9 มี.ค. 2022 เวลา 11:00 • อาหาร
นวัตกรรมใหม่ๆด้านการแก้ปัญหาของ อุตสาหกรรมอาหารสุขภาพ โดย ดร เอกมล คล้ายเกิด
3
ตลอด 75 ปีที่ผ่านมา บริษัทไทยวา ดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารเคียงคู่สังคมไทยมาตลอด และยังคงมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งควบคู่ไปกับการสร้างคุณค่าร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างยั่งยืน
ซึ่งในการสัมมนาออนไลน์ล่าสุด เราได้มีการพูดคุยถึงเรื่อง นวัตกรรมใหม่ๆด้านการแก้ปัญหาของ อุตสาหกรรมอาหารสุขภาพ ไปอย่างมากมาย เราจึงอยากนำหัวข้อคิดดีๆมาฝากให้ทุกท่านได้อ่านและพิจารณากันตามนี้:
แม้เราจะอยู่ท่ามกลางวิกฤติการระบาดของไวรัส COVID-19 แต่อุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต (Health & Wellness Foods) ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง
โดยมีการคาดการว่ามูลค่าทางการตลาดของอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 764.2 พ้นล้านเหรียญสหรัฐ จะพุ่งขึ้นสูงถึง 1.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2027 เลยทีเดียว ซึ่งเป็นรองเพียงอุตสาหกรรม "ผลิตภัณฑ์ความงามและผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย" เท่านั้นเอง
โดยสองประเทศที่เติบโตด้านอาหารสุขภาพมากที่สุดได้แก่ สหรัฐอเมริกา และ สาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้อนาคตของของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้ดูสดใสเป็นอย่างมาก
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทรนด์โลกนั้นอาจฟังดูเหมือนสิ่งที่น่ากลัวสพหรับผู้ที่ประกอบธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์อาหารเพราะความต้องการของผู้บริโภคนั้นเพิ่มมากขึ้นทุกวัน
ความสนใจที่มีต่ออาหารที่ปราศจาก น้ำตาลแลคโตส, การดัดแปลงพันธุกรรม, กลูเตน, น้ำมันปาล์ม หรือแม้แต่อาหารประเภทมังสวิรัติ นั้นเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และผู้ประกอบการหลายๆท่านกำลังทําทุกวิถีทางเพื่อบริการลูกค้าของตนเองให้ได้
อีกหนึ่งหัวข้อที่ทุกคนคงเคยได้ยินมาบ้างแล้วคืออาหารออร์กนิก (Organic Foods) หรือ อาหารที่ผ่านการผลิตทางการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมี ซึ่งความนิยมของอาหารออร์กนิกนั้นมีส่วนเกิดมาจากความตระหนักของผู้บริโภคเองที่คิดได้ว่าการเลือกสนับสนุนเกษตรกรและระบบเกษตรกรรมที่ยุติธรรมมากขึ้นนั้นเป็นอนาคตที่ยั่งยืนมากกว่าสิ่งใด
นอกจากอาหารออร์กนิกแล้ว เราก็ควรให้ความสำคัญกับ “อาหารฟังก์ชัน” (Functional Food) อีกด้วย เพราะเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ผู้บริโภคเข้าใจว่าสามารถทําประโยชน์อื่นๆให้กับร่างกายนอกเหนือจากความอิ่มและรสสัมผัส
เราขอยกตัวอย่างตัว แป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ หรือ สตาร์ชพลังงานต่ำ (Resistant Starch) ของไทยวาเอง ที่ทนต่อการย่อยสลายด้วยเอนไซม์ในระบบทางเดินอาหาร
ตามคำนิยามหมายถึง และไม่ถูกย่อยด้วยเอนไซม์ในลำไส้เล็ก ไม่สามารถดูดซึมภายในลำไส้เล็กของมนุษย์ได้ จึงมีคุณสมบัติเทียบเท่าเส้นใยอาหาร สามารถผ่านเข้าไปถึงลำไส้ใหญ่และถูกย่อยโดยจุลินทรีย์กลายเป็นกรดไขมันสายสั้นๆ ที่เอื้อต่อการเจริญของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อลำไส้ ช่วยสร้างความแข็งแรงให้แก่เซลล์ผนังลำไส้ใหญ่ ซึ่งถ้าถูกนำมาใช้ในการทำอาหารและขนม และได้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ลดการสะสมของโคเลสเตอรอลและลดความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่แก่ผู้บริโภคอีกด้วย
ทั้งนี้ ที่บริษัทไทยวาเราเข้าใจและตระหนักถึงความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของผู้บริโภคทั่วโลก ที่มีต่ออาหารเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต เราจึงเดินหน้าพัฒนาและส่งเสริม ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่มีคุณภาพและปราศจากสารเคมีในทุกทาง ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ ไร้กลูเตน, ไฟเบอร์สูง, ดัชนีน้ำตาลต่ำ และ ไม่มีการดัดแปลงพันธุกรรม
ในมุมของห่วงโซ่อุปทานธุรกิจเกษตร (Agricultural Supply Chain) เราเชื่อว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำจาก ข้าว และ มันสำปะหลัง เป็นหนึ่งในทางออกที่ดีที่สุดสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค, เสริมสร้างศักยภาพเกษตรกรขนาดเล็ก, ปฏิรูปเศรษฐกิจ และ อนุรักษ์โลกของเราให้ยั่งยืนไปตลอด
อ่านรายละเอียดเพื่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แป้งจากไทยวาได้ที่
โฆษณา