16 ก.พ. 2022 เวลา 06:39 • ความคิดเห็น
INCOTERMS : CIF [ COST INSURANCE AND FREIGHT ] นำเข้าเราต้องรู้
ภาพจาก Canva
TEMRS : CIF (ระบุชื่อท่าเรือปลายทาง ) ใช้ในการขนส่งสินค้าทางเรือ คล้ายกับ CFR ที่ได้เขียนไว้ในบทความก่อนหน้านี้ค่ะ นั่นคือ......
ผู้ขาย : ยังคงเป็นผู้เตรียมเอกสารต่าง ๆ เพื่อเดินพิธีการทางศุลกากรฝั่งขาออก
ผู้ขาย : รับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดตั้งแต่หน้าโรงงานไปจนถึงท่าเรือปลายทางเช่นเคย
 
แต่ที่จะเพิ่มเติมเข้ามาในเทอมนี้คือ ภาระความรับผิดชอบในเรื่องของการทำประกันภัยความเสี่ยงทั้งหมดตั้งแต่หน้าโรงงานของผู้ขายไปจนถึงท่าเรือปลายทาง
ใน TERMS : CIF นี้ ทางผู้ขายจะต้องเป็นคนรับผิดชอบทำประกันภัยความเสี่ยงใน Clauses (C) ของ Institute Cargo Clauses
กรณีที่ในเงื่อนไขของเทอมที่เราซึ่งเป็นผู้ซื้อ มีภาระความรับผิดชอบที่จะต้องเป็นผู้ทำประกันภัยความเสี่ยงเอง เราจะเลือกทำใน Clauses (A) เท่านั้น!!
เพราะมันจะครอบคลุมทุกความเสี่ยง (All risk ) แม้ราคาจะสูงกว่า Clauses (C) อยู่บ้าง แต่เพื่อความสบายใจเราก็ต้องยอม ( ขอใช้เงินป้องกันปัญหา)
ในเรื่องรายละเอียดของการประกันภัยทางทะเลจะได้มาเล่าให้ฟังกันต่อในบทความถัดไปนะคะ
ภาระความรับผิดชอบของผู้ขายจะสิ้นสุดลง เมื่อสินค้าถูกยกข้ามพ้นกาบเรือ ณ ท่าเรือปลายทางไปแล้ว
หลังจากนั้นภาระความรับผิดชอบรวมทั้งความเสี่ยงภัยทั้งหมดจะถูกเปลี่ยนมือมาเป็นของผู้ซื้อในทันที
ผู้ซื้อเป็นผู้ดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรฝั่งขาเข้า เสียภาษี และรับผิดชอบค่าดำเนินการต่าง ๆ จนกว่าสินค้าจะถูกส่งไปถึงโรงงานหรือปลายทางที่ได้กำหนดไว้
🔥จุดสำคัญของ TERMS : CIF ที่ต้องระวังคือประกันภัยความเสี่ยง
เนื่องจากเป็นประกันภัยความเสี่ยงใน Clauses (C) ซึ่งจะครอบคลุมแค่บางความเสี่ยงไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมด และจะสิ้นสุด ณ ท่าเรือปลายทางเท่านั้น (เคยเจรจาขอให้ยืดความคุ้มครองไปจนถึงโกดังเราได้ไหม แต่ไม่เคยสำเร็จค่ะ )
หลังจากนั้นผู้ซื้อจะต้องทำประกันภัยความเสี่ยงต่อเอง นั่นคือการทำประกัน INLAND
หากการซื้อขายเป็น TERM : CIF เราจะทำประกัน INLAND เพิ่มเติมในกรณีที่สินค้าของเรามีมูลค่าเกิน 50,000 บาท แต่ถ้าไม่เกิน ก็ปล่อยชิล
แต่ถ้ามูลค่าของสินค้านั้น ๆ สูงมาก และมีความเสี่ยงที่จะเสียหายได้สูง เรายอมทำประกัน Clauses (A) ซ้อนประกันเข้าไปอีกเริ่มตั้งแต่หน้าโรงงานของผู้ขายไปเลย (ใช้เงินเพื่อป้องกันปัญหาอีกแล้ว) แต่แบบนี้เกิดน้อยปีละเคสน่าจะได้
อย่าลืมนะคะ!! ยังคงต้องทำประกัน “ INLAND” เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการขนส่งภายในประเทศ
แล้วเจอกันใหม่ในบทความถัดไป
พักเรื่องงานไปอ่านเรื่องเที่ยวได้ที่นี่
เจ้ากระต่ายขี้เซา :
ฝันจะนั่งรถไฟไปทรานส์ – ไซบีเรีย
รักการเขียนและการเล่าเรื่อง
และกำลังฝึกการเขียนนิยาย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา