11 มี.ค. 2022 เวลา 12:46 • สุขภาพ
โอมิครอนสายพันธุ์ใหม่ BA2.2 เจอที่ฮ่องกง อาจเป็นภัยร้ายในอนาคต
8
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รามาฯ ระบุ โอมิครอนสายพันธุ์ใหม่ BA2.2 เจอที่ฮ่องกง อาจเป็นภัยร้ายในอนาคต ในไทยยังไม่เจอ สายพันธุ์หลักเป็นโอมิครอน BA.2
8
เมื่อวันที่ 10 มี.ค.2565 เฟซบุ๊คเพจ “Center for Medical Genomics”ซึ่งเป็นของศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า โอมิครอนสายพันธุ์ใหม่ “BA.2.2” เจอที่ฮ่องกง (B.1.1.529.2.2) จาก "ฮ่องกง"ที่อาจเป็นภัยร้ายในอนาคต
1
การระบาดใหญ่ระลอกล่าสุดของ โอมิครอนบนเกาะฮ่องกง ได้ก่อให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ "BA.2.2" หรือ B.1.1.529.2.2 ที่มีการกลายพันธุ์เด่นตรงหนามแหลมซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโนตำแหน่งที่ 1221 จาก I (Isoleucine) เป็น T (Threonine) หรือ "S:I1221T" และการกลายพันธุ์ตรงยีน "ORf1a: T4087I" (ภาพ 1-4) โดยพบมีแพร่ระบาดไปยังอังกฤษแล้วเช่นกัน
1
การระบาดระลอกใหม่นี้ทำให้มีอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในฮ่องกงพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดในโลก โดยมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยในรอบ 7 วันอยู่ที่ 30 คนต่อประชากร 1 ล้านคน ในขณะที่ประเทศไทยอยู่ที่ 0.85 คนต่อประชากร 1 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน (ภาพ 5) ดังนั้นท่านที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนควรรีบไปฉีด
1
ที่น่ากังวลคือจากการที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่จากโอมิครอนในฮ่องกงเพิ่มขึ้นอย่างมากเฉลี่ยในรอบ 7 วันอยู่ที่ 5,425 คนต่อประชากร 1 ล้านคน เมื่อเที่ยบกับอันดับสองประเทศลัตเวียจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ใกล้เคยงกันคือ 5,278 ต่อประชากร 1 ล้านคน ประเทศไทยอยู่ที่ 315 คนต่อประชากร 1 ล้านคน แต่ปรากฏว่าอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 บนเกาะฮ่องกงสูงมากคือโดยมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยในรอบ 7 วันอยู่ที่ 30 คนต่อประชากร 1 ล้านคน
ในขณะที่ทั้งลัตเวียและไทย อยู่ที่ 10.7 และ 0.7 ตามลำดับ (ภาพ 6) กล่าวคือที่ฮ่องกงมีอัตราผู้เสียชีวิตสูงกว่าลัตเวียถึง 2 เท่า โดยทั้งลัตเวียและไทยมีการะบาดของสายพันธุ์ BA.1 และ BA.2 ไม่พบ BA.2.2 ทำให้มีแนวโนมว่าโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์ย่อย BA.2.2 อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อัตราผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในฮ่องกงพุ่งขึ้นจนทำสถิติสูงที่สุดในโลก
ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ฮ่องกงและทั่วโลกกำลังประมวลผลรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของ BA.2.2 กับข้อมูลทางคลินิกเพื่อตอบปัญหาสำคัญ 6 ประการ
  • BA.2.2 กลายพันธุ์ไปมากกว่า BA.2 หรือไม่ และตำแหน่งใดบ้างโดยเฉพาะในส่วนยีนที่ควบคุมโครงสร้างของหนาม (spike) ที่เปลือกของอนุภาคไวรัส ในเบื้องต้นทราบแล้ว BA.2.2 มีการกลายพันธุ์ไป 2 ตำแหน่งที่ไม่พบในสายพันธุ์หลักและสายพันธุ์ย่อยอื่นๆ คือ "S:I1221T" และ "ORf1a: T4087I" (ภาพ 1)
  • BA.2.2 แพร่ระบาด (transmissibility) รวดเร็วกว่า BA.2 หรือไม่
  • BA.2.2 ก่อให้เกิดอาการของโรคโควิดได้รุนแรง (severity) กว่า BA.2 หรือสายพันธุ์ที่น่ากังวลใจ (variants of concern) อื่นๆ เช่น อัลฟา เบตา แกมมา เดลตา หรือไม่
  • BA.2.2 สามารถด้อยประสิทธิภาพของวัคซีนลงมากกว่า BA.2 หรือไม่
  • ใช่หรือไม่ ที่ BA.2.2 เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในฮ่องกงสูงที่สุดในโลก
1
  • ยารักษาโมโนโคลนอลแอนติบอดีตัวล่าสุด “โซโทรวิแมบ” (Sotrovimab) ที่ใช้ต่อต้านโอมิครอน ยังสามารถจับกับ BA.2.2 ได้อยู่หรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ของระบบทางเดินหายใจ
ปัจจุบันยังไม่พบ BA.2.2 ในประเทศไทย แต่เพื่อไม่ประมาททางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯได้เริ่มพัฒนาชุดตรวจ BA.2.2 แล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จนำออกใช้ตรวจกรอง BA.2.2 ได้ภายในอีก 2 สัปดาห์ด้วยเทคโนโลยี “MassArray Genotyping” ซึ่งใช้เวลาในการตรวจรู้ผลบรรดาสายพันธุ์ที่น่ากังวล (variants of concern: VOC) รวมทั้ง BA.2.2 ในการตรวจเพียงครั้งเดียว (single reaction) ใช้เวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมงในการออกผล
สายพันธุ์หลักในไทยโอมิครอนBA.2
 
เมื่อวันที่ 7 มี.ค.2565 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า การเฝ้าระวังสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด 19 ของไทย ล่าสุดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา(26 ก.พ.-4มี.ค.2565) มีการเก็บตัวอย่าง 1,900 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่า ไม่มีสายพันธุ์อัลฟา เบตา แกรมมา ส่วนสายพันธุ์เดลตาพบเพียง 7 ตัวอย่าง ที่เหลือเป็นสายพันธุ์โอมิครอน คิดเป็น 99.6% โดบพบในทุจังหวัดมากน้อยแตกต่างกันไป
เมื่อจำแนกสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์โอมิครอน พบว่าเป็นสายพันธุ์ย่อย BA.2 มากที่สุด 51.8% ที่เหลือเป็น BA.1 คิดเป็น 48.2 % แสดงว่าBA.2 มีอิทธิฤทธิ์แพร่เร็วกกว่าBA.1 จึงเบียดแซงได้ และจะพบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนแทนBA.1ทั้งหมดในที่สุด เว้นแต่จะมีตัวกลายพันธุ์อื่นที่แพร่ได้เร็วกว่า ซึ่งต้องมีการเฝ้าระวังต่อไป เมื่อพิจารณาจากสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มตรวจสายพันธุ์แล้วพบเป็นBA.2 คือ ผู้ติดเชื้อรายใหม่เพื่อสำรวจภาพรวมประเทศ 49.08 % คลัสเตอร์ใหม่ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่า 50 คนในคลัสเตอร์ 50 % กลุ่มที่มีอาการรุนแรง และ/หรือเสียชีวิตทุกราย 30.99 % ลักษณะอื่นๆที่สงสัยในไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 44.07 % กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ 52.94 % และกลุ่มผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อน(ติดเชื้อซ้ำ) 28.57 %
สำหรับโอมิครอนBA.2 องค์การอนามัยโลกหรือฮู(WHO)ระบุเรื่องความรุนแรงไม่มีความแตกต่างจาก BA.1 เบื้องต้นจากข้อมูลพบว่า BA.2 จะแพร่เร็วกว่า BA.1 ถึง 1.4 เท่า ถอดหน้ากากเมื่อไหร่ ก็มาเมื่อนั้น รวมทั้ง หากมี 1 คนในครอบครัวติดเชื้อ BA.2 จะสามารถแพร่ต่อให้คนในครอบครัว 39% มากกว่า BA.1 ที่แพร่ให้คนในครอบครัว 29% ส่วนการหลบภูมิคุ้มกันวัคซีน พบว่า BA.2 มีการดื้อวัคซีนขึ้นเล็กน้อย ยังไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ด้วยภูมิฯจากสายพันธุ์เดลตาก็จัดการโอมิครอนได้ลดลง แต่สิ่งที่เป็นเรื่องสำคัญคือ ยาโมโนโคนอลแอนติบอดี้ ซึ่งเป็นยารักษาโควิดที่มีราคาแพงมากนั้น พบว่าสามารถรักษาโควิดสายพันธุ์อื่นได้ รวมถึงสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 ได้ แต่ไม่สามารถจัดการเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา