3 มี.ค. 2022 เวลา 03:33 • ปรัชญา
๒. ผู้นำ-ผู้ตาม และ ธรรม​บรรยาย
ผู้นำ​-ผู้ตาม (บทคัดย่อ​ชิ้นที่ ๑ -​ ๓)
ในครั้งอดีต หรือไม่ใช่ในอดีตในปัจจุบัน หรือในอนาคตก็ตาม ผู้นำที่เป็นผู้รู้แจ้ง
ผู้รู้แจ้งก็คือผู้ที่รู้ชัดถึงเหตุอันจะบังเกิดผลอย่างไร รู้การกระทำของตัวว่า ทำเช่นนี้แล้วมันจะเกิดผลอย่างไรขึ้น ผู้นำก็ย่อมนำไปสู่การทำที่สมควรแก่เหตุ และผู้นำก็ย่อมนำไปสู่การรับผลตามที่เกิดขึ้น
แต่เราดูผู้นำเดี๋ยวนี้นำเราไปสู่สงคราม โดยประชาชนไม่รู้สึกตัวแล้วผู้นำก็เผ่นหนี​ไปก่อน ไม่นำเราเข้าสู่การรับผลจากการเปลี่ยนแปลงนั้น
ดังนั้นลักษณะการร่วมกัน พระพุทธเจ้าท่าน เรียกว่า สหาย (สะ-หา-ยะ)​ =ไปด้วยกัน ไปด้วยกันหมายความว่าไปสู่จุดหมายปลายทางเดียวกัน แต่ถ้าไม่เข้าใจชัดเรื่องนี้แล้วจะเกิดการกดขี่กัน
ผู้ตามที่ดี ต้องไม่ตามในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้ ดังนั้นต้องเป็นหน้าที่ของผู้นำ ต้องอธิบายให้ถูกเพื่อให้เกิดตามถูก เดี๋ยวนี้เรามักจะไม่ใช้วิธีนั้น เรามักจะคาดคะเน​หรือเหวี่ยง​แหเข้าไปว่า เรื่องนี้คุณต้องรู้สิน่า ที่จริงแล้วเราเข้าใจผิด อย่าว่าแต่เรื่องนั้นๆ เลย แม้แต่ตัวเราเอง เรายังรู้มันยาก นับประสาอะไรกับเรื่องภายนอก
เมื่อเราสนทนากัน เรามักจะพูดถึงเรื่องบางเรื่องซึ่งเราคิดว่าผู้ฟังควรจะรู้แล้ว แต่ปรากฏว่า ผู้ฟังอาจจะเพิ่งได้ยินเป็นครั้งแรก ฉะนั้นผลของการนำและการตามจึงไม่สมบูรณ์
แต่นี่ประเทศเราร่วมกันอยู่​ เราคิดว่ามีผู้นำและผู้ตาม แต่ข้อเท็จจริงก็คือว่า ทั้งการนำและการตามนั้นไม่สมบูรณ์เลย เพราะผู้นำไม่รู้แจ้ง ผู้ตามไม่รู้จะตามอย่างไรถูก การที่มันเกิดแบ่งแยกเป็นค่ายขึ้นมานี้ เพราะปัญหานี้
...
ธรรมบรรยาย ณ วัดสนามใน นนทบุรี​ ขณะนั้นท่าน​เขมานันทะ​ยังครองสมณะ​เพศ​ -​ ถอดเทปและจัดพิมพ์​ (โรเนียว​-เย็บเล่ม)​ โดยกลุ่ม​ศึกษา​และปฏิบัติ​ธรรม เมื่อ กันยายน​ พ.ศ. ๒๕๒๒

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา