Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mind InPsych
•
ติดตาม
4 มี.ค. 2022 เวลา 02:30 • การศึกษา
ทำไมเชื่อ ???
ความเชื่อ เป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ ในอดีตกาล เมื่อเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด มนุษย์เชื่อว่าเป็นการบันดาลให้เกิดขึ้นจากอำนาจของ พระเจ้า บางเหตุการณ์ส่งผลร้ายต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ มนุษย์จึงพยายามหาวิธีที่ทำให้เกิดความสุขกับตนเอง เพื่อกระทำต่อสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติเหล่านั้น ทำให้เกิดเป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นพิธีกรรม ความเชื่อ หรือศาสนาขึ้น
ภาพจาก https://www.pinterest.com/pin/707276316490153932/
ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ
ในปี 1933 ฟรอยด์ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ศาสนา ทำหน้าที่อยู่ 3 ประการคือ
บอกให้ทราบว่าสากลจักรวาลมีต้นกำเนิดอย่างไร
บอกถึงหลักเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติ
การได้รับผลของการปฏิบัติ เช่น เรื่องบุญ บาป นรก สวรรค์
ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความคล้ายคลึงกับ บิดา-มารดา คือ
บอกให้ทราบว่าสากลจักรวาลมีต้นกำเนิดอย่างไร (เทียบได้กับการที่บิดา มารดาเป็นผู้ให้กำเนิดบุตร)
บอกถึงหลักเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติ (เทียบได้กับกฎเกณฑ์ ภายในครอบครัว)
การได้รับผลของการปฏิบัติ (เทียบได้กับการให้รางวัลเมื่อเป็นเด็กดี หรือลงโทษเมื่อทำตัวไม่ดี)
จะเห็นได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนา และผู้นับถือศาสนา คล้ายกับความสัมพันธ์ของ บิดา-มารดา(ผู้ปกครอง) กับ เด็กๆ
ปัจจุบันมีศาสนามากมายที่มีเนื้อหา ใจความต่างกันบ้าง แต่อย่างไรก็ตามนักจิตวิเคราะห์ถือว่า มีความเหมือนกันในสาระสำคัญคือ ความเชื่อในศาสนาเป็นผลสะท้อนมาจากชีวิตในวัยเด็กทั้งสิ้น โดย
ผู้นับถือศาสนา = เด็ก ใน Unconscious
พระเจ้า, ศาสดา, นักบวช = บิดา-มารดา ใน Unconscious
นักจิตวิเคราะห์มีความเห็นว่า บุคคลที่นับถือศาสนาใดๆก็ตามบุคคลนั้น ต้องพอใจที่ศาสนานั้น สามารถแก้ไข Conflicts (ความขัดแย้งภายในจิตใจ) ที่อยู่ใน Unconscious ได้ และ Conflicts เหล่านี้เกิดจากความปรารถนาของคน ๆ นั้น เมื่อยังเป็นเด็ก
นอกจากนี้ นักจิตวิเคราะห์ยังเชื่ออีกว่า การที่จะเคารพนับถือศาสนา สถาบัน และผู้ที่มีอำนาจหรือไม่ นักจิตวิเคราะห์เชื่อว่ามีรากฐานมาจากความปรารถนา และ Conflict ในวัย Oedipus เหมือนกัน
ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ศาสนาถูกท้าทายด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ผู้คนต่างนิยมนับถือศาสนาต่างๆ น้อยลงมาก เมื่อไม่เชื่อศาสนาแล้วประชากรเหล่านี้จะทำอย่างไร มีอะไรยึดเหนี่ยวจิตใจ?
คำตอบคือ ลัทธิและ ปรัชญาทางการเมืองได้เข้าไปแทนที่ศาสนา และทำหน้าที่เช่นเดียวกับศาสนา เช่น แนวคิดสวรรค์บนดิน (Utopia), สังคมนิยม (Socialism), ลัทธิมาร์กซ์ (Marxism), แนวคิดมนุษยนิยม (Humanism), สิทธิมนุษยชน (Human Rights) เป็นต้น
ไม่นับถือศาสนา จะเป็นคนดีได้อย่างไร ?
นักจิตวิเคราะห์พบว่า การที่จะมีศีลธรรมอันดีนั้น ต้องอาศัยการพัฒนาของ Superego เป็นสำคัญ Superego เป็นรากฐานทางศีลธรรมที่มาก่อน หาใช่การอบรมทางศาสนาไม่
ไสยศาสตร์ หมายถึง วิชาทางไสย อันเป็นลัทธิเกี่ยวกับเวทมนตร์ ไสยศาสตร์ เวทมนตร์คาถา เกิดขึ้นเพราะความเชื่อที่ว่า ความคิด ความปรารถนา การให้พร สาป มีอิทธิพลบุคคลและสิ่งแวดล้อมได้ เช่นอาจบันดาลให้เกิดผลดี หรือผลร้ายได้
นักจิตวิเคราะห์พบว่า ความคิดแบบนี้พบได้ในเด็กเล็ก เรียกว่า The omnipotence of though การที่เด็กเล็กเชื่อแบบนี้เพราะเมื่อเด็กหัดพูด และปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม เด็กจะมีความคิดแบบ Primary Procress ซึ่งเต็มไปด้วยความ Magical เด็กจะเชื่อว่า ความปรารถนาของตนจะทำให้ผู้ใหญ่ตอบสนองความต้องการได้ สำหรับเด็กแล้ว จะถือเอาว่า จินตนาการเป็นของมีอยู่จริง ต่อมาเมื่อเด็กเรียนรู้ว่าสิ่งต่างๆ ไม่ได้เป็นไปตามจินตนาการ เด็กจะค่อยๆเรียนรู้ความจริงเมื่อโตขึ้น
ในเด็กเล็กมีความคิดอีกประเภทที่เกี่ยวกับ ไสยศาสตร์ คือความคิดที่ว่า ของทุกสิ่งมีความคิด ความรู้สึก และความปรารถนาเหมือนตัวเด็กเอง และเด็กจะค่อยๆ เรียนรู้ความจริงเมื่อโตขึ้น เด็กจึงจะเลิกความคิดดังกล่าว
แต่อย่างไรก็ตาม ความคิดแบบนี้ยังหลงเหลือในผู้ใหญ่บ้าง จะพบเห็นได้จากความเชื่อทางไสยศาสตร์ ศาลพระภูมิ, ต้นไม้, ภูเขา, แม่น้ำ, จอมปลวก ฯลฯ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือ มีชีวิตหรือวิญญาณ คล้ายกับเด็กเล็กที่เชื่อว่าวัตถุทุกชนิดมีจิตใจ
ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ มีมูลเหตุมาจากความคิดในวัยเด็ก โดยเฉพาะ Fantasy ที่เด็กเชื่อว่าทุกอย่างมีจิตใจ
นักจิตวิเคราะห์พบว่า ผู้เชื่อเรื่องโชคลางนั้น มีความรู้สึกผิดบาปใน Unconscious
บุคคลที่เชื่อเรื่องหมอดู หรือโหราศาสตร์ ในระดับ Unconscious ยังคงเป็นเด็ก การปฏิบัติตามคำทำนายก็เพื่อจะได้รับผลประโยชน์ เช่นเดียวกับการได้รางวัลจาก บิดา-มารดา ขณะเดียวกันก็หลีกเลี่ยงการลงโทษ
จิตวิทยา
จิตวิเคราะห์
ความเชื่อ
1 บันทึก
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
มองผ่านจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis Perspective)
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย