Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
FIT ESTiiM | TH
•
ติดตาม
9 มี.ค. 2022 เวลา 02:54 • สุขภาพ
ในชีวิตประจำวันของเรา มักต้องเจอสิ่งที่ทำให้เราเครียดอยู่แล้ว
บางความเครียดหลีกเลี่ยงได้ แต่บางอย่างก็ต้องลุยฝ่าไป
แต่ก็มีความเครียดบางอย่างที่เราทำได้แค่ "ทนให้มันผ่านไป"
จะเห็นได้ว่า ยังไงเราก็หนีความเครียดไม่พ้น
งั้นเรามาทำความรู้จักมันกันดีกว่า ว่าความเครียดในชีวิตประจำวันยุคปัจจุบัน เรามักจะเจอความเครียดแบบไหนกัน
1. Acute Stress
เป็นความเครียดแบบฉันพลันจากเรื่องเล็กๆ ในชีวิตประจำวัน
เป็นความเครียดระยะสั้นๆ ที่เรามักจะแก้ไขมันได้
(บางอย่างก็ผ่านไปเอง โดยที่เราไม่ต้องทำอะไร)
ความเครียดชนิดนี้ ถ้าไม่ใช่เรื่องหนัก ก็ไม่น่ากังวลเท่าไหร่
และถ้ามันเป็นความเครียดที่เกี่ยวกับงานหรือการพัฒนาชีวิต...
ความเครียดก็สามารถช่วยให้เรากระตือรือร้นได้
หากเครียดในปริมาณที่เหมาะสม
2. Episodic Acute Stress
คือ ความเครียดฉับพลัน ที่เกิดขึ้นถี่ๆ ซ้ำๆ
(ประมาณว่าโดน Acute Stress รุมเร้า)
ทำให้เรากังวลแทบตลอดเวลา
และอาจทำให้ปวดหัวเรื้อรัง ความดันขึ้น
รวมถึงค่อยๆ มีอาการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากความเครียดได้
และความเครียดชนิดนี้ สามารถสะสมได้
ถ้ามีมากเกินไป อาจทำให้เราเหนื่อยล้า ไม่มีสมาธิ
เป็นต้นตอให้เราทำสิ่งต่างๆ ออกมาได้ไม่ดี และมีปัญหาอื่นตามมา
3. Chronic Stress
ความเครียดสะสมเรื้อรัง ที่เกิดจากการมองไม่เห็นทางออกของปัญหา
มักเกิดจากปัญหาใหญ่ ที่ยังแก้ไม่ได้ (แต่ต้นตอก็มาจาก Episodic Acute Stress ที่สะสมมากๆ จนคลายปมยาก ได้เช่นกัน)
4. Techno Stress
ความเครียดที่เกิดจากการใช้ Technology มากเกินไป
ทำให้เกิดผลกระทบทางสภาวะจิตใจได้หลายแบบ
ทั้งสภาวะ Self Esteem (ความมั่นใจในตัวเอง) ต่ำ
ที่มักเกิดจากการเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น
รวมถึงสภาวะ FOMO (Fear of Missing Out)
ที่กังวลว่าเราจะพลาดอะไรไป, กลัวตกขบวน, กลัวไม่ทันข่าว, กลัวคุยกับชาวบ้านไม่รู้เรื่อง ทำให้ต้องเช็คข่าวบ่อยๆ... ยิ่งเช็ค ยิ่งเครียด และกังวลกับสิ่งที่ยังไม่เกิด (แถมบางครั้งดันไปเครียดกับสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับเราอีก)
[[ วิธีแก้สภาวะ FOMO ในแบบที่ผมทำอยู่ คือ แทนที่เราจะอ่านข่าวแทบทุกอย่างที่ผ่านตาเรา ให้เราเลือกอ่านพวก "สรุปข่าว" ที่สรุปประเด็นสำคัญแต่ละอย่างแทน
เพราะว่ากันตามตรง ข่าวบางข่าวก็ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับชีวิตเรา
ซึ่งการตามอ่านเรื่อยๆ จะทำให้เครียดโดยไม่จำเป็น และทำให้เสียเวลาได้
แถมบางข่าวถ้าเสพเร็วเกินไป มีโอกาสได้ Fake News มาแทนได้
แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ควรพิจารณาว่ามีข่าวใดที่เป็นประโยชน์
และเป็น Case Study ให้เราได้ เราค่อยไปลงลึกในข่าวนั้น และหาข้อมูลเพิ่ม ]]
กลับเข้าเรื่อง
ความเครียดทั้ง 4 แบบ ดังกล่าว
ส่งผลต่อฮอร์โมน Cortisol (คอร์ติซอล)
ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เป็นเหมือนระบบป้องกัน
ที่ร่างกายเอาไว้รับมือกับสภาวะเครียด
ฮอร์โมนนี้มีข้อดีหลายอย่าง เช่น
- ช่วยให้เราตื่นนอน เมื่อถึงเวลาที่ควรตื่น (เช้า)
- กระตุ้นให้ร่างกายสะสมพลังงานสำรองมากขึ้น (กินมากขึ้น) ซึ่งเป็นเรื่องดีในการเอาชีวิตรอด... (แต่ในปัจจุบัน อาจทำให้เราอ้วนเกินไปได้ 😂)
แต่ฮอร์โมน Cortisol ก็มีข้อเสียเช่นกัน หากเราเครียดมากเกินไป
และฮอร์โมนชนิดนี้หลั่งมากเกินไป, นานเกินไป, หรือไม่เป็นเวลา
ยิ่งในคนที่มีอาการ Chronic Stress
เราจะเห็นผลเสียของความเครียดได้ชัด คือ
- นอนไม่หลับ / หลับยาก / หลับได้ไม่ดี
- หมดแรง อ่อนล้า
- ร่างกายสะสมไขมันมากขึ้น
- ปวดหัวเรื้อรัง (อาจปวดกล้ามเนื้ออื่นๆ ร่วมด้วย เช่น คอ)
- เพิ่มโอกาสการเสียมวลกล้ามเนื้อ
- มีปัญหาในการย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย
- เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
- ป่วยง่าย
- และอื่นๆ อีกมากมาย
ความเครียดทั้ง 4 แบบ ที่เพิ่งจะกล่าวถึงไป
เป็นเพียง "ความเครียดในชีวิตประจำวัน" เท่านั้น
ยังไม่รวมความเครียดและอาการทางจิตวิทยาอื่นๆ
ที่อาจจะนับเป็นโรค หรืออาการที่ต้องรักษา
*** หากคุณผู้อ่านกำลังคิดว่าตัวเอง (หรือคนใกล้ตัว) มีอาการหรือสภาวะบางอย่าง ที่ไม่ปกติของความนึกคิดและสมอง (ไม่ว่าจะเกิดจากความเครียดหรือไม่ก็ตาม) แนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์จะดีที่สุด ***
เพราะ Content ที่ผมทำ แค่ช่วยให้เรารู้จักตัวเอง
และแก้ปัญหาเบื้องต้น ที่ยังไม่ต้องถึงมือแพทย์คนไหนมาช่วย
เพียงเท่านั้น
ในบทความนี้ เราเข้าใจความเครียดกันมาประมาณหนึ่งแล้ว
ในบทความหน้า เราจะมาเรียนรู้กัน ว่าความเครียดส่งผลต่อพฤติกรรมการกิน และการพัฒนาร่างกายอย่างไรบ้าง
พบกันใหม่ที่บทความหน้าครับ
Be Fit,
Be Esteem.
บันทึก
2
2
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย