Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วิทย์-ชีวะ-ชีวิต
•
ติดตาม
17 มี.ค. 2022 เวลา 02:50 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ศัพท์ S&T ทันโลก ตอน 21
โอเมก้า-3 ตอน 2 (จบ)
* สรรพคุณของโอเมก้า-3 *
ตัวอย่างอาหารที่มีโอเมก้า-3. ที่มา: https://www.freepik.com/free-photo/balanced-nutrition-concept-clean-eating-flexitarian-mediterranean-diet-top-view-flat-nutrition-clean-eating-food-concept-diet-plan-with-vitamins-minerals-salmon-shrimp-mix-vegetables_14628298.htm#query=omega%203&position=1&from_view=keyword
เอกสารของ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health) ประเทศสหรัฐอเมริกาที่อัปโหลดขึ้นเว็บไซต์ในเดือนสิงหาคม 2015 ระบุว่า ที่มักโฆษณากันว่าโอเมก้า-3 ป้องกันโรคหัวใจได้นั้น
จากการวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาจำนวนมาก พบว่าข้อมูลยังสับสนอยู่มาก (มีทั้งที่สรุปว่าช่วยและไม่ช่วย) จนไม่อาจสรุปได้แน่ชัดว่าเป็นเช่นนั้นจริง
ขณะที่มีหลักฐานว่าโอเมก้า-3 อาจช่วยเรื่องไขข้ออักเสบได้ในระดับปานกลาง ในวิกิพีเดียให้ข้อมูลงานวิจัยว่า โอเมกา-3 อาจช่วยเรื่องการลดอาการแพ้จากหลายสาเหตุได้ด้วยเช่นกัน
และขณะนี้กำลังมีการทดสอบทางคลินิกเพื่อยืนยันอยู่
เริ่มมีการให้โอเมก้า-3 ในปริมาณมากพิเศษกับทารกที่มีความผิดปกติในการพัฒนา เช่น ในโรค ADHA โรคออทิสซึม และอีกความผิดปกติของสมองอีกบางโรค
แม้ว่าจะมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ไม่เพียงพอจะชี้ว่า ช่วยป้องหรือบรรเทา ตลอดจนรักษาอาการของโรคเหล่านี้ได้ แต่พอมีหลักฐานแล้วว่า โอเมก้า-3 ส่งผลดีในระดับหนึ่งกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและโรคอารมณ์แปรปรวนแบบสองขั้ว (bipolar)
เนื่องจากกรดโอเมก้า-3 ช่วยเรื่องการแบ่งตัวของเซลล์และการเจริญเติบโต ซึ่งก็รวมไปถึงเซลล์ประสาทด้วยเช่นกัน
ในเอกสาร 2010 Dietary Guideline ของประเทศสหรัฐอเมริกา จึงแนะนำให้สตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตรกินอาหารทะเล 8 ออนซ์ (226.8 กรัม) ต่อสัปดาห์ แต่ไม่เกิน 12 ออนซ์ (340 กรัม) ต่อสัปดาห์
ทั้งนี้ต้องเลือกแหล่งที่มาให้ปราศจากการปนเปื้อนสารปรอทที่เป็นอันตรายต่อระบบประสาท
อาจจะด้วยเหตุนี้เองจึงเห็นได้ในโฆษณาหลายๆ ชิ้นว่ามีการเติมดีเอชเอลงในนมผง ด้วยหวังว่าจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางสมองดีขึ้น
แม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานชัดเจนในเรื่องนี้ก็ตาม
ในทางกลับกัน มีงานวิจัยที่เกี่ยวกับการลดการสูญเสียเซลล์ประสาทที่ออกมาในปี 2015 ซึ่งสรุปว่า การกินดีเอชเอและอีพีเอไม่ได้ช่วยลดอาการความจำเสื่อมในผู้สูงอายุแต่อย่างใด
ความเชื่อในเรื่องการเสริมสร้างเซลล์สมองในทารกจึงยังคงถือว่าต้องทดสอบกันต่อไปก่อนจะได้ข้อสรุปแน่นอน
ส่วนการป้องกันหรือช่วยรักษาหรือบรรเทาอาการโรคอื่นๆ อีกมากมายนั้น ยังหาข้อสรุปที่ชัดเจนไม่ได้
อาหารในชีวิตประจำวันเป็นแหล่งโอเมก้า-3 ได้ หากคัดสรรให้ดี. Photo by Ella Olsson on Unsplash
* คำแนะนำในการกินโอเมก้า-3 *
สำหรับพวกผลิตภัณฑ์อาหารเสริมพวกโอเมกา-3 แบบเม็ดนี่ มีคำเตือนอยู่หลายเรื่องนะครับ
เรื่องแรกก็คือมันอาจกระทบกับกระบวนการแข็งตัวของเลือด
ฉะนั้นผู้ป่วยที่มีโรคจำพวกนี้อยู่ก็ต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เพราะจะทำให้มีอาการตกเลือดหรือเลือดออกนานมากขึ้น
นอกจากนี้ พวกที่แพ้อาหารทะเลนี่ ยังไม่แน่ชัดเท่าใดนักว่า จะมีโอกาสแพ้ผลิตภัณฑ์พวกนี้ไปด้วยได้หรือไม่นะครับ
การกินโอเมก้า-3 ในรูปเม็ด มีข้อควรระวังเหมือนกัน. Photo by Leohoho on Unsplash
สำหรับคนที่กินน้ำมันตับปลา (fish liver oil) ซึ่งมีวิตามินเอและดีสูงเช่นเดียวกับกรดไขมันโอเมก้า-3 ก็ต้องระมัดระวังว่า วิตามินเหล่านี้จะเป็นพิษได้หากกินในปริมาณมากๆ ครับ
ขอขยายความนิดนึงครับ น้ำมันตับปลานั้นมักจะได้มาจากตับของปลาค็อด (cod) แตกต่างจากน้ำมันปลา (fish oil) นั้น อาจสกัดได้จากหนังของปลาต่างๆ เช่น ปลาทูนา ปลาเฮอร์ริง ปลาค็อด และปลาทะเลน้ำลึกอีกหลายชนิด
อันหลังนี้แม้จะมีโอเมก้า-3 มาก แต่จะไม่ได้มีวิตามินเอและวิตามินดีมากแบบเดียวกับน้ำมันตับปลา
สำหรับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับงานวิจัยเกี่ยวกับโอเมกา-3 อาจถามได้จากแพทย์ หรือดูได้เองจากเว็บไซต์ของ ศูนย์สุขภาพเติมเต็มและองค์รวมแห่งชาติ (National Center for Complementary and Integrated Health) ประเทศสหรัฐอเมริกาที่
https://nccih.nih.gov/
ครับ
โอเมก้า3
omega3
บันทึก
1
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ศัพท์ S&T ทันโลก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย