Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หรรสาระ By Jeans Aroonrat
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
17 มี.ค. 2022 เวลา 23:59 • ข่าว
Blockdit Originals บทความพิเศษ
1
#5 ปัจจัยที่ทำให้ปูตินยังพิชิตกรุงเคียฟไม่ได้
#กงล้อประวัติศาสตร์ซ้ำรอยตัวเองเสมอ
5
เข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 ของปฏิบัติการทหารสุดบ้าระห่ำของปูตินในการบุกยูเครน ที่ทำเอาวงแตกกันไปหมดทั้งยุโรป ที่หลายฝ่ายเคยคาดว่าการบุกแบบสายฟ้าแล่บ เจาะเป้าหมายจุดยุทธศาสตร์สำคัญในยูเครนจะทำให้กรุงเคียฟแตกได้ภายในเวลาไม่นาน
แต่จนถึงตอนนี้ กองทัพยูเครนยังยื้อกรุงเคียฟไว้ได้ ถึงจะค่อนข้างร่อแร่ก็เถอะ แต่ก็สร้างความแปลกใจแบบเหนือความคาดหมายมากสำหรับกองทัพยูเครนที่ดูเสียเปรียบทุกประตู ก็ต้องยอมยกนิ้วให้เลยว่า "ใจพวกเอ็งมันได้!!" 👍👍
1
เลยทำให้ศึกรัสเซีย - ยูเครน ถูกนำไปเปรียบเทียบกับศึกมหากาพย์ระดับตำนานของยุโรป ที่จอมทัพที่เคยเปี่ยมล้นด้วยแสนยานุภาพมากที่สุดกลับต้องยอมแพ้อย่างย่อยยับ จนต้องถอยทัพกลับเพราะตีเมืองแตกไม่ได้ นั่นก็คือ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ กับศึก บาร์บาร็อสซา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยฮิตเลอร์คาดหวังสูงมากที่จะยึดโซเวียตทั้งดินแดนมาเป็นของตน
และฮิตเลอร์ก็ลงทุนในแผนปฏิบัติการบาร์บาร็อสซาหนักมาก ด้วยกำลังพลทหารกว่า 4 ล้านนาย รถถัง ปืนใหญ่มากกว่า 3 หมื่นชุด รวมถึงยานพาหนะ และม้าศึกอีกนับล้าน มุ่งหน้าตรงไปเพื่อพิชิตมอสโควในช่วงกลางฤดูร้อน ปี 1941 ที่มีการประเมินว่านั่นคือทรัพยากรทางทหารของเยอรมันเกือบทั้งหมดถูกส่งไปลุยที่รัสเซีย
แต่ฝ่ายโซเวียตก็สามารถยื้อศึกกับกองทัพนาซีได้ถึง 5 เดือน จนเข้าช่วงฤดูหนาว ฝ่ายกองทัพนาซีก็ยังตีมอสโควไม่ได้ และไม่สามารถทนทำศึกท่ามกลางฤดูหนาวอันโหดเหี้ยมในรัสเซียได้เช่นกัน ฮิตเลอร์จึงต้องยอมรับความล้มเหลวและถอยทัพกลับบ้านมือเปล่า
3
จากจอมพลฮิตเลอร์วันนั้น สู่พระเจ้าซาร์ปูตินในวันนี้ มีหลายสำนักนำมาเปรียบเทียบกัน เพื่อหาคำตอบว่าทำไมวันนี้ปูตินยังตีเมืองเคียฟไม่ได้? หรือว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยว่าปูตินอาจต้องกลับบ้านมือเปล่าอย่างเจ็บช้ำเหมือนที่ฮิตเลอร์เคยช้ำมาแล้ว อย่างนั้นหรือ?
4
สำหรับสาเหตุที่รัสเซียยังผนวกยูเครนไม่ได้ อาจสรุปได้คร่าวๆ 5 ปัจจัย
ปัจจัย 1 สภาพภูมิประเทศที่เป็นอุปสรรคในการเคลื่อนพล
2
และน่าจะเป็นปัญหาใหญ่สำหรับกองทัพเดินเท้าของรัสเซีย ที่ต้องมาทำศึกในช่วงคาบเกี่ยวฤดู ที่ในภาษารัสเซียจะเรียกว่า "รัสปูติซา" ที่หิมะเริ่มละลายปนกับน้ำฝน ผสมดินโคลนจนการเดินทางในพื้นที่ที่ไม่มีถนนลาดยางทำได้ยากมาก และพื้นที่ราบในยูเครน ตอนเหนือของกรุงเคียฟ มีลักษณะแบบนี้
1
ปัญหาเรื่องฤดูรัสปูติซา ฝ่ายกลาโหมเคยเตือนปูติน มาก่อนหน้าวันที่จะตัดสินใจบุกในวันที่ 24 กุมภาพันธ์แล้ว ปูตินยังเชื่อมั่นในศักยภาพรถถังยานเกราะของรัสเซีย ที่มีฉายาว่า "รถถังรัสเซียไม่เคยกลัวโคลน" และมีการทดสอบในถนนดินโคลนออก Roadshow มาแล้วหลายครั้ง
2
แต่พอมาเจอสภาพจริง ที่ต้องเคลื่อนกำลังพลตามเงื่อนไขของกลยุทธ ก็ติดหล่มกระจายเหมือนกัน ทำให้การขยับรุกของรัสเซียทำได้ช้ากว่าที่คาด ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกันกับที่กองทัพนาซีเจอในสมัยศึกบาร์บาร็อสซาเป๊ะ!ที่ดึงเวลาฮิตเลอร์ในการบุกพิชิตมอสโควจนต้องพ่ายทัพกลับบ้าน
1
แต่การรบสมัยนี้ ไม่ได้พึ่งแต่กองทัพเดินเท้า ในเมื่อมีเครื่องบินรบ โดรนพิฆาต ขีปนาวุธระยะไกลแล้ว จะห่วงแค่ถนนเปียกโคลนลูกรังคงไม่ใช่
ดังนั้นปัจจัยที่ 2 ที่ตามมาคือ การประเมินกองกำลังยูเครนที่ต่ำเกินไป
1
แม้จะมีสรรพาวุธน้อยกว่า กำลังทหารน้อยกว่าก็จริง แต่กองทัพยูเครนก็มีสปิริตสูงในการต่อสู้เพื่อป้องกันประเทศตัวเอง หรือแม้แต่ชาวบ้าน คนธรรมดาต่างออกมาเป็นอาสาสมัคร ประดิษฐ์อาวุธ เพื่อยันทัพรัสเซียกันเยอะมาก และสู้ยิบตา
ซึ่งสปิริทนี้ ก็หลอมรวมเป็นจิตวิญญาณของชาวยูเครนที่รักชาติ เปลี่ยนเป็นความเข้มแข็งที่ประเมินค่าไม่ได้ ถึงแนวคิดเรื่องชาตินิยมอาจจะถูกลดคุณค่า และบทบาทลงไปมากในยุคสมัยนี้ แต่หากประเทศอยู่ในภาวะคับขันเช่นนี้ ความสามัคคี เสียสละของคนในชาติกลับเป็นสิ่งจำเป็นที่สามารถชี้วัดชัยชนะ หรือปราชัยได้เลยทีเดียว
3
ปัจจัยที่ 3 เป็นปัญหาการจัดการลำเลียงพลของฝ่ายรัสเซียเอง
1
หากประเมินความสูญเสียของกองทัพรัสเซียในรอบไม่ถึง 1 เดือน เสียทหารไปแล้วเกือบ 4,000 นาย ซึ่งถือว่าเยอะมาก หากเทียบกับสงครามที่รัสเซียเข้าแทรกแซงในซีเรียเป็นเวลา 6 ปี เสียทหารไปไม่ถึง 200 คน
1
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัญหาเรื่องการขนส่งลำเลียงพล ที่เกิดจากปัจจัยแรก ถนนโคลนในช่วงที่เป็น รัสปูติซา ก็ส่วนหนึ่ง แต่กองทัพรัสเซียกระจายกำลังบุกพร้อมกันหลายจุด ทำให้ส่งกำลังเสริมลำบาก บางจุดที่ปะทะแรงแต่กองทัพรัสเซียส่งกำลังเสริมไปเติมกองหน้าไม่ทัน จึงทำให้มีความสูญเสียกำลังทหารมาก
ด้านกองเสบียงก็มีปัญหา มีภาพทหารรัสเซียบุกเข้าไปค้นอาหารตามร้านค้า และซุปเปอร์มาร์เกตในยูเครนด้วยความหิวโหย รวมทั้งรถทหานจำนวนไม่น้อยที่ต้องจอดทิ้งเพราะน้ำมันหมดอยู่ข้างทาง เพราะลำเลียงเชื้อเพลิงเข้ามาไม่ทัน
2
ปัญหาเหล่านี้ เป็นสิ่งที่บั่นทอนกำลังใจทหารที่ต้องออกมารบต่างบ้าน ต่างเมืองอย่างมาก หากฝ่ายรัสเซียไม่เร่งแก้ปัญหา อาจเสียกระบวนทั้งกองทัพได้
ปัจจัยที่ 4 กระแสการกดดันจากโลกภายนอก
1
ที่ตอนนี้รัสเซีย และปูตินถูกมองเป็นตัวร้ายแบบในภาพยนตร์โดยสมบูรณ์แบบ ที่ถูกยกมาเปรียบเทียบถึงขนาดเป็นฮิตเลอร์ ซึ่งเป็นการทำลายภาพลักษณ์ผู้นำอย่างที่ซัดดัม ฮุสเซน เคยโดนมาก่อนสมัยสงครามอ่าวเปอร์เซีย อีกทั้งมาตรการคว่ำบาตร กดดันอย่างหนักจากสหรัฐอเมริกา และชาติตะวันตก ที่กระทบกับนักธุรกิจรายใหญ่ รายย่อยในรัสเซียอย่างรุนแรง ที่ชาติตะวันตกคาดหวังว่า จะสร้างกระแสความไม่พอใจให้คนรัสเซียลุกฮือขึ้นมาประท้วงเพื่อโค่นล้มปูตินนั่นเอง
3
แม้เหตุการณ์ยังไม่เกิดขึ้นในตอนนี้ แต่อนาคตนั้นไม่แน่ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ทำให้รัฐบาลรัสเซียเป็นกังวล จนห่วงหน้า พะวงหลังได้เหมือนกัน
1
ปัจจัยที่ 5 ก็คือ ที่นี่..ยูเครน ไม่ใช่ไครเมีย และไม่ใช่ซีเรีย
แม้ว่าปูตินจะเคยยกทัพผนวกดินแดนไครเมียได้อย่างง่ายดาย และสามารถเลือกจัดงานประชามติได้ ก็เพราะชาวไครเมียส่วนใหญ่มีเชื้อสายรัสเซีย และสนับสนุนการแยกดินแดนออกจากยูเครนอยู่แล้ว จึงทำให้ปิดงานที่ไครเมียได้เร็ว
3
แต่ไม่ใช่กับยูเครน ที่มีพื้นที่มากกว่า และพลเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวยูเครนที่ไม่ได้อยากเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ดังนั้นกระแสต่อต้านจึงมากกว่าไครเมียอย่างเทียบไม่ได้
1
และสำหรับรัสเซียแล้ว ยูเครนก็ไม่ใช่ซีเรีย ที่รัสเซียสามารถส่งเครื่องบินรบไปทิ้งระเบิดปูพรม ถล่มรัง ISIS ได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องสนสี่ สนแปด ถล่มยับแล้วค่อยกลับมาสร้างให้ใหม่ทีหลังใหม่ได้ เพราะถึงยังไง ยูเครนก็ยังเป็นประเทศในอารักขาที่มีความผูกพัน ที่มีชาวรัสเซียอาศัยตั้งรกรากอยู่จำนวนมาก ดังจะเห็นว่าถึงรัสเซียจะดูเหมือนบุกหนัก แต่เทียบไม่ได้เลยกับปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียในซีเรีย ประเทศที่ไม่ผูกพันกันทั้งพรมแดน และประชากร
7
ดังนั้นการใช้กำลังในยูเครนจึงมีความแวดระวังอย่างเห็นได้ชัด และมีโฆษกออกมาแก้ข่าวทุกครั้งที่เกิดความผิดพลาด ไปยิงโดนอาคาร ทรัพย์สินของพลเรือน ซึ่งไม่สมฉายา "โหดสัสรัสเซีย" อย่างที่แล้วมา และนี่จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัสเซียยังหักดิบ พิชิตยูเครนไม่ได้เร็วอย่างที่คาดไว้
3
ปัจจัยอุปสรรคเหล่านี้ ล้วนไม่เป็นผลดีกับแผนปฏิบัติการของรัสเซีย ที่ฝ่ายตรงข้ามก็รู้จึงพยายามเล่นเกมยื้อให้นานที่สุด และยังสะท้อนให้เห็นว่าเงื่อนไขในการทำสงครามของโลกนั้นเปลี่ยนไปเยอะมาก ตั้งแต่ที่เราก้าวข้ามสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ ที่การอยู่ร่วมกันในสังคมมนุษย์ไม่ได้ถูกตีกรอบแค่เส้นแบ่งเขตแดนอีกต่อไป
1
****************
ติดตามบทความของ "หรรสาระ" เพิ่มเติมได้ที่
Facebook - หรรสาระ By Jeans Aroonrat
และ Blockdit - หรรสาระ By Jeans Aroonrat
แพลทฟอร์มคุณภาพ ไม่ปิดกั้นการมองเห็นเนื้อหา
****************
2
แหล่งข้อมูล
https://www.wionews.com/photos/napoleons-waterloo-hitlers-barbarossa-5-lessons-putin-can-learn-from-failed-war-campaigns-461556#operation-typhoon-461542
https://www.wionews.com/world/russian-tank-advance-in-ukraine-what-is-rasputitsa-462047
https://slate.com/news-and-politics/2022/03/mud-in-ukraine-history-of-russian-army-and-rasputitsa.html
https://www.businessinsider.com/russia-troops-hungry-demoralized-ukraine-colonel-says-2022-3
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Operation_Barbarossa
ข่าวรอบโลก
ยูเครน
33 บันทึก
66
16
42
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Blockdit Originals
33
66
16
42
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย