พื้นที่แห่งนี้มุ่งเน้นเผยแพร่และแบ่งปันบทความและเรื่องราวที่น่าสนใจด้านการบริหารจัดการธุรกิจเชิงกลยุทธ์ (strategic business management) เพื่อการเติบโตและสร้างผลกำไรอย่างยั่งยืนจากรุ่นสู่รุ่น บทความและเรื่องราวส่วนใหญ่ในซีรี่ย์นี้ได้รับการสนับสนุนโดย บริษัท ที่ปรึกษาทรัพย์ทวี จำกัด (Supthavee Advisory Company Limited) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาการจัดการธุรกิจเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้ประกอบการ SME ในประเทศ เพราะสิ่งที่คุณเห็น อาจเป็นเพียงผลลัพธ์ของปัญหา บทความในซีรี่ย์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถมองเห็นและเข้าใจสิ่งที่เผชิญอยู่ เพราะปัญหาที่แท้จริงอาจไม่ใช่สิ่งที่คุณมองเห็น และนั่นคือความสำคัญของความเข้าใจในการจัดการเชิงกลยุทธ์ ที่จะทำให้คุณมองเห็นสาเหตุของปัญหาที่เผชิญอยู่ และสามารถบริหารจัดการอนาคตของธุรกิจของตนเองได้
พื้นที่แห่งนี้มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารจัดการธุรกิจ โดยนำความรู้ความเข้าใจทางการเงินมาใช้ ซึ่งจะสร้างประโยชน์มากมายให้กับเจ้าของกิจการทั้งการแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า และการวางแผนธุรกิจและการเงินเพื่อสร้างธุรกิจให้เติบโตในอนาคต แน่นอนว่าการทำธุรกิจเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก ตั้งแต่คิดที่จะเริ่ม หลายอย่างประดังกันเข้ามาจนหลายครั้งหยุดคิดว่าไม่ทำเหมือนจะดีกว่า บนเส้นทางของเจ้าของกิจการที่มีทรัพยากรจำกัด ทั้งเรื่องเงินทุน บุคลากร ความรู้รอบด้าน และเครือข่ายสนับสนุน ท่ามกลางวัฏจักรเศรษฐกิจรอบแล้วรอบเล่า เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มาพร้อมสินค้าและบริการใหม่ๆ บน platform และ ecosystem ใหม่ๆ Manage Your Money
สิ่งที่อาจยากและท้าทายมากกว่าการเรียนรู้ คือ การแบ่งปันการเรียนรู้นั้นในวงกว้างมากกว่าตนเอง เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งกับตนเองและผู้อื่น จนเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และการใช้ชีวิตที่มากกว่าการเสาะแสวงหารายได้ แต่มันคือ ชีวิตที่เติมเต็มในทุกมิติและความสุขในการใช้ชีวิต “We now accept the fact that learning is a lifelong process of keeping abreast of change. And the most pressing task is to teach people how to learn.” By Peter Drucker การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เรียกว่า ตลอดเวลา ตลอดชีวิต เรามีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอในทุกๆ วัน ในด้านต่างๆ กันไป การเรียนรู้แฝงมาในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น การได้ยิน และประสาทสัมผัสอื่นๆ ทั้งจากสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต ปัจจุบัน เพื่อจะเข้าใจวัฏจักรของสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น วัฏจักรเศรษฐกิจ วัฏจักรอุตสาหกรรม ไปจนถึงวงจรเงินสดกันเลยทีเดียว อยากให้พื้นที่นี้ เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้จากสิ่งรอบตัว ทั้งอดีตและปัจจุบัน เน้นการมองเห็น รับรู้ความเชื่อมโยงในหลายๆ มิติของแต่ละเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา โดยไม่ยึดติดกับรูปแบบการเรียนรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง และเราสามารถพัฒนาทักษะกระบวนการมองเห็น การวิเคราะห์ และการตัดสินใจ
เชื่อหรือไม่ว่าพวกเราเรียนรู้เรื่อง “ธุรกิจ” และ “การเงิน” กันมาตั้งแต่เด็กๆ แล้ว ยังจำกันได้ไหมว่าจะซื้อขนมได้ก็ต้องมีค่าขนมจากคุณพ่อคุณแม่ หลังเลิกเรียนก็พากันไปต่อแถวซื้อลูกชิ้นปิ้ง 10 บาท 20 บาท เล่นเกมตอนเย็นๆ เพียงแต่ตอนนั้นก็ไม่เคยสนใจว่าทำไมต้องใช้เหรียญไปแลกขนม แลกเกมเล่น รู้แต่ว่าถ้าไม่มีเอาไปแลกก็ไม่ได้กินขนม ไม่ได้เล่มเกม ดูเหมือนพวกเราไม่ได้รับรู้กลไกการทำงานของเงินมากนักในวัยเด็กแม้ว่าจะใช้ชีวิตอยู่กับเงินมาตลอด จนเมื่อเริ่มทำงานและหาสิ่งของและบริการด้วยตัวเองจากเงินที่ได้รับในการทำงาน ถ้าทำงานรายได้สูงก็อาจจะยังไม่ได้ใส่ใจเรื่องค่าใช้จ่ายแต่ละวันมากนัก เพราะก็มีพอใช้จ่ายไปเรื่อยๆ ถ้าทำงานรายได้ปานกลางหน่อยก็จะเริ่มฉุกคิดว่าบางวันมีเงินไม่พอกับสิ่งของที่อยากได้และต้องสะสมเงินอยู่เป็นเดือนเพื่อให้ได้มา วันเวลาผ่านไปก็เริ่มได้รับการติดต่อจากธนาคารเพื่อเสนอบัตรเครดิตพร้อมวงเงินเครดิตไว้ใช้จ่าย สินค้าและบริการหลายอย่างที่เคยดูเกินเอื้อมเพราะแพงกว่าเงินเดือนทั้งเดือนก็ดูจะแค่เอื้อมซื้อหาได้แล้ว มัวแต่ดีใจจนลืมไปว่ามันก็คือการนำเงินรายได้ในอนาคตมาใช้จ่ายก่อนนั่นเอง ต้องยอมเสียดอกเบี้ยและเริ่มต้นชีวิตการเป็นหนี้ คำถามคือแล้วพวกเราจะรู้ได้อย่างไรล่ะว่ากำลังใช้เงินรายได้ในอนาคตอยู่หรือเปล่า และใช้มากน้อยแค่ไหน? แน่นอนว่า “การเงิน” มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อพวกเราโตขึ้น เมื่อเรามีความต้องการมากขึ้นและต้องหารายได้มากขึ้นเพื่อใช้จ่ายแลกกับสิ่งที่เราต้องการ และก็เป็นวัฏจักรที่เมื่อเรามีครอบครัวก็เริ่มดูแลเด็กๆ ซื้อบ้านซื้อรถ ดูแลคุณพ่อคุณแม่ที่ชราและไม่มีรายได้แล้ว ความสามารถในการหารายได้ดูเหมือนจะเป็นเครื่องจักรหลักในการดำรงชีวิตขอบพวกเราใช่หรือไม่? หากเราใช้ความสามารถและเวลาทั้งหมดในการแสวงหารายได้สูงสุดจะถือว่าเป็นวิถีของการมีการเงินที่ดีและมั่นคงหรือไม่? อยากฝากให้พวกเราลองคิดกันดูว่าถ้าใช่ตามนั้นแล้ว จำนวนเงินรายได้ที่พวกเราต้องแสวงหามันคือเท่าไหร่กันนะ อยากชวนพวกเรามาหาคำตอบไปด้วยกันค่ะเพื่อสุขภาพทางการเงินที่ดีของเรา