25 ก.พ. 2022 เวลา 02:04 • สุขภาพ
จมน้ำ อันตรายกว่าที่คิด
30
จมน้ำ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและมีความรุนแรง มักจะทำให้ตายในเวลาเพียงไม่กี่นาที มักเกิดกับเด็กเล็ก และผู้ที่ว่ายน้ำไม่เป็น อาจเกิดจากการตกน้ำทั้งในแหล่งน้ำธรรมชาติและภาชนะกักเก็บน้ำภายในบ้าน จมน้ำ จากอุบัติเหตุ เช่น เรือคว่ำ เรือชน เมาเหล้า โรคลมชัก โรคหัวใจวาย เป็นลม เป็นต้น
25
ผู้ที่จมน้ำมักจะตายเนื่องจากขาดอากาศหายใจ เพราะสำลักน้ำ บางรายอาจตายเนื่องจากภาวะเกร็งของ กล่องเสียง (laryngospasm) ทำให้หายใจไม่ได้ สาเหตุเหล่านี้มักจะทำให้ผู้ที่จมน้ำตายภายใน 5-10 นาที
ผู้ที่จมน้ำถึงแม้จะรอดมาได้ในระยะแรก แต่ก็อาจจะตายเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนในภายหลังได้ เช่น ปอด อักเสบ การเปลี่ยนแปลงของระดับเกลือแร่ในร่างกาย ภาวะเลือดเป็นกรด ภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ภาวะปอดไม่ทำงาน (ปอดล้ม ปอดวาย) เป็นต้น ในรายที่ขาดอากาศหายใจเป็นเวลานาน อาจเป็นสมองพิการได้
ภาวะเหล่านี้มักเกิดขึ้นไม่ต่างกันมากนัก ทั้งในพวกที่จมน้ำจืด (แม่น้ำ ลำคลอง บ่อ สระน้ำ) และพวกที่จมน้ำทะเล รวมทั้งอาการแสดงและการรักษาก็ไม่ต่างกันมาก
5
ข้อแตกต่าง คือ น้ำจืดจะมีความเข้มข้นน้อยกว่า เลือด (พลาสมา) ดังนั้น ถ้ามีน้ำอยู่ในปอดจำนวนมาก ก็จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดทันที ทำให้ปริมาตรของ เลือดที่ไหลเวียนเพิ่มจากเดิม (hypervolemia) มีผลทำให้ระดับเกลือแร่(เช่นโซเดียมโพแทสเซียม)ในเลือดลดลง ซึ่งอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจวายได้ นอกจากนี้ ยังอาจเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (hemolysis) ได้อีกด้วย
1
ส่วนน้ำทะเลจะมีความเข้มข้นมากกว่าเลือด น้ำ ทะเลที่สำลักอยู่ในปอดจะดูดซึมน้ำเลือด (พลาสมา) จากกระแสเลือดเข้าไปในปอด ทำให้เกิดภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ระบบไหลเวียนมีปริมาตรลดลง (hypovolemia) และระดับเกลือแร่ในเลือดเพิ่มสูงขึ้นทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวาย หรือเกิดภาวะช็อกได้
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จมน้ำมักตายเนื่องจากขาดอากาศหายใจมากกว่าการเปลี่ยนแปลงของระดับเกลือแร่และปริมาตรของเลือด
4
การจมน้ำยังมีระดับของการเกิดภาวะดังกล่าวในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
  • 1.
    Near Drowning คือ ภาวะรอดชีวิตจากการจมน้ำ โดยผู้ป่วยอาจรอดชีวิตเป็นเวลามากกว่า 24 ชั่วโมงหรือรอดชีวิตเพียงชั่วขณะ ภาวะนี้ถือเป็นภาวะก่อนจมน้ำเสียชีวิต ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ
  • 2.
    Secondary Drowning คือ ภาวะแทรกซ้อนจากการจมน้ำ โดยมีน้ำเข้าไปในปอดผู้ป่วย ทำให้ปอดบวมหรืออักเสบ ส่งผลให้ร่างกายแลกเปลี่ยนออกซิเจนและหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปได้ยาก ผู้ที่ประสบภาวะนี้จะแสดงอาการออกมาหลังผ่านไปนานกว่า 24 ชั่วโมง
  • 3.
    Dry Drowning คือ ภาวะจมน้ำที่มีน้ำเข้าปากหรือจมูก ส่งผลให้ระบบทางเดินหายใจกระตุกและปิดลง ภาวะนี้มักเกิดขึ้นทันทีหลังจมน้ำ
  • 4.
    Immersion Syndrome คือ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันจากการจมน้ำที่เย็นมาก ซึ่งอาจเกิดจากการตอบสนองของระบบประสาทร่วมกับการบีบตัวของหลอดเลือด
6
อาการ จมน้ำ
ผู้ที่จมน้ำมักจะมีอาการหมดสติ และหยุดหายใจ บางรายอาจมีภาวะหัวใจหยุดเต้น (คลำชีพจรไม่ได้) ร่วมด้วย
1
ถ้าไม่ถึงกับหมดสติ ก็อาจมีอาการปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก อาเจียน กระวนกระวาย หรือไอมีฟองเลือดเรื่อๆ (ซึ่งแสดงว่ามีภาวะปอดบวมน้ำ)
1
บางรายอาจตรวจพบภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติหัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตต่ำหรือภาวะช็อก
การป้องกัน จมน้ำ
ควรหาทางป้องกัน โดย
  • 1.
    ระวังอย่าให้เด็กเล็กเล่นน้ำหรืออยู่ในบริเวณใกล้กับน้ำ เช่น แม่น้ำลำคลอง บ่อน้ำ สระน้ำ รวมทั้งโอ่งน้ำ ถังใส่น้ำภาชนะกักเก็บน้ำภายในบ้านตามลำพัง
  • 2.
    ควรส่งเสริมให้เด็กฝึกว่ายน้ำให้เป็น
  • 3.
    เวลาลงเรือหรืออกทะเล ควรเตรียมชูชีพไว้ให้พร้อมเสมอ
  • 4.
    ผู้ที่เมาเหล้า หรือเป็นโรคลมชัก ห้ามลงแล่นน้ำ
  • 5.
    วิธีผายปอดแก่ผู้ป่วยจมน้ำที่แนะนำในปัจจุบัน คือ วิธีการเป่าปาก และให้ลงมือทำให้เร็วที่สุด อย่าเสีย เวลาในการจับแบกพาดบ่าเพื่อเอาน้ำออกจากปอดดังที่ เคยแนะนำกันในสมัยก่อน ส่วนการผายปอดด้วยมือ เช่น วิธีของซิลเวลเตอร์ (Silvester method) หรือวิธีของโฮลเกอร์นีล (Holger Nielsen method) เป็นต้น ไม่แนะนำให้ทำเพราะได้ผลน้อย
  • 6.
    ผู้ป่วยที่จมน้ำทุกรายไม่ว่าจะหมดสติหรือหยุดหายใจหรือไม่ก็ตาม ควรพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอย่างน้อย 24-27 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในเวลาต่อมา
5
การรักษา จมน้ำ
แพทย์จะรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาลทุกรายไม่ว่าจะมีอาการหนักเบาเพียงใด เพื่อเฝ้าสังเกตอาการ และหาทางป้องกันและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
มักจะทำการเจาะเลือดตรวจระดับแก็สในเลือด และตรวจหาความเข้มข้นของเกลือแร่ เอกซเรย์ดูว่ามี การอักเสบของปอดหรือปอดแฟบหรือไม่ หรือตรวจ พิเศษอื่น ๆ
การรักษา ให้ออกซิเจน ต่อเครื่องช่วยหายใจ ให้ น้ำเกลือ พลาสมาหรือเลือด ถ้ามีภาวะหัวใจวายก็จะให้ยาขับปัสสาวะและยารักษาโรคหัวใจ (เช่น ไดออกซิน) ถ้ามีปอดอักเสบ จะให้ยาปฏิชีวนะ และสตี-รอยด์
การวินิจฉัยการจมน้ำ
ผู้ที่พบเห็นคนจมน้ำ ควรรีบเข้าช่วยเหลือ รวมทั้งสังเกตว่าเกิดอาการผิดปกติอื่น ๆ หรือไม่ หากพบต้องนำตัวส่งโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป โดยแพทย์จะบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับการจมน้ำของผู้ป่วย ได้แก่ ระยะเวลาที่จมน้ำ ชนิดและอุณหภูมิของน้ำ เวลาที่ใช้ในการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพหรือซีพีอาร์ ช่วงเวลาที่เริ่มหายใจได้เอง ช่วงเวลาที่หัวใจกลับไปสูบฉีดเลือด การอาเจียน รวมทั้งการกระทบกระเทือนหรือปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
1
นอกจากนี้ แพทย์จะตรวจอาการต่าง ๆ เพื่อวินิจฉัยผู้ป่วย ได้แก่ อุณหภูมิร่างกาย ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด จังหวะการเต้นของหัวใจ ลักษณะการหายใจ อาการปอดบวม การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะหรือคอ การได้รับบาดเจ็บบริเวณทรวงอกหรือภายในช่องท้อง (ในกรณีจมน้ำจากการตกจากที่สูง) การทำงานของระบบประสาท โดยแพทย์จะตรวจด้วยวิธีต่อไปนี้
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ วิธีนี้จะใช้ตรวจอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจ รวมทั้งตรวจดูว่าผู้ป่วยเกิดภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจหรือภาวะตัวเย็นเกินหรือไม่
การตรวจเลือด วิธีนี้ใช้ตรวจวิเคราะห์ก๊าซในหลอดเลือดแดง (Arterial Bleed Gas Analysis) เกลือแร่ในเลือด การทำงานของไต ระดับกลูโคส ระดับแอลกอฮอล์ ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การทำงานของตับ หรือการแข็งตัวของเลือด
1
การตรวจด้วยรังสี แพทย์อาจเอกซเรย์ทรวงอก รวมทั้งเอกซเรย์หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณกระดูกสันหลังคอหรือศีรษะ เพื่อดูว่าได้รับบาดเจ็บหรือเกิดการกระทบกระเทือนบริเวณดังกล่าวหรือไม่
แนวทางกรณีคนหายตกน้ำ/อุบัติเหตุ/หลงป่า/เหตุที่อาจเกิดอันตราย
1.กรณีคนหายตกน้ำ/อุบัติเหตุ/หลงป่า/เหตุที่อาจเกิดอันตรายกับคนหาย เมื่อรู้ว่าเกิดเหตุ ให้แจ้งความได้ทันที ไม่ต้องรอครบ 24 ชม.
1
2.โรงพักที่จะแจ้งความคนหาย ต้องเป็นพื้นที่เกิดเหตุ ในกรณีไม่ทราบให้ถามคนตรงนั้นว่าเป็นพื้นที่โรงพักใด ในกรณีเกิดเหตุในแม่น้ำ สองฝั่งอาจคนละโรงพักกัน ให้ดูว่าเกิดเหตุใกล้ฝั่งใด ให้แจ้งโรงพักฝั่งนั้น
3.ตำรวจจะประสานหน่วยกู้ภัย หน่วยกู้ชีพได้ดีที่สุด เพราะกู้ภัยจะฟังการสั่งการและการขอความร่วมมือ จากตำรวจท้องที่เกิดเหตุ ดังนั้นการแจ้งความจะเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการช่วยเหลือตามระบบ
4.จุดเกิดเหตุ เป็นข้อมูลสำคัญในการช่วยเหลือค้นหา ผู้อยู่ในเหตุการณ์ควรจดจำลักษณะพื้นที่ อาจใช้การแชร์โลเคชั่น และถ่ายภาพจุดเกิดเหตุ เพราะอาจจำจุดไม่ได้หรือสภาพแวดล้อมมีลักษณะคล้ายกัน
5.การค้นหาคนหายหรือผู้ประสบภัย ควรมี ผู้บัญชาการเหตุการณ์ สำหรับการประสานสั่งการ วางกำลังและแผนที่การค้นหา ไม่ให้ซ้ำซ้อน และป้องกันการเกิดเหตุซ้ำกับทีมค้นหา
6.การให้ข่าวหรือความคืบหน้าเกี่ยวกับคนหาย ควรเป็น ผู้บัญชาการเหตุการณ์หรือครอบครัว ไม่ควรหยิบประเด็นหรือกระแสจากโลกออนไลน์มาเป็นรายงานความคืบหน้า เพราะอาจเป็นประเด็นที่บิดเบือนหรือสร้างกระแส
7.ทีมสนับสนุนการช่วยเหลือค้นหาคนหาย ควรเข้ารายงานตัวต่อ ผู้บัญชาการเหตุการณ์ เพื่อนับจำนวนและแจ้งภารกิจ ตลอดจนแบ่งพื้นที่การค้นหาไม่ให้ซับซ้อน และเพื่อความปลอดภัย
8.ควรตั้งกองอำนวยการค้นหาคนหาย ในจุดเกิดเหตุ สำหรับเป็นศูนย์ประสานงาน สั่งการ การลงทะเบียนเข้าร่วมภารกิจช่วยเหลือ การแถลงข่าว และการแจ้งข้อมูลข่าวสารต่างๆ
9.เวลามีเหตุคนหายในลักษณะนี้ ควรมีการบันทึกปากคำพยาน ผู้เห็นเหตุการณ์ ไว้ตั้งแต่ต้น เพื่อเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุดหลังเกิดเหตุ และป้องกันการลืมในสาระสำคัญ
10.การค้นหาคนหายและผู้ประสบภัย ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของทีมค้นหา ในกรณีมีอันตรายหรือความเสี่ยง ต้องยอมรับในการตัดสินใจของ ผบ.เหตุการณ์ เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียเพิ่ม
โฆษณา