Incident Happened” กล่าวคือ เข้าใจ (How) ก่อนว่า ทำงานนั้นอย่างไรเพื่อเข้าใจ บริบท (Context) ของงานก่อนและจากนั้น ทำความเข้าใจว่า อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร
2
ประโยชน์จากการประยุกต์ใช้ Learning Team: ตามแผนภูมิด้านล่าง
1
แหล่งข้อมูลอ้างอิง / เพื่อศึกษาเพิ่มเติม
: หนังสือ Pre-Accident Investigations: Todd Conklin
: หนังสือ Safety Differently: Sidney Dekker
: Human Performance:
http://www.energysafetycanada.com/files/Comms_Uploads/events/
events_psc/2013/Conklin-Dr-Todd-Pre-Accident-Investigation-for-Organizational-Safety.pdf
26 บันทึก
10
2
17
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Operational Excellence
26
10
2
17
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย