16 ก.พ. 2022 เวลา 07:34 • ธุรกิจ
อีกเรื่องที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม!
ป้ายแบบไหนต้องเสีย และแบบไหนที่ไม่ต้องเสียภาษี
ภาษีป้าย
มารู้ข้อกำหนดและอัตราภาษี (บังคับใช้ 1 ม.ค. 65)
เพื่อช่วยวางแผนเรื่องการจัดทำป้าย และภาษีให้กับกิจการ
พร้อมข้อควรรู้อื่นๆ เกี่ยวกับภาษีป้าย
ภาษีป้าย = ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายโฆษณา
ป้ายแบบไหนเสียภาษี ?
ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ เครื่องหมายที่ใช้ประกอบการค้าหรือเพื่อโฆษณา
รูปแบบของป้าย ?
ตัวอักษร, ภาพ, เครื่องหมายที่เขียน, การแกะสลัก, จารึก
วิธีอื่น
ป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษี
  • ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้า /คน /สัตว์
  • ป้ายที่แสดงหรือติดตั้งไว้ที่ รถยนต์ส่วนบุคคล / รถจักรยานยนต์/ รถบดถนน /รถแทรกเตอร์ รวมถึงบนยานพาหนะที่มีขนาดพื้นที่ไม่เกิน 500 ตร.ซม.
  • ป้ายที่มีล้อเลื่อน
  • ป้ายของผู้ประกอบการเกษตร (สำหรับขายผลผลิตที่ได้จากการทำเกษตรของตัวเอง)
  • ป้ายของราชการ องค์การของรัฐ วัด/สมาคม/มูลนิธิ/โรงเรียนเอกชน ที่แสดงไว้ตรงอาคาร/บริเวณโรงเรียน
  • ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานอีเว้นท์ที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว
  • ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้า เพื่อหารายได้
ใครต้องเสียภาษีป้าย?
เจ้าของป้าย หรือผู้ครอบครองป้าย
ยื่นแบบภายในเดือนมี.ค. ของทุกปี
แต่ถ้าติดป้ายหลังมี.ค. /เปลี่ยนป้ายใหม่ หรือแก้ไขป้าย ที่ทำให้เสียภาษีเพิ่ม
ให้ยื่นแบบภายใน 15 วัน นับจากวันที่ติด แสดง หรือแก้ไข
  • ป้ายที่ติดบนอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่น + มีพื้นที่เกิน 2 ตร.ม. ต้องมีชื่อและที่อยู่ของเจ้าของป้ายเป็นตัวอักษรไทยที่ชัดเจนที่มุมขวาด้านล่างของป้าย
  • การโอนป้าย ให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนเป็นหนังสือต่อเจ้าหน้าที่ ภายใน 30 วันนับแต่วันรับโอน
ขั้นตอนการเสียภาษี
ยื่นแบบแสดง รายการเพื่อเสียภาษี (ภ.ป.1)
โดยสถานที่ยื่น
  • สำนักงานเขตที่ป้ายนั้นติดตั้ง/แสดงอยู่
  • สำนักงานเขตที่มีการจดทะเบียนยานพาหนะ
ระยะเวลาการชำระภาษี
ภายใน 15 วัน จากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน
(หากเห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้อง สามารถอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน)
สถานที่ชำระภาษี
  • สำนักงานเขตที่ยื่นแบบ
  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาณัติ/ตั๋วแลกเงินของธนาคารสั่งจ่ายส่วนท้องถิ่น
  • ส่งไปรษณีย์ลงทะเบียน
กรณีภาษีป้าย 3,000 บาทขึ้นไป สามารถผ่อนชำระเป็น 3 งวดได้ โดยแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ ก่อนครบกำหนดเวลาชำระภาษี
หลักฐานในการยื่น
ป้ายใหม่
  • 1.
    บัตรประจำตัวประชาชน
  • 2.
    สำเนาทะเบียนบ้าน
  • 3.
    เลขประจำตัวผู้เสียภาษี เลขที่ทะเบียนการค้า
  • 4.
    หนังสือรับรองบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด (กรณีนิติบุคคล)
  • 5.
    รูปถ่ายป้าย พร้อมขนาดกว้าง x ยาว
  • 6.
    ใบอนุญาตติดตั้งป้าย/ใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย
ป้ายเก่า
เหมือนป้ายใหม่ แต่ต้องแสดงใบเสร็จเสียภาษีป้ายของปีก่อนด้วย
อัตราภาษี
1.ป้ายที่มี อักษรไทยทั้งหมด
ข้อความเคลื่อนที่ / เปลี่ยนเป็นข้อความอื่นได้ = 10 บาทต่อ 500 ตร.ซม. ไม่มี ข้อความเคลื่อนที่ /เปลี่ยนเป็นข้อความอื่นไม่ได้ = 5 บาทต่อ 500 ตร.ซม.
2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ/ภาพ/เครื่องหมายอื่น ข้อความเคลื่อนที่ /เปลี่ยนเป็นข้อความอื่นได้ = 52 บาทต่อ 500 ตร.ซม.
ไม่มี ข้อความเคลื่อนที่ /เปลี่ยนเป็นข้อความอื่นไม่ได้ = 26 บาทต่อ 500 ตร.ซม.
3. ป้ายที่มีอักษรไทยอยู่ต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ / ไม่มีอักษรไทยเลย ข้อความเคลื่อนที่ /เปลี่ยนเป็นข้อความอื่นได้ =52 บาทต่อ 500 ตร.ซม.
ไม่มี ข้อความเคลื่อนที่ /เปลี่ยนเป็นข้อความอื่นไม่ได้ = 50 บาทต่อ 500 ตร.ซม.
ตัวอย่างการคำนวณ
1. คำนวณพื้นที่เป็นตร.ซม. (การคำนวณภาษีป้าย 1 ด้าน = 1 ป้าย)
พื้นที่ป้าย = 400 x 280 = 112,000 ตร.ซม.
2. คำนวณภาษีป้าย
คำนวณภาษีป้าย
ตัวอย่าง : ภาษีป้าย = 112,000 ตร.ซม. / 500 x 5 (ป้ายอักษรไทยล้วน เคลื่อนที่ไม่ได้) = 1,120 บาท
ผู้เสียภาษีป้ายควรระวังต้องเสียเงินเพิ่ม
  • ไม่ยื่นแบบภายในกำหนด ต้องเสียเงินเพิ่ม 10 % ของเงินที่ต้องเสียภาษี **ยกเว้น** ได้แจ้งยื่นแบบก่อนเจ้าหน้าที่จะเรียกให้ยื่นแบบ ให้เสียเงินเพิ่ม 5 % ของเงินที่ต้องเสียภาษี
  • ยื่นแบบไม่ถูกต้อง ทำให้เสียภาษีน้อยลง เสียเงินเพิ่ม 10 % ของภาษีที่ประเมินเพิ่ม ยกเว้น แก้ไขแบบก่อนเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมินภาษี
  • ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด ต้องเสียเงินเพิ่ม 2 % /เดือน ของเงินที่ต้องเสียภาษี
บทลงโทษ
1. ให้การเท็จ/แสดงหลักฐาน เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี
จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000 – 50,000 บาท
ทั้งจำทั้งปรับ
2. จงใจไม่ยื่นแบบ
ปรับ 5,000 – 50,000 บาท
3. ไม่แจ้งการรับโอนป้าย, ไม่แสดงรายการเสียภาษีป้ายไว้ที่เปิดเผยในสถานประกอบกิจการ
ปรับ 1,000 - 10,000 บาท
4. ขัดขวาง/ไม่ปฏิบัติตามเจ้าหน้าที่
จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับ 1,000 – 20,000 บาท
ทั้งจำทั้งปรับ
โฆษณา