Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
THE EQUATION
•
ติดตาม
24 ก.พ. 2022 เวลา 14:28 • ธุรกิจ
ในที่สุดเหตุการณ์ระหว่างรัสเซียกับยูเครนก็ชัดเจนในวันนี้ พร้อมกับความเคลื่อนไหวทั่วโลกทั้งตลาดทุน ตลาดเงิน อัตราแลกเปลี่ยน ทองคำ หรือสินทรัพย์ดิจิทัล
หลายคนอาจมีคำถามว่าทำไมตลาดจึงต้องตอบสนองมากมายขนาดนั้น เป็นเพราะน้ำมันจะแพงขึ้น อาหารจะขาดแคลน หรือเก็งกำไรและตื่นตกใจในตลาด? จริงๆ แล้ว เรื่องราวระหว่างสงครามและการเงินมีประวัติศาสตร์ยาวนาน การทำสงครามต้องใช้เงินมหาศาล และเป็นต้นทุนที่ต้องชำระคืนไม่ว่าจะแพ้หรือชนะสงคราม รัฐบาลระดมทุนกันยังไง มาดูกันเลยค่ะ
สถิติที่สำคัญของการใช้เงินสนับสนุนการทำสงคราม
สหรัฐอเมริกาใช้เงินรวม 2.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ จนถึงปี 2560 ในภูมิภาคตะวันออกกลาง (Middle East)
ญี่ปุ่นใช้เงินรวม 59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการทำสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือเทียบเท่า 747 พันล้านดอลลาร์สหรัฐที่ค่าเงินในปี 2559
หากเราดูจากทางเลือกของรัฐบาลในการหาแหล่งเงินทุนมาสนับสนุนการทำสงครามในประวัติศาสตร์ จะพบว่ามี 4 แนวทางหลัก คือ
1. พิมพ์เงิน (money printing)
ทางเลือกนี้ดูเหมือนจะเป็นทางเลือกที่รัฐบาลบางประเทศอาจตัดสินใจทำเพราะสามารถทำแบบเงียบๆ ได้โดยไม่ต้องระดมทุน แต่จะมีผลในระยะยาวคือ อัตราเงินเฟ้อที่จะสูงตามมา ยิ่งทำสงครามนานใช้เงินในส่วนนี้มากก็ยิ่งเกิดผลเสียที่แพงมากตามไปด้วย
ตัวอย่างประเทศที่เคยเลือกใช้วิธีนี้ คือ ญี่ปุ่นที่จะพิมพ์ธนบัตรใหม่ออกมา แทนที่ธนบัตรที่ประเทศที่ถูกยึดครองนั้นๆ เคยใช้ เช่น ที่ฟิลิปปินส์ในช่วงปี 2486-2488 เรียกว่า Centavos fiat note ซึ่งต่อมาคนฟิลิปปินส์เรียกว่า "Mickey Mouse money" เพราะค่าของเงินลดลงอย่างรวดเร็ว จากภาวะเงินเฟ้อรุนแรง (hyperinflation) ส่งผลให้ญี่ปุ่นปรับมูลค่าหน้าธนบัตรเพิ่มจาก 10 pesos เป็น 1,000 pesos
2
2. การเก็บภาษี (Taxation)
ทางเลือกนี้ดึงดูดรัฐบาลมากที่สุดเพราะไม่มีต้นทุนดอกเบี้ยเกิดขึ้นในการระดมทุน แต่ไม่นิยมใช้ในประเทศที่มีระบบเลือกตั้งที่ต้องการการสนับสนุนจากประชาชนจำนวนมาก
สหรัฐอเมริกาเคยใช้การเก็บภาษี เมื่อเข้าร่วมสงครามเกาหลีที่มีประชาชนมากถึง 81% ของประเทศสหรัฐอเมริกา ออกมาสนับสนุนให้ทำสงคราม ในยุคประธานาธิบดีทรูแมน (President Truman) ซึ่งสามารถระดมเงินจากการเก็บภาษีได้อย่างมากจนครอบคลุมค่าใช้จ่ายการทำสงครามได้เกือบทั้งหมด โดยเป็นการเก็บภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อมในเงินลงทุน รายได้ และสินค้าฟุ่มเฟือย
3. การกู้เงินจากภายนอก (External Extraction)
ทางเลือกนี้รัฐบาลจะขอเงินสนับสนุนหรือเงินกู้ยืมจากรัฐบาลประเทศอื่น ซึ่งมีความเสี่ยงสูงมากในการสูญเสียความเป็นอิสระของประเทศยาวนานหลายสิบปีหลังสงครามจบลง
ในปี 2447-2448 ช่วงสงครามระหว่างรัสเซียและญี่ปุ่นเพื่อขยายอำนาจในแถบแปซิฟิก รัฐบาลญี่ปุ่นได้กู้เงินจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร เป็นเงินสกุลปอนด์ (pounds) โดยมีทองคำเป็นหลักประกัน (เป็นทองคำที่ยึดมาจากจีนในช่วงสงคราม Sino-Japanese)
4. การกู้เงินจากภายในประเทศ (Domestic Debt)
ทางเลือกนี้อาจเรียกว่า พันธบัตรเพื่อทำสงคราม หรือ war bonds ที่รัฐบาลขายให้กับทั้งคนในประเทศและคนต่างประเทศ และจ่ายดอกเบี้ย เป็นการออกพันธบัตรโดยรัฐบาลในสกุลเงินของประเทศที่ทำสงครามและต้องการระดมทุน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 มีการออก war bonds อยู่หลายครั้ง
สหรัฐอเมริกาได้ออก war bonds จำนวนมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 มีสื่อ Hollywood ช่วยประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนทั่วประเทศซื้อพันธบัตร โดยเป็นการซื้อที่ราคาส่วนลด (discounted) และจะได้รับเงินคืนเต็มมูลค่าพันธบัตรเมื่อครบกำหนดเป็นการชำระคืนพร้อมดอกเบี้ย ในปัจจุบันสหรัฐอเมริกาไม่ได้ใช้ war bonds แล้ว แต่เปลี่ยนเป็นการระดมทุนในรูปของ US Treasury bonds ขายให้ทั้งผู้ลงทุนในประเทศและต่างประเทศ
สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนมากคือ ทุกประเทศที่เข้าร่วมสงคราม ไม่ว่าจะเป็นผู้ชนะหรือผู้แพ้ ต่างเป็นหนี้จำนวนมหาศาล ที่ต้องชำระคืนพร้อมดอกเบี้ย สามารถสะท้อนได้จากอัตราส่วนหนี้ต่อ GDP (Debt-to-GDP) ของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วในรูปด้านล่าง ที่สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดทุกครั้งหลังสงครามจบลง
หวังว่าจะได้ไอเดียดีๆ เรื่องประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ของการทำสงครามและการเงิน เพื่อใช้ต่อยอดความเข้าใจในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่กำลังเชื่อมโยงและสร้างผลกระทบต่อหลายๆ ตลาดในหลายมิติหลายๆ ประเทศทั่วโลก
แล้วมาติดตามกันต่อในตอนถัดไปกับ Manage Your Money นะคะ
References :
How To Finance A War?
https://www.forbes.com/sites/peterpham/2017/12/01/how-to-finance-a-war/
What Does Finance Have to Do With War?
https://thediplomat.com/2021/03/what-does-finance-have-to-do-with-war/
การเงิน
การลงทุน
ประวัติศาสตร์
8 บันทึก
5
1
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
“ไทม์แมชชีน” กับ “โลกการเรียนรู้”
8
5
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย