Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
InfoStory
•
ติดตาม
22 มี.ค. 2022 เวลา 07:58 • อาหาร
อากาศร้อนแบบนี้ ชวนหาเมนูอาหารเส้นจานเย็น มาทานกันดีกว่า !
1
ตามชื่อหัวข้อเลย เพราะอากาศร้อนมาก ๆ
ยังดีที่ไม่กี่วันที่ผ่านมา ยังฝนตกพอให้เย็นกันสักนิดนึง (รึเปล่านะ..)
นอกจากอากาศที่เย็นจากฝนตกแล้ว
ถ้าได้กินอาหารเย็นด้วยก็คงจะชื่นใจคลายร้อนได้ไม่น้อย
อาหารเย็นในที่นี้ พวกเราไม่ได้หมายถึงอาหารมื้อเย็นนะคร้าบบ
แต่พวกเราอยากหยิบยกเมนูอาหารเส้น/บะหมี่จานเย็น มาชวนให้เพื่อน ๆ ได้หิวกันสักนิดนึง
มีอะไรบ้าง ? ไปรับชมกันในภาพอินโฟกราฟอกสุดสบายตากันเลยดีกว่า !
[ทำไมชาวฝรั่งต่างชาติถึงได้เรียกอาหารเส้นจานเย็นว่า “Cold Noodles” ทั้งที่จริงแล้ว มันก็ไม่ได้เย็นขนาดนั้น ? ]
จากที่เราค้นหามา เดิมทีการเรียกบะหมี่เย็นหรือ Cold noodles ในภาษาอังกฤษ
ชาวต่างชาติเขาก็จะหมายถึงเมนู “แน็งมยอน (냉면)” หรือบะหมี่ในน้ำซุปเย็นของเกาหลี หรือไม่ก็เมนูซารุโซบะหรือโซบะเย็น
(แต่ที่หามาส่วนใหญ่เนี่ย ถ้าเสิชคำว่า Cold noodles มันก็จะขึ้นเมนูแน็งมยอนมาก่อนเลยละนะ)
“แน็งมยอน (냉면)”
จนต่อมาเนี่ย ก็ได้มีเมนูประยุกต์ในรูปแบบใหม่ ๆ มาเยอะมากขึ้น
เช่นสลัดที่ใส่เส้นราเมน วุ้นเส้นหรือแม้แต่เส้นพาสต้าบ้าง
โดยเฉพาะเมนูอาหารทางฝั่งเอเชียที่เน้นความหลากหลายในการกินและประยุกต์การทำอาหารเส้น
เช่น เมนูตำ,ส้มตำ หรือเมนูขนมจีน ก็จะเป็นเมนูที่ทานในอุณหภูมิห้อง (คือไม่ได้เย็นแบบแน็งมยอน)
ซึ่งชาวต่างชาติเขาก็เลยเหมาเมนูเส้นที่ทานแล้วคลายร้อน (หรือไม่ได้เป็นเมนูที่ทำให้ร้อนไปกว่าอากาศตอนนั้น) ว่าเป็นบะหมี่เย็น (Cold noodles) ไปเลยน่ะนะ
แต่ถ้าเราเสิร์ชคำว่า “Cold Dishes” เราก็จะเจอกับเมนูอาหารที่นิยมเสิร์ฟเย็น ทานคลายร้อนอื่น ๆ ยกตัวอย่าง เช่น สลัดทูน่า, สลัด, ชาคูเทอรี่, ซุปกัซปาโชแตงโม (Watermelon Gazpacho)
Watermelon Gazpacho
chacuterie board
เอาง่าย ๆ คือ อาหารเหล่านี้ก็จะประกอบไปด้วยอาหารที่เป็นของเย็น เช่นผักขม ผักกาดหอม ชีส มะเขือเทศ
ก็จะค่อนข้างแตกต่างจากบะหมี่เย็นหรือ Cold noodles ไปสักนิดนึง
[ขนมจีนซาวน้ำ…. แล้วทำไมต้อง “ซาวน้ำ” ?]
“ขนมจีน” ในภาษาไทยกลาง เป็นคำยืมจากคำมอญ “คนอมจิน”
ซึ่งคำว่า “ขนม” ก็มาจากคำว่า “คนอม” ที่แปลว่า รวมเป็นกลุ่มก้อน
ส่วน “จีน” ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับชาวจีนนะ แต่มาจากคำว่า “จิน” ที่แปลว่า ทำให้สุก
(คล้าย ๆ กับส้มตำ ที่คำว่าส้ม แปลว่าเปรี้ยว.. ไม่ได้หมายถึงผลไม้ส้ม)
แล้วทำไมเมนูนี้ถึงต้องใช้ควำว่า “ซาวน้ำ” ?
ขนมจีนซาวน้ำ เป็นจานขนมจีนที่ราดด้วยน้ำกะทิลอยแจงลอน
ซึ่ง “แจงลอน” ก็คือเนื้อปลาอินทรีหรือปลากรายขูดตีกับน้ำเกลือจนเหนียว ผสมกระเทียม พริกไทย รากผักชีโขลก ( ปั้นก้อนต้มในน้ำกะทินั้นจนสุกลอยเป็นลูกชิ้นรสเค็มอ่อนๆ ด้วย
แจงลอน
กลับมาต่อที่คำว่า ซาวน้ำ
จากที่พวกเราค้นหามา ดูเหมือนคำว่าซาวน้ำ จะเป็นการใช้คำที่มาจากเมนูต้นตำรับอย่าง “เข้าซาวน้ำ” ที่ปรากฏในตำราแม่ครัวหัวป่าก์ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์
โดยในตำรับโบราณนี้ จะใช้เครื่องปรุงหลักคือขิงและสับปะรดสับละเอียด กระเทียมดิบซอย กุ้งแห้งป่น ของเปรี้ยวอื่นๆ ซึ่งเขาก็จะนำมาคลุกกับข้าวสวย ราดน้ำเคยดี น้ำตาลทราย บีบมะนาว หลังจากคลุกจนเข้ากันดีแล้วก็ค่อยตักลงจานไป
(อันนี้สารภาพว่าพวกเรายังไม่เคยทานเหมือนกันคร้าบ)
ขนมจีนซาวน้ำ
พอมาดูที่คำว่า “ซาว” ก็ปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานเป็นคำในมุมมองของชาวภาคกลางเป็นหลัก คือการ“เอาข้าวสารล้างนํ้าด้วยวิธีใช้มือคนให้ทั่วเพื่อให้สะอาดก่อนหุงต้ม เรียกว่า ซาวข้าว
แต่ว่า ซาว ในภาษาอีสาน หรือกระทั่งความหมายเก่าๆ นั้นหมายรวมถึงการคลุกเคล้าส่วนผสมอาหารให้เข้ากันในภาชนะด้วย
เมนูขนมจีนซาวน้ำ จึงเป็นสูตรอาหารคลายร้อนของครัวไทยภาคกลางมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่มักทำกินกันบ่อยครั้งในช่วงสงกรานต์ ที่ใกล้จะถึงแล้วนั่นเองเน้อ (จะได้หยุดยาวกันแล้วนะเพื่อน ๆ อิอิ)
[แน็งมยอน (냉면) บะหมี่เย็นเกาหลี..ที่เย็นสมชื่อจริง ๆ]
แน็ง (냉) ที่แปลว่า เย็น
และ มยอน (면) ในที่นี้ จะแปลว่าก๋วยเตี๋ยว
คือถ้าพูดถึงเมนูนี้ ก็ทำให้เรานึกถึงซีรี่ส์เกาหลีหลาย ๆ เรื่อง
จนชินว่ามันเป็นเมนูที่อาจมีมาตั้งแต่โบราณของชาวเกาหลีใต้ไปซะแล้ว
แต่เพื่อน ๆ ทราบไหมว่า ?
แน็งมยอน (냉면) หรือบะหมี่เย็นเกาหลี เขาว่ากันว่ามีต้นกำเนิดมาจากกรุงเปียงยางของประเทศเกาหลีเหนือ !!
(เดาว่า คออาหารเกาหลี หลายคนอาจจะทราบกันดีแล้ว)
แน็งมยอน เรียกอีกอย่างว่า บะหมี่เย็นเปียงยาง หรือพย็องยางแน็งมยอน (Pyongyang Naengmyeon) ต้นกำเนิดมาจากประเทศเกาหลีเหนือ ตั้งแต่ช่วงราชวงศ์โชซ็อน จากนั้นก็แพร่หลายไปในกรุงเปียงยาง
สูตรของเกาหลีเหนืออาจจะดูไม่เหมือนกับเกาหลีใต้มากนัก
หลังจากสงครามเกาหลีเนี่ย
ด้วยความอร่อยและคลายร้อนได้อย่างดี จึงทำให้เจ้าเมนูบะหมี่เย็นนี้ โด่งดังทะลุความร้อนระอุทั้งอากาศและการเมือง แพร่หลายไปทั่วทั้งเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้
ถ้าเพื่อน ๆ ท่านไหนที่ติดตามข่าวสารความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ก็คงจะทราบว่า เจ้าเมนูแน็งมยอน ยังถูกใช้เป็นเมนูอาหารที่เชื่อมความสัมพันธ์ของสองประเทศในวันที่ 27 เมษายน 2561
เพราะแน็งมยอน หนึ่งในเมนูที่ผู้นำคิมจองอึน นำมาเลี้ยงในงานเลี้ยงอาหารค่ำหลังการหารือกับอดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้มุนแจอิน
พร้อมกับประโยคที่ถูกพูดถึงก็คือ “หวังว่าทุกคนจะชอบหมี่เย็นที่เราเอามาร่วมประชุมด้วย"
2 ผู้นำเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ กำลังรับประทานแน็งมยอน ในวันที่ 27 เมษายน 2561
(แน่นอนว่าหลังจากวันนี้ ร้านอาหารในเกาหลีใต้ที่ขายเมนูแน็งมยอนอย่างเช่น ร้าน Pildong Myeonok ก็อัดแน่นไปด้วยผู้คน โดยมีแถวยาวถึง 40 เมตรตั้งแต่ช่วงก่อนเที่ยง)
อันที่จริงแล้ว พอไปค้นหามาอีก ก็พบว่า
เมนูแน็งมยอนนี้เอง ก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจากบะหมี่เย็นแบบแห้งของจีนอย่างเมนู “liáng miàn (凉面; 凉麵)” และ “gān bàn miàn (干拌面; 乾拌麵)” ของชาวจีน
ซึ่งในแบบฉบับของชาวเกาหลี ก็จะเพิ่้มเติมน้ำซุปไก่/หมูแบบเย็น เข้าไปเป็นจุดเด่นสำคัญ
แล้วเพื่อน ๆ ทราบไหมว่า ?
ไม่ใช่แค่หน้าร้อนเท่านั้น แต่เมนูนี้ยังนิยมทานในหน้าหนาวอีกด้วยนะ และเขาก็จะมีชื่อเรียกแตกต่างออกไปนิดนึง
ถ้าทานในฤดูร้อน ก็จะเป็นเมนู "มุลแนงมยอน" หรือ บะหมี่เย็นแบบน้ำ แบบที่เราเพิ่งพูดถึงไป
ส่วน "บีบิมแนงมยอน" หรือบะหมี่เย็นแบบแห้งรสเผ็ด จะนิยมทานในฤดูหนาว
มุลแนงมยอน
บีบิมแนงมยอน
ก็พอหอมปากหอมคอกันไปเช่นเคย
ถ้าหยั่งงั้นพวกเราขอไปหาเมนูบะหมี่เย็นมาทานดับร้อนสำหรับเที่ยงนี้กันไปก่อนดีกว่า :)
(แต่ดูเหมือนว่าจะได้คลายร้อนจากฝนที่กำลังจะตกแทน)
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
https://www.noodlelovers.com
https://www.silpa-mag.com
https://krua.co
https://www.koreanbapsang.com
https://www.kitchenstories.com
ไลฟ์สไตล์
เรื่องเล่า
อาหารสุขภาพ
6 บันทึก
8
1
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ผู้คนในแต่ละประเทศ เขาชอบทานอะไรกัน ? (Into the World of International Food)
6
8
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย