25 ก.พ. 2022 เวลา 09:00 • สุขภาพ
"การดำรงชีวิตอย่างมีความสุขและมีคุณค่าสุขภาพจิต(MENTAL HEALTH)"
หมายถึง การมีจิตใจเข้มแข็งมั่นคงและมีความสมบูรณ์
มีความสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ ดำรงชีวิต
อยู่ได้ด้วยความสุขไม่มีอาการโรคจิต หรือโรคประสาท หรือมีพฤติ
กรรมที่ผิดปกติ มีการปรับตัวที่ดีและเป็นไปโดยง่ายเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ดี และเหมาะสม
บริหารจิดใจให้เป็น
การส่งเสริมความสมบูรณ์แห่งจิตใจและป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจ
1.การส่งเสริมความสมบูรณ์ทางจิตใจ (Promotion of Good Mental Health)
สร้างเสริมนิสัยอันดีงาม ทำให้บุคคลมีจิตใจที่ดีงาม คิดดีมีเหตุผล คิดสร้างสรรค์ ปรับเข้า
กับสังคมสิ่งแวดล้อม มีอาชีพดี มีความสุขกับการทำงาน ทำประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม
2. การป้องกันความพิการทางจิต (Promotion of mental disorder)ป้องกันนิสัยที่
ไม่ดีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม
-สุขภาพกาย สุขภาพจิต สัมพันธ์กัน บุคคลมีสุขภาพสมบูรณ์ รวมถึงความสมบูรณ์ทั้งกาย ใจ คือ มีร่างกายแข็งแรงไม่มีโรคภัยไข้เจ็บและจิตใจเข้มแข็งไม่หวั่นไหวต่อสิ่งต่างๆ มีความมั่นคงในอารมณ์ และไม่มีอารมณ์ที่แปรปรวนไปอย่างง่ายดาย
การส่งเสริมสุขภาพจิต
หมายถึง การบำรุงรักษาสภาพจิตใจของตนเองให้เข้มแข็งสมบูรณ์อยู่เสมอ การใช้ชีวิตในสังคมของมนุษย์จะต้องประสบทั้งความสุขความทุกข์ที่สำคัญคือ การส่งเสริมสุขภาพจิตตนเอง
มีวิธีการดังนี้
1.1การฝึกควบคุมอารมณ์
ต้องรู้จัก เข้าใจตัวเองให้ดีที่สุด ศึกษาจุดเด่น ความสามารถพิเศษในตัวเอง เพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม บนพื้นฐานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ศีลธรรม ยอมรับจุดด้อย ปรับตัวเข้ากับสังคม สิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม ไม่หมกมุ่นเรื่องไร้สาระฝึกอารมณ์ควบคุมอารมณ์ของตนเอง ให้สงบ ไม่หวั่นไหวง่าย ดีใจ เสียใจ โกรธไม่แสดงออกมากจนเกิน แสดงอาการลืมตัว เตือนตัวเองอยู่เสมอ การควบคุมอารมณ์ได้ย่อมได้เปรียบในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
เราเองที่ต้องเริ่ม
1.2สะสมไมตรี
ฝึกจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส มองโลก มองผู้อื่นในแง่ดี ฝึกเป็นคนสุขุมรอบคอบ ไม่ใจร้อนและโกรธง่าย แต่มีอารมณ์ขันไม่เอาจริงเอาจังกับทุกอย่างจนเกินไป ไม่อิจฉาริษยา ฝึกรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยใจกว้าง รับฟังเหตุผลมากกว่าอารมณ์ พิจารณาถึงปัญหาต่างๆ ด้วย
เหตุผล ข้อมูลหลายๆด้านไม่ควรโทษตนเองและผู้อื่นด้วยอารมณ์
หากสามารถปฏิบัติได้จะทำให้สร้างมิตรได้ง่าย และมีผู้ที่หวังดีด้วยตลอดเวลา
ควรตระหนักไว้เสมอว่า คนทุกคนย่อมมีทั้งด้านดีและด้านไม่ดี ไม่มีใครสมบูรณ์ไปทุกอย่าง ไม่มีใครอยากให้เห็นในด้านที่ไม่ดีของตน การรู้จักมองผู้อื่นแต่ด้านดี ยกย่องชมเชยจะทำให้เกิดมิตร เป็นผลดีต่อตนเอง ตัวเราเองควรมองตนด้านที่ควรปรับปรุง ก่อให้เกิดการพัฒนาตนเองให้เป็นคนมีคุณค่าของสังคม
1.3ไม่มีอุปสรรค
ไม่มีใครที่มีชีวิตอยู่ได้โดยปราศจากปัญหา คิดเสมอว่าอุปสรรคหรือปัญหาเป็นเรื่องที่ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้ ต้องเผชิญหน้าด้วยความมีสติ
และการแก้ปัญหาคือประสบการณ์ที่มีค่าที่ทำให้เกิดทักษะในการแก้ไขปัญหา เราไม่ควรยอมแพ้หรือหนีอุปสรรคแต่ควรจะอดทนใช้เหตุผลและสติแก้ไขผ่อนปรนตามสถานการณ์ปัญหาทุกอย่างย่อมมีหนทางแก้ไขได้เสมอ แต่จะแก้ไขได้มากหรือน้อยเร็วหรือช้าเท่านั้น การฝึกการแก้ปัญหาย่อมมีผลดีต่อตน เป็นการเสริมสร้างประสบการณ์อันหลากหลาย
1.4รู้จักฝึกใจ
ให้มีความมั่นคงและยุติธรรม
▪ด้วยการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
▪พยายามเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ไม่ถือความคิดของตนว่าถูกเสมอไป
▪ยอมให้อภัยความผิดพลาดของผู้อื่น
▪รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราก็จะเกิดความเข้าใจกัน
▪ไม่ควรโทษตัวเองหรือผู้อื่นด้วยอารมณ์
▪ควรปรับปรุงตนเองให้เข้ากับคนอื่นให้ได้
▪ทำตนให้เป็นที่รักของคนทั่วไป โอบอ้อมอารีจริงใจต่อผู้อื่น
▪ยินดีช่วยเหลือ มีน้ำใจต่อผู้อื่นลดความเห็นแก่ตัว
1.5ใฝ่เสริมคุณค่าการสร้างคุณค่าให้ตนเอง
▪ทำตนให้เป็นประโยชน์โดยหาโอกาสช่วยเหลือผู้อื่นหรือส่วนรวม
▪ทำบุญทำทานด้วยความจริงใจไม่หวังผลตอบแทน
▪บำรุงรักษาสุขภาพทั้งกายและจิตใจให้แข็งแรงอยู่เสมอ
▪ออกกำลังกายเป็นประจำ
▪รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
▪ทำงานพอเหมาะและพักผ่อนให้เพียงพอ
1.6หาความสงบสุข
➢ชีวิตเราจะมีความสงบสุขได้ถ้าเรารู้จักลดความตึงเครียด
➢สร้างอารมณ์ขันให้มากขึ้น
➢หาโอกาสพักผ่อนให้เพลิดเพลินไปกับกิจกรรมดนตรี การละเล่น และการท่องเที่ยว โดยเล่นเกม การออกกำลังกาย เล่นกีฬาต่าง ๆ
➢หาความสงบสุขด้วยการฝึกจิตใจให้ว่าง(ฝึ กสมาธิ) เสมอๆ
➢หาสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยเฉพาะ คำสอนในศาสนาที่ตนนับถือ เพราะ
คำสอนในศาสนาจะเป็น เครื่องเหนี่ยวรั้งจิตใจให้สงบเยือกเย็น
➢ไม่หลงมัวเมาในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
➢มีสติปัญญาเมื่อมีความเครียดทางจิตใจควรหาโอกาสผ่อนคลายด้วย
งานอดิเรก ออกกำลังกายจะทำให้มีจิตใจที่สบายขึ้น สุขภาพจิตก็จะ
ดี
หาบรรยากาศที่ทำให้เราสดชื่น
2.การป้องกันปัญหาสุขภาพจิต คือ การป้องกันไม่ให้สภาพความสมบูรณ์ของจิตใจต้องลดลงไปด้วยเหตุต่างๆ ทั้งที่มาจากตัวเองและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเกิดขึ้ นได้ตลอดเวลาโดยปกติเวลาคนเรามีปัญหาคับข้องใจไม่สบายใจจิตใจของคนก็จะหาทางออกโดยใช้กลไกป้องกัน
ตนเอง
แนวทางจัดการปัญหาดังกล่าวที่เหมาะสมสามารถทำได้ดังนี้
1) บริหารร่างกาย หมายถึง การดูแลฝึกฝนและปฏิบัติจนติดเป็นนิสัยซึ่งจะช่วยป้องกันความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อเกร็งซึ่งจะนำไปสู่ความเครียด
▪การเปลี่ยนแปลงอิริยาบถในการทำงานเป็ นครั้งคราว ไม่อยู่ท่าทางเดียวตลอด
▪ควรออกกำลังกายให้มีเหงื่อออกเป็นประจำ เพิ่มสมรรถภาพร่างกาย ร่างกายใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพทำให้มีความคงทนในการงานไม่เครียดง่ายๆ
▪ควรจัดตารางการทำงานให้มีเวลาพักผ่อนหรือมีเวลาว่างพักระหว่าง
ทำงาน
▪ใช้เวลาว่างทำกิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจหรือชอบเป็นพิเศษนอกเหนือจากการทำงานปกติเช่น ท่องเที่ยว อ่านหนังสือ เล่นดนตรี ดูแลต้นไม้ เป็นต้น เหล่านี้เป็นการส่งเสริมทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต
2) การบริหารจิต เป็นเรื่องยากที่จะปฏิบัติแต่เป็นส่วนสำคัญที่สุดเพราะถ้า
ทำได้จะช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตได้เป็นส่วนใหญ่
➢การระบายให้ผู้อื่นฟังเมื่อมีความคับข้องใจ เลือกคนที่ไว้วางใจ สนิทเป็นผู้ฟัง เช่น เพื่อนญาติ คู่ครอง บิดามารดา พี่น้อง
➢การเล่าให้ผู้อื่นฟังช่วยให้เราเข้าใจปัญหาวิเคราะห์ พิจารณา
สาเหตุของปัญหาไตร่ตรองปัญหานั้นว่าเกิดอะไร เพื่อหาแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม ยังช่วยให้เลี่ยง/ประวิงเผชิญปัญหา
➢การฝึกฝนจิตให้รู้จักระงับอารมณ์มีสติไตร่ตรอง ไม่โกรธง่าย หุนหันพลัน
แล่นเตรียมตัวเตรียมใจรับสถานการณ์โดยอาศัยหลักธรรมในศาสนาที่ตนนับถือ
➢มองโลกในแง่ดีทำอารมณ์และจิตใจให้เบิกบาน อย่าคิดคาดหวังในสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตนเอง คนที่รัก คนใกล้ชิดจนเกินไป รวมทั้งมีจิตใจเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
3) การฝึกปฏิบัติเพื่อคลายความเครียดเป็นการฝึกปฏิบัติเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกายตลอดจนการหายใจช่วยทำให้อยู่ในสภาพที่ผ่อนคลายความเครียดไการกำหนดและควบคุมลมหายใจเข้าออก
4) การบริหารสิ่งแวดล้อมหมายถึง การดูแลและรักษาสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวให้เป็นระเบียบเป็นที่เป็นทาง ไม่รกรุงรังและที่สำคัญที่สุด
คือ ความสะอาดในที่นี้จะทำให้ร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคซึ่งจะนำไปสู่การเกิดสุขภาพจิตที่ดี
เราสามารถป้องกันปัญหาสุขภาพจิตได้โดยการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตที่จะเกิดขึ้นได้ในแต่ละช่วงวัยของชีวิต ในช่วงวัยรุ่นควรส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการในด้านทักษะการดำเนินชีวิต เพศศึกษา
ส่งเสริมการทำกิจกรรมที่เสริมสร้างประสบการณ์ด้านต่างๆ ควร
มีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง เช่น วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ การใช้สารเสพติด
ฯ โดยสังเกตปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมและการประเมินสุขภาพจิต เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือปัญหาสุขภาพจิตที่จะเกิดขึ้นได้
โฆษณา