8 มี.ค. 2022 เวลา 09:13 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ศัพท์ S&T ทันโลก ตอน 13.5
LGBTQ+ เพิ่มเติม
Photo by Jiroe on Unsplash
หลังจากเขียนบทความลงในคอลัมน์ “ศัพท์ซอยวิทย์” ในปี 2016 แนวคิดเรื่องเพศสภาพก็พัฒนาต่อไปอีก
เมื่อถึงปี 2022 ก็คิดว่าน่าจะเพิ่มเติมความหมายอีกบางคำ ดังนี้
ตรงเพศ หรือ ซิสเจนเดอร์ (cisgender)—คนที่มีเพศที่ระบุไว้ตามใบเกิด เป็นคำตรงข้ามกับ ทรานสเจนเดอร์ (transgener)
เจนเดอร์ ดิสโฟเรีย (gender dysphoria)—คนที่มีประสบการณ์ไม่สบายใจหรือทุกข์ใจกับการมีเพศแต่เกิด ไม่เข้ากับอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเอง
อัตลักษณ์ทางเพศ (gender identity)—การที่ใครสักคนมีความรู้สึกว่า เพศของตน (ไม่ว่าชาย, หญิง, ไม่แบ่งแยกเป็นสอง (nonbinary) หรืออื่นๆ) ไม่สอดคล้องกันกับเพศแต่แรกเกิด
ใบรับรองการตั้งข้อสังเกตเรื่องเพศสภาพ (gender recognition certificate, GRC)—หลักฐานทางกฎหมายที่ช่วยยืนยันว่า คนจำพวกทรานส์สามารถระบุเพศตน หรือสามารถแก้ไขเพศตามใบสูติบัตรได้
กิลลิกค์ คอมพีเทนซ์ (Gillick competence)—การอาศัยกฎทางการแพทย์ช่วยตัดสินผู้มีอายุต่ำกว่า 16 ปีว่า จะยินยอมใช้การรักษาทางการแพทย์กับตนเองได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้ปกครอง
Photo by Sharon McCutcheon on Unsplash
อินเตอร์เซ็กซ์ (intersex)—คนที่เกิดมามีลักษณะทางชีววิทยาเป็นทั้งเพศชายและเพศหญิง หรือคนที่มีลักษณะไม่เข้ากับมุมมองทางสังคมว่าเป็นชายหรือหญิง
ไม่แบ่งแยกเป็นสอง (nonbinary)—คำศัพท์กว้างๆ รวมๆ ที่ใช้ระบุถึง คนที่ไม่อาจจำแนกอย่างชัดเจนว่าเป็นชายหรือหญิง โดยมีคำที่ระบุจำเพาะถึงกลุ่มนี้อย่างละเอียดมากขึ้นไปอีก เช่น ความลื่นไหลทางเพศ (genderfluid), ไร้เพศ (agender), เพศแปลกพิลึก (genderqueer) มีจิตวิญญาณคู่ (Two Spirit) และ ฯลฯ
ข้ามเพศ หรือ ทรานสเจนเดอร์ (transgender)—คนที่ไม่ได้มีอัตลักษณ์ตามเพศที่ถือกำเนิด, เป็นคำตรงกันข้ามกับซิสเจนเดอร์
ไม่รู้ต่อไปจะมีคำอะไรมาเพิ่มเติมอีก

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา